วิขัมภนปหาน -วิญญาณ

วิขัมภนปหาน การละกิเลสได้ด้วยข่มไว้ด้วยฌาน; มักเขียน วิกขัมภนปหาน

วิขัมภนวิมุติ ดู วิกขัมภนวิมุตติ

วิจาร ความตรอง, การพิจารณาอารมณ์, การตามฟั้นอารมณ์ (ข้อ ๒ ในองค์ฌาน ๕)

วิจารณ์ 1. พิจารณา, ไตร่ตรอง 2. สอบสวน, ตรวจตรา 3. คิดการ, กะการ, จัดเตรียม, จัดแจง, ดูแล, จัดดำเนินการ
4. ในภาษาไทย มักหมายถึง ติชม, แสดงความคิดเห็นในเชิงตัดสินคุณค่า ชี้ข้อดีข้อด้อย

วิจารณญาณ ปัญญาที่ไตร่ตรองพิจารณาเหตุผล

วิจิกิจฉา ความลังเลไม่ตกลงได้, ความไม่แน่ใจ, ความสงสัย, ความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย, ความลังเลเป็น
เหตุไม่แน่ใจในปฏิปทาเครื่องดำเนินของตน (ข้อ ๕ ในนิวรณ์ ๕)

วิจิตร งาม, งดงาม, แปลก, ตระการ, หรู, แพรวพราว

วิชชา ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ; วิชชา ๓ คือ ๑. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ ๒. จุตูปปาตญาณ
ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ๓. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น; วิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ
ญาณในวิปัสสนา ๒. มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ ๓. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ ๔. ทิพพโสต หูทิพย์ ๕. เจโตปริยญาณ
รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้ ๖. ปุพเพนิวาสานุสติ ๗. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ (= จุตูปปาตญาณ) ๘. อาสวักขยญาณ

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ประกอบด้วยวิชชา ๓ หรือ วิชชา ๘ และจรณะ ๑๕ อันเป็น
ปฏิปทาเครื่องบรรลุวิชชานั้น, มีความรู้ประเสริฐ ความประพฤติประเสริฐ (ข้อ ๓ ในพุทธคุณ ๙)

วิชชาธร, วิชาธร ดู วิทยาธร

วิญญัติ 1. การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย, การสื่อความหมาย มี ๒ คือ ๑. กายวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยกาย
เช่น พยักหน้า กวักมือ ๒. วจีวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยวาจา คือพูด หรือบอกกล่าว 2. การออกปากขอของ ต่อ
คนไม่ควรขอ หมายถึงภิกษุขอสิ่งของต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา

วิญญูชน ใช้ในความหมาย ๔ ลักษณะ ได้แก่
          ๑.คนฉลาด, นักปราชญ์, ผู้รอบรู้, ผู้มีปัญญา, ผู้รู้ผิดรู้ชอบ
          ๒.ผู้รู้แจ้ง, ผู้รู้โดยแจ่มแจ้ง ชัดเจน
          ๓.ผู้ประกอบด้วยหลักนักปราชญ์คือ สุ(ฟัง-ศึกษา) จิ (คิดไตร่ตรอง) ปุ (สงสัยถามผู้รู้) ลิ (บันทึกช่วยจำ) ประกอบด้วยปัญญาพินิจ มีหลักโยนิโสมนสิการ คือเป็นผู้ฉลาดในการคิด คิดอย่างถูกวิธี ถูกระบบ พิจารณาไตร่ตรองรอบคอบ แล้วสามารถแยกแยะผิดถูก ชั่วดี ควร ไม่ควร เหมาะสม ไม่เหมาะสม เป็นต้น ได้อย่างถูกต้องแจ่มแจ้ง
          ๔.เป็นผู้สามารถที่จะรู้ธรรมของพระพุทธเจ้าได้ ตัวอย่างพระบาลีว่า ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นสิ่งที่วิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน

(ที่มา: พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด โดย พระธรรมกิตติวงศ์(ราชบัณฑิต) โรงพิมพ์ ช่อระกา กทม. หน้า ๘๙๔)

วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต, ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน เช่นรู้อารมณ์
ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตาเป็นต้น ได้แก่ การเห็น การได้ยินเป็นอาทิ; วิญญาณ ๖ คือ ๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์
ทางตา (เห็น) ๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน) ๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ได้กลิ่น) ๔. ชิวหา
วิญญาณ
ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (รู้รส) ๕. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย) ๖. มโนวิญญาณ ความรู้
อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)