วนปรัสถะ - วสี

วนปรัสถะ คำเพี้ยน ดู วานปรัสถ์

วโนทยาน สวนป่า เช่น สาลวโนทยาน คือ สวนป่าไม้สาละ

วรฺคานฺต อักษรที่สุดวรรคแห่งพยัญชนะตามหลัง

วรรค หมวด, หมู่, ตอน, พวก; กำหนดจำนวนภิกษุที่ประกอบเข้าเป็นสงฆ์หมวดหนึ่ง ๆ ซึ่งเมื่อครบจำนวนแล้วจึงจะ
ทำสังฆกรรมอย่างนั้น ๆ ได้ มี ๔ พวก คือ ๑. สงฆ์ จตุรวรรค (สงฆ์พวก ๔ คือ ต้องมีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป ทำกรรมได้ทุก
อย่างเว้นปวารณาให้ผ้ากฐิน อุปสมบทและอัพภาน) ๒. สงฆ์ ปัญจ วรรค (สงฆ์พวก ๕ คือ ต้องมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไปทำ
ปวารณา ให้ผ้ากฐิน และอุปสมบทในปัจจันตชนบท) ๓. สงฆ์ ทศวรรค (สงฆ์พวก ๑๐ คือต้องมีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป
ให้อุปสมบทในมัธยมชนบทได้) ๔. สงฆ์ วีสติวรรค (สงฆ์พวก ๒๐ คือต้องมีภิกษุ ๒๐ ขึ้นไป ทำอัพภานได้)

วรรณะ ผิว, สี, เพศ, ชนิด, พวก, เหล่า, หนังสือ, คุณความดี, ความยกย่องสรรเสริญ; ชนชั้นที่จัดแบ่งออกไปตามหลัก
ศาสนาพราหมณ์เรียกว่า วรรณะ ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร

วรรณนา คำพรรณนา, คำอธิบายความคล้ายกับคำว่าอรรถกถา แต่คำว่าอรรถกถา ใช้หมายความทั้งคัมภีร์ คำว่า
วรรณนาใช้เฉพาะคำอธิบายเป็นตอน ๆ

ววัตถิตะ บทที่แยก เช่น ตุณฺหี อสฺส ตรงข้ามกับสัมพันธ์ คือ บทที่เข้าสนธิ เช่น ตุณหสฺส, ตุณฺหิสฺส

วสวัตดี, วสวัดดี ชื่อพระยามาร เป็นเทพในสวรรค์ชั้นสูงสุดแห่งระดับกามาวจร เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไม่
ให้ล่วงพ้นจากแดนกาม ซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน ดู มาร 2, เทวปุตตมาร

วสันต์ ฤดูใบไม้ผลิ เทียบ วัสสานะ (ฤดูฝน)

วสี ความชำนาญมี ๕ อย่างคือ ๑. อาวัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการนึก ตรวจองค์ฌานที่ตนได้ออกมาแล้ว
๒. สมาปัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่เข้าฌานได้รวดเร็วทันที ๓. อธิฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่ว
ในการที่จะรักษาไว้มิให้ฌานจิตต์นั้นตกภวังค์ ๔. วุฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการจะออกจากฌานเมื่อใดก็
ได้ตามต้องการ ๕. ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการพิจารณาทบทวนองค์ฌาน