วินัยวัตถุ - วิปจิตัญญู

วินัยวัตถุ เรื่องเกี่ยวกับพระวินัย

วินิจฉัย ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ, ชี้ขาด, ตัดสิน, ชำระความ

วินิบาต โลกหรือวิสัยเป็นที่ตกไปแห่งสัตว์อย่างไร้อำนาจ, แดนเป็นที่ตกลงไปพินาศย่อยยับ; อรรถกถาแห่ง
อิติวุตตกะอธิบายนัยหนึ่งว่าเป็นไวพจน์ของคำว่านรกนั่นเอง อีกนัยหนึ่งว่าหมายถึงกำเนิดอสุรกาย

วินิปาติกะ ท่านว่าได้แก่พวกเวมานิกเปรต คือ พวกเปรตมีวิมานอยู่ ได้เสวยสุขและต้องทุกข์ทรมานเป็นช่วงๆ สลับ
กันไป มีสุขบ้างทุกข์บ้างคละระคน

วินีตวัตถุ เรื่องที่ท่านวินิจฉัยแล้ว, เรื่องที่ตัดสินแล้ว ท่านแสดงไว้เป็นตัวอย่าง สำหรับเทียบเคียงตัดสิน ในการปรับ
อาบัติ (ทำนองคำพิพากษาของศาลสูงสุดที่นำมาศึกษากัน)

วิบัติ ความเสีย, ความผิดพลาด, ความบกพร่อง, ความเสียหายใช้การไม่ได้ 1. วิบัติความเสียของภิกษุมี ๔ อย่าง คือ
๑. ศีลวิบัติ ความเสียแห่งศีล ๒. อาจารวิบัติ ความเสียมรรยาท ๓. ทิฏฐิวิบัติ ความเห็นผิดธรรมผิดวินัย ๔. อาชีว-
วิบัติ
ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ 2. วิบัติคือความเสียหายใช้ไม่ได้ ของสังฆกรรม มี ๔ คือ ๑. วัตถุวิบัติ เสียโดย
วัตถุ เช่น อุปสมบทคนอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ๒. สีมาวิบัติ เสียโดยสีมา เช่น สีมาไม่มีนิมิต ๓. ปริสวิบัติ เสียโดยบริษัทคือ
ที่ประชุม เช่น ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์สงฆ์ ๔. กรรมวาจาวิบัติ เสียโดยกรรมวาจา เช่น สวดผิดพลาดตกหล่น
สวดแต่อนุสาวนาไม่ได้ตั้งญัตติ เป็นต้น (ข้อกรรมวาจาวิบัติบางกรณีแยกเป็นญัตติวิบัติและอนุสาวนาวิบัติ กลายเป็น
วิบัติ ๕ ก็มี) เทียบ สมบัติ

วิบาก ผล, ผลแห่งกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน

วิปจิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น, รู้ต่อเมื่อขยายความ (ข้อ ๒ ในบุคคล ๔)