มธุกะ - มโนทุจริต

มธุกะ มะทราง, น้ำคั้นมะทรางเจือน้ำแล้ว เรียกมธุกปานะ เป็นสัตตาหกาลิกอย่างหนึ่ง ดู ปานะ

มธุรสูตร พระสูตรที่พระมหากัจจายนะแสดงแก่พระเจ้ามธุรราช อวันตีบุตร กล่าวถึงความไม่ต่างกันของวรรณะ
๔ เหล่า คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ใจความว่าวรรณะ ๔ นี้แม้จะถือตัวอย่างไร เหยียดหยามกันอย่างไร แต่
ถ้าทำดีก็ไปสู่ที่ดีเหมือนกันหมด ถ้าทำชั่วก็ต้องได้รับโทษไปอบายเหมือนกันหมด ทุกวรรณะเสมอกันในพระธรรม
วินัย ออกบวชบำเพ็ญสมณธรรมแล้ว ไม่เรียกว่าวรรณะไหน แต่เป็นสมณะเหมือนกันหมด เมื่อจบเทศนาพระเจ้า
มธุรราชประกาศพระองค์เป็นอุบาสก (สูตรที่ ๓๔ ในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก)

มนะ ใจ

มนตร์ คำที่เชื่อถือว่าศักดิ์สิทธิ์, คำสำหรับสวด, คำสำหรับเสกเป่า (มักใช้สำหรับศาสนาพราหมณ์)

มนเทียร เรือนหลวง; โบราณใช้ มณเฑียร

มนสิการ การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา

มนัส ใจ

มนุษย์ “ผู้มีใจสูง” ได้แก่คนผู้มีมนุษยธรรม เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น, สัตว์ที่รู้จักคิดเหตุผล, สัตว์ที่มีใจสูง, คน

มนุษยชาติเหล่าคน, มวลมนุษย์

มนุษยธรรม ธรรมที่ทำคนให้เป็นมนุษย์ ได้แก่ ศีล ๕ และคุณธรรม เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น

มนุษยโลก, มนุสสโลก โลกมนุษย์ คือ โลกที่เราอาศัยอยู่นี้

มนุษย์วิบัติ มีความเป็นมนุษย์บกพร่อง เช่น คนที่ถูกตอน เป็นต้น

มโน ใจ (ข้อ ๖ ในอายตนะภายใน ๖)

มโนกรรม การกระทำทางใจ ทางชั่ว เช่น คิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาของเขา ทางดี เช่น คิดช่วยเหลือผู้อื่น ดู กุศลกรรมบถ,
อกุศลกรรมบถ

มโนทวาร ทวารคือใจ, ทางใจ, ใจ โดยฐานเป็นทางทำมโนกรรม คือสำหรับคิดนึกต่างๆ (ข้อ ๓ ในทวาร ๓)

มโนทุจริต ความประพฤติชั่วด้วยใจ, ความทุจริตทางใจมี ๓ อย่าง ๑. อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้จ้องจะเอาของเขา
๒. พยาบาท ความขัดเคืองคิดร้าย ๓. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากคลองธรรม (ข้อ ๓ ในทุจริต ๓)