นิสัย

นิสัย 1. ที่พึ่ง, ที่อาศัย เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท (คือกล่าวคำขอร้องต่ออุปัชฌาย์ในพิธีอุปสมบท ขอให้ท่านเป็นที่
พึ่ง ที่อาศัยของตน ทำหน้าที่ปกครองสั่งสอนให้การศึกษาอบรมต่อไป) อาจารย์ผู้ให้นิสัย (อาจารย์ผู้รับที่จะทำหน้าที่
เป็นที่พึ่ง ที่อาศัย ปกครองแนะนำในการศึกษาอบรม) 2. ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ อย่าง คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ คิลานเภสัช 3. ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทำจนเป็นนิสัย
การขอนิสัย (ขออยู่ในปกครอง หรือขอให้เป็นที่พึ่งในการศึกษา) สำเร็จด้วยการถืออุปัชฌาย์ (ขอให้เป็น
อุปัชฌาย์) นั่นเอง ในพิธีอุปสมบทอย่างที่ปฏิบัติกันอยู่ การขอนิสัยถืออุปัชฌาย์เป็นบุพกิจตอนหนึ่งของการอุปสมบท
ก่อนจะทำการสอนซ้อมถามตอบอันตรายิก ธรรม ผู้ขออุปสมบทเปล่งวาจาขอนิสัยถืออุปัชฌาย์ดังนี้ (เฉพาะข้อความ
ในเครื่องหมาย “....” เท่านั้นเป็นวินัยบัญญัติ นอกนั้นท่านเสริมเข้ามาเพื่อให้หนักแน่น): อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ,
ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ, ตติยมฺปิ อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ, “อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต โหหิ, อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต
โหหิ, อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต โหหิ”
ลำดับนั้นผู้จะเป็นอุปัชฌายะกล่าวตอบว่า “สาหุ” (ดีละ) “ลหุ” (เบาใจดอก) “โอปา
ยิกํ”
(ชอบแก่อุบาย) “ปฏิรูปํ” (สมควรอยู่) “ปาสาทิเกน สมฺปาเทหิ” (จงให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด) คำ
ใดคำหนึ่ง หรือให้รู้เข้าใจด้วยอาการทางกายก็ตาม ก็เป็นอันได้ถืออุปัชฌาย์แล้ว แต่นิยมกันมาให้ผู้ขอกล่าวรับคำ
ของท่านแต่ละคำว่า สาธุ ภนฺเต หรือ สมฺปฏิจฺฉามิ แล้วกล่าวต่อไปอีกว่า อชฺชตคฺเคทานิ เถโร มยฺหํ ภาโร, อหมฺปี เถรสฺ
ส ภาโร (ว่า ๓ หน) (= ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปพระเถระเป็นภาระของข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าก็เป็นภาระของพระเถระ)
ภิกษุนวกะถ้าไม่ได้อยู่ในปกครองของอุปัชฌาย์ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้นิสัยระงับ เช่น อุปัชฌาย์ไป
อยู่เสียที่อื่น ต้องถือภิกษุอื่นเป็นอาจารย์และอาศัยท่านแทน วิธีถืออาจารย์ก็เหมือนกับวิธีถืออุปัชฌาย์เปลี่ยนแต่คำขอ
ว่า “อาจริโย เม ภนฺเต โหหิ, อายสฺมโต นิสฺสาย วจฺฉามิ” (ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าๆ จักอยู่อาศัยท่าน)