เมตติยะ - โมฆบุรุษ

เมตติยะ ชื่อภิกษุผู้โจทพระทัพพมัลลบุตร คู่กับพระภุมมชกะ

เมตติยาภิกษุณี ภิกษุณีผู้เป็นตัวการรับมอบหมายจากพระเมตติยะและพระภุมมชกะมาเป็นผู้โจทพระทัพพมัลล
บุตรด้วยข้อหาปฐมปาราชิก

เมตเตยยะ, เมตไตรย ดู ศรีอารยเมตไตรย

เมถุน “การกระทำของคนที่เป็นคู่ๆ”, การร่วมสังวาส, การร่วมประเวณี

เมถุนวิรัติ การเว้นจากร่วมประเวณี

เมถุนสังโยค อาการพัวพันเมถุน, ความประพฤติที่ยังเกี่ยวเนื่องกับเมถุน มี ๗ ข้อ โดยใจความคือ สมณะบางเหล่าไม่
เสพเมถุน แต่ยังยินดีในเมถุนสังโยค คือ ชอบการลูบไล้และการนวดของหญิง, ชอบซิกซี้ เล่นหัวสัพยอกกับหญิง,
ชอบจ้องดูตากับหญิง, ชอบฟังเสียงหัวเราะขับร้องของหญิง ชอบนึกถึงการเก่าที่เคยหัวเราะพูดเล่นกับหญิง, เห็น
ชาวบ้านเขาบำรุงบำเรอกันด้วยกามคุณแล้วปลื้มใจ, หรือแม้แต่ประพฤติพรหมจรรย์ โดยตั้งความปรารถนาที่จะ
เป็นเทพเจ้า

เมทนีดล พื้นแผ่นดิน

เมทฬุปนิคม นิคมหนึ่งในสักกชนบท

เมโท, เมท มันข้น

เมธี นักปราชญ์, คนมีความรู้

เมรัย น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น, น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่

เมรุ 1. ชื่อภูเขาที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล บางทีเรียกพระสุเมรุ ตามคติของศาสนาฮินดู ถือว่าเป็นบริเวณที่มี
สวรรค์อยู่โดยรอบ เช่น สวรรค์ของพระอินทร์อยู่ทางทิศเหนือ ไวกูณฐ์แดนสถิตของพระวิษณุหรือพระนารายณ์อยู่
ทางทิศใต้ ไกลาสที่สถิตของพระศิวะหรือพระอิศวรก็อยู่ทางทิศใต้เหนือยอดเขาพระสุเมรุนั้น คือ พรหมโลก เป็นที่
สถิตของพระพรหม; ภูเขานี้เรียกชื่อเป็นภาษาบาลีว่า สิเนรุ และตามคติฝ่ายพระพุทธศาสนา ในชั้นอรรถกถา ยอด
เขาสิเนรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์ เชิงเขาสิเนรุ ซึ่งหยั่งลึกลงไปในมหาสมุทร
เป็นอสูรพิภพ สูงขึ้นไปกึ่งทางระหว่างแดนทั้งสองนั้น เป็นสวรรค์ของท้าวจาตุมหาราช สวรรค์ชั้นอื่นๆ และโลก
มนุษย์ เป็นต้น ก็เรียงรายกันอยู่สูงบ้างต่ำบ้าง รอบเขาสิเนรุนี้ (ในวรรณคดีบาลียุคหลัง เช่น จูฬวงส์ พงศาวดารลังกา
เรียก เมรุและสุเมรุ อย่างสันสกฤตก็มี) 2. ที่เผาศพ หลังคาเป็นยอด มีรั้วล้อมรอบซึ่งคงได้คติจากภูเขาเมรุนั้น

แม่หม้ายงานท่าน พระสนมในรัชกาลก่อนๆ

โมกข์ 1. ความหลุดพ้นจากกิเลส คือ นิพพาน 2. ประธาน, หัวหน้า, ประมุข

โมกขธรรม ธรรมนำสัตว์ให้หลุดพ้นจากกิเลส, ความหลุดพ้น, นิพพาน

โมคคัลลานะ ดู มหาโมคคัลลานะ

โมคคัลลานโคตร ตระกูลพราหมณ์ โมคคัลลานะ

โมคคัลลี ชื่อนางพราหมณีผู้เป็นมารดาของพระมหาโมคคัลลานะ

โมคคัลลีบุตรติสสเถระ พระเถระผู้ใหญ่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ท่านได้อาศัยพระบรมราชูปถัมภ์กำจัดพวก
เดียรถีย์ที่เข้ามาปลอมบวชในสังฆมณฑล และเป็นประธานในการสังคายนาครั้งที่ ๓

โมฆบุรุษ บุรุษเปล่า, คนเปล่า, คนที่ใช้การไม่ได้, คนโง่เขลา, คนที่พลาดจากประโยชน์อันพึงได้พึงถึง