นิคหะ - นิพพานธาตุ

นิคหะ การข่ม, การกำราบ, การลงโทษ

นิคหกรรม การลงโทษตามพระธรรมวินัย, สังฆกรรมประเภทลงโทษผู้ทำความผิด ท่านแสดงไว้ ๖ อย่างคือ ตัชชนีย-
กรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม อุกเขปนียกรรม และตัสสปาปิยสิกากรรม

นิคัณฐนาฏบุตร ดู นิครถนาฏบุตร

นิโครธ ต้นไทร

นิโครธาราม อารามที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์

นิจศีล ศีลที่พึงรักษาเป็นประจำ, ศีลประจำตัวของอุบาสกอุบาสิกา ได้แก่ศีล ๕

นิตย์ เที่ยง, ยั่งยืน, เสมอ, เป็นประจำ

นิตยกาล ตลอดเวลา, ตลอดกาลเป็นนิตย์

นิตยภัต อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายแก่ภิกษุสามเณรเป็นประจำ

นิทเทส คำแสดง, คำจำแนกอธิบาย, คำไขความ (พจนานุกรม เขียน นิเทศ)

นิทัศนะ, นิทัสน์ ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น, อุทาหรณ์ (พจนานุกรม เขียนนิทัศน์)

นิทาน เหตุ, ต้นเรื่อง

นิทานวจนะ คำแถลงเรื่องเดิม, บทนำ

นิบาต ศัพท์ภาษาบาลีที่วางไว้ระหว่างข้อความในประโยคเพื่อเชื่อมข้อความหรือเสริมความเป็นอัพยยศัพท์อย่างหนึ่ง

นิปปริยาย ไม่อ้อมค้อม, ตรง, สิ้นเชิง (พจนานุกรมเขียน นิปริยาย)

นิปปริยายสุทธิ ความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง ไม่มีการละและการบำเพ็ญอีกได้แก่ ความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์ ดู สุทธิ

นิปัจจการ การเคารพ, การอ่อนน้อม, การยอมเชื่อฟัง

นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ดู นิพพานธาตุ

นิพพานธาตุ ภาวะแห่งนิพพาน; นิพพาน หรือนิพพานธาตุ ๒ คือ สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ ๑
อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ๑