บุพเพสันนิวาส - เบญจธรรม

บุพเพสันนิวาส
การเคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อน เช่น เคยเป็นพ่อแม่ลูกพี่น้อง เพื่อนผัวเมียกันในภพอดีต (ดู ชาดกที่ ๖๘
และ ๒๓๗ เป็นต้น)

บุพภาค ส่วนเบื้องต้น, ตอนต้น

บุรณะ, บูรณะ ทำให้เต็ม, ซ่อมแซม

บุรณมี วันเพ็ญ, วันกลางเดือน, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ

บุรพทิศ ทิศตะวันออก

บุรพนิมิตต์ เครื่องหมายให้รู้ล่วงหน้า, ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน บัดนี้ เขียนบุพนิมิต

บุรพบุรุษ คนก่อนๆ, คนรุ่นก่อน, คนเก่าก่อน, คนผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูล, บรรพบุรุษ

บุรพประโยค ดู บุพประโยค

บุรพาจารย์ ดู บุพพาจารย์

บุรพาราม ดู บุพพาราม

บูชนียสถาน สถานที่ควรบูชา

บูชา ให้ด้วยความนับถือ, แสดงความเคารพเทิดทูน มี ๒ คือ อามิสบูชา และปฏิบัติบูชา

บูชามยบุญราศี กองบุญที่สำเร็จด้วยการบูชา

บูชายัญ การเซ่นสรวงเทพเจ้าของพราหมณ์ ด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา

บูร ทิศตะวันออก

บูรณะ ดู บุรณะ

เบญจกัลยาณี หญิงมีลักษณะงาม ๕ อย่าง คือ ผมงาม เนื้องาม (คือเหงือกและริมฝีปากแดงงาม) ฟันงาม ผิวงาม วัย
งาม (คือดูงามทุกวัย)

เบญจกามคุณ สิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)

เบญจขันธ์ ขันธ์ ๕, กองหรือหมวดทั้ง ๕ แห่งรูปธรรมและนามธรรมที่ประกอบเข้าเป็นชีวิต ได้แก่ ๑. รูปขันธ์ กอง
รูป ๒. เวทนาขันธ์ กองเวทนา ๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา ๔. สังขารขันธ์ กองสังขาร ๕. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ

เบญจโครส โครส (รสแห่งโค หรือ รสเกิดแต่โค คือ ผลผลิตจากนมโค) ๕ อย่าง ได้แก่ นมสด (ขีระ) นมส้ม (ทธิ)
เปรียง (ตักกะ) เนยใส (สัปปิ) เนยข้น (นวนีตะ)

เบญจธรรม ธรรม ๕ ประการ, ความดี ๕ อย่างที่ควรประพฤติคู่กันไปกับการรักษาเบญจศีลตามลำดับข้อ ดังนี้ ๑.
เมตตากรุณา ๒. สัมมาอาชีวะ ๓. กามสังวร (สำรวมในกาม) ๔. สัจจะ ๕. สติสัมปชัญญะ; บางตำราว่าแปลกไปบาง
ข้อคือ ๒. ทาน ๓. สทารสันโดษ = พอใจเฉพาะภรรยาของตน ๕ อัปปมาทะ = ไม่ประมาท; เบญจกัลยาณธรรมก็
เรียก