มหาวงส์ - มหาวิกัฏ

มหาวงส์ ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกาเรื่องใหญ่ แต่งขึ้นในสมัยอรรถกถาพรรณนาความเป็นมาของพระพุทธศาสนา
และชาติลังกา ตั้งแต่เริ่มตั้งวงศ์กษัตริย์สิงหล ในตอนพุทธปรินิพพาน จนถึงประมาณ พ.ศ. ๙๐๔ ประวัติต่อจากนั้น
มีคัมภีร์ชื่อ จูฬวงส์พรรณนาต่อไป

มหาวรรค ชื่อคัมภีร์อันเป็นหมวดที่ ๓ ใน ๕ หมวด แห่งพระวินัยปิฎก คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค
บริวาร, มหาวรรค มี ๑๐ ขันธกะ (หมวด ตอน หรือ บท) คือ ๑. มหาขันธกะ (ว่าด้วยการบรรพชาอุปสมบทเริ่มแต่
เหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ ๆ และการประดิษฐานพระศาสนา) ๒. อุโปสถขันธกะ (ว่าด้วยอุโบสถและสีมา) ๓. วัส-
สูปนายิกขันธกะ
(ว่าด้วยการเข้าพรรษา) ๔. ปวารณาขันธกะ (ว่าด้วยปวารณา) ๕. จัมมขันธกะ (ว่าด้วยเครื่องหนัง
เช่น รองเท้าและเครื่องลาด) ๖. เภสัชชขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องยาตลอดจนเรื่องกัปปิยะ อกัปปิยะ และกาลิกทั้ง ๔)
๗.กฐินขันธกะ (ว่าด้วยกฐิน) ๘. จีวรขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องจีวร) ๙. จัมเปยยขันธกะ (ว่าด้วยข้อควรทราบบางอย่าง
เกี่ยวกับนิคหกรรมต่าง ๆ) ๑๐. โกสัมพิกขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพีวิวาทกันและสังฆสามัคคี) ดู
ไตรปิฎก

มหาวัน 1. ป่าใหญ่ใกล้นครกบิลพัสดุ์ที่พระพุทธเจ้าเคยไปทรงพักผ่อนระหว่างประทับอยู่ที่นิโครธาราม 2. ป่า
ใหญ่ใกล้เมืองเวสาลี ณ ที่นี้พระศาสดาทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยประทานอนุญาตให้พระมหา
ปชาบดีบวชเป็นภิกษุณี ด้วยวิธีรับครุธรรม ๘ ประการ

มหาวิกัฏ ยา ๔ อย่าง คือ มูตร คูถ เถ้า ดิน ภิกษุอาพาธฉันได้โดยไม่ต้องรับประเคน คือไม่ต้องอาบัติเพราะขาดประเคน