วาลิการาม - วิกุพพนฤทธิ์, วิกุพพนาอิทธิ

วาลิการาม ชื่อวัดหนึ่งในเมืองเวสาลีแคว้นวัชชีเป็นที่ประชุมทำสังคายนาครั้งที่ ๒ ชำระวัตถุ ๑๐ ประการที่เป็นเสี้ยน
หนามพระธรรมวินัย

วาสนา อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานาน
จนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติด
ปาก อาการเดินที่เร็วหรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยาก
ฤต คือ เป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒
ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบายกับส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลก ๆ ต่าง ๆ ส่วน
แรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้ จึงมีคำกล่าวว่าพระ
พุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้พร้อมทั้งวาสนา; ในภาษาไทย คำว่าวาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจ
บุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ

วาสภคามิกะ ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์ ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒

วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดไว้ ได้แก่ความพ้นจากกิเลสและอกุศลธรรมได้ด้วยกำลังฌาน อาจสะกดไว้ได้
นานกว่าตทังควิมุตติ แต่เมื่อฌานเสื่อมแล้ว กิเลสอาจเกิดขึ้นอีก จัดเป็นโลกิยวิมุตติ (ข้อ ๒ ในวิมุตติ ๕; ในบาลีเป็น
ข้อ ๑ ถึงชั้นอรรถกถา จึงกลายมาเป็นข้อ ๒)

วิกติกา เครื่องลาดที่เป็นรูปสัตว์ร้าย เช่นราชสีห์ เสือ เป็นต้น

วิกัป, วิกัปป์ ทำให้เป็นของสองเจ้าของคือ ขอให้ภิกษุสามเณรอื่นร่วมเป็นเจ้าของบาตรหรือจีวรนั้นๆ ด้วย ทำให้ไม่
ต้องอาบัติเพราะเก็บอดิเรกบาตรหรืออติเรกจีวรไว้เกินกำหนด เช่นวิกัปจีวรผืนหนึ่งต่อหน้าในหัตถบาสว่า “อิมํ จีวรํ
ตุยฺหํ
วิกปฺเปมิ” ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน

วิกัปปิตจีวร จีวรที่วิกัปป์ไว้, จีวรที่ทำให้เป็นของ ๒ เจ้าของ

วิการ 1. พิการ, ความแปรผัน, ความผิดแปลก, ผิดปรกติ 2. ทำต่างๆ, ขยับเขยื้อน เช่น กวักมือ ดีดนิ้ว เป็นต้น

วิกาล ผิดเวลา, ในวิกาลโภชนสิกขาบท (ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล) หมายถึงตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงก่อนอรุณวัน
ใหม่; ส่วนในอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ ในภิกษุนีวิภังค์ (ห้ามภิกษุณีเข้าสู่ตระกูลในเวลาวิกาล เอาที่นอนปูลาดนั่ง
นอนทับโดยไม่บอกกล่าวขออนุญาตเจ้าบ้าน) หมายถึงตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนถึงก่อนอรุณวันใหม่; ในสิงคาลกสูตร
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สุตตันต ปิฎก กล่าวถึงการเที่ยวซอกแซกในเวลาวิกาลว่าเป็นอบายมุขนั้น ก็หมายถึงเวลาค่ำ

วิกาลโภชน์ การกินอาหารในเวลาวิกาล, การฉันอาหารผิดเวลา ดู วิกาล

วิกุพพนฤทธิ์, วิกุพพนาอิทธิ ฤทธิ์คือการแผลง, ฤทธิ์บิดผัน, ฤทธิ์ผันแผลงคือ เปลี่ยนจากรูปร่างปกติ แปลงเป็นเด็ก
เป็นครุฑ เป็นเทวดา เป็นเสือ เป็นงู เป็นต้น (ต้องห้ามทางพระวินัย)