มัตตัญญุตา - มาณพ

มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ คือความพอเหมาะพอดี เช่น รู้จักประมาณในการแสวงหา รู้จักประมาณใน
การใช้จ่ายพอเหมาะพอควร เป็นต้น ดู สัปปุริสธรรม

มัตถลุงค์ มันสมอง

มัททกุจฉิมิคทายวัน ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ ชื่อมัททกุจฉิ อยู่ที่พระนครราชคฤห์ เป็นแห่งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเคยทำ
นิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

มัททวะ ความอ่อนโยน, ความนุ่มนวล, ความละมุนละไม (ข้อ ๕ ในราชธรรม ๑๐)

มัธยม มีในทางกลาง; ระดับกลาง; เที่ยงวัน หมายถึงเวลาเที่ยงที่ปรากฏตามเงาแตด ถ้าเป็นเวลาที่คิดเฉลี่ยกันแล้ว
เรียกว่า สมผุส

มัธยมชนบท เมืองในท่ามกลางชมพูทวีป ดู มัชฌิมชนบท

มัธยมประเทศ ดู มัชฌิมชนบท

มันตานี นางพราหมณีผู้เป็นมารดาของปุณณมาณพ

มันตานีบุตร บุตรของนางมันตานี หมายถึงพระปุณณมันตานีบุตร

มัลละ ชื่อแคว้นหนึ่งบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ปกครองแบบสามัคคีธรรม โดยมีพวกมัลล-
กษัตริย์เป็นผู้ปกครอง นครหลวงเดิมชื่อกุสาวดี แต่ภายหลังแยกเป็นกุสินารา กับ ปาวา

มัลลกษัตริย์ คณะกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นมัลละ แบ่งเป็น ๒ พวก คณะหนึ่งปกครองที่นครกุสินารา อีกคณะหนึ่ง
ปกครองที่นครปาวา

มัลลชนบท แคว้น มัลละ

มัลลปาโมกข์ มัลลกษัตริย์ชั้นหัวหน้า

มัสสุ หนวด

มาคสิรมาส เดือน ๑, เดือนอ้าย

มาฆบูชาการบูชาใหญ่ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ในโอกาสคล้ายวันประชุมใหญ่แห่งพระสาวก ซึ่งเรียกว่า จาตุรงค-
สันนิบาต
ณ พระเวฬุวันหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน ที่พระองค์ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ (การปลง
พระชนมานุสังขาร
ก็ตรงในวันนี้)

มาฆมาส เดือน ๓

มาณพ ชายหนุ่ม, ชายรุ่น, คนรุ่นหนุ่ม (มักใช้แก่ชายหนุ่มในวรรณะพราหมณ์)