เวมานิกเปรต - เวหาสกุฎี

เวมานิกเปรต เปรตอยู่วิมาน ได้เสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรมเสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลาง
คืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมาน มีร่างเป็นทิพย์สวยงาม เวลาจะเสวยทุกข์ต้องออกจากวิมาน
ไป และร่างกายก็กลายเป็นน่าเกลียดน่ากลัว

เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ, ทำดีด้วยการช่วยเหลือรับใช้ผู้อื่น (ข้อ ๕ ในบุญกิริยาวัตถุ
๑๐); ไวยาวัจมัย ก็เขียน

เวร ความแค้นเคือง, ความปองร้ายกัน, ความแก้เผ็ด, ความคิดร้ายตอบแก่ผู้ทำร้าย; ในภาษาไทยใช้อีกความหมายหนึ่ง
ด้วยว่าคราว, รอบ, การผลัดกันเป็นคราวๆ, ตรงกับ วาร หรือวาระในภาษาบาลี

เวสสภู พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า ๗

เวสารัชชกรณธรรม ธรรมทำความกล้าหาญ, ธรรมเป็นเหตุให้กล้าหาญ, คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้ามี ๕
อย่างคือ ๑. ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ๒. ศีล มีความประพฤติดีงาม ๓. พาหุสัจจะ ได้สดับหรือศึกษามาก ๔. วิริยา-
รัมภะ
เพียรทำกิจอยู่อย่างจริงจัง ๕. ปัญญา รู้รอบและรู้ชัดเจนในสิ่งที่ควรรู้

เวสารัชชญาณ พระปรีชาญาณอันทำให้พระพุทธเจ้าทรงมีความแกล้วกล้าไม่ครั่นคร้าม ด้วยไม่ทรงเห็นว่าจะมีใคร
ท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรมในฐานะทั้ง ๔ คือ ๑. ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่รู้แล้ว
๒. ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว ๓ ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรม
เหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ๔. ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็น
ทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบได้จริง

เวสาลี ชื่อนครหลวงของแคว้นวัชชี ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกแห่งลำน้ำคัน ธกะบางทีเรียก ไพศาลี

เวหาสกุฎี โครงที่ตั้งขึ้นในวิหาร ปักเสาตอม่อขึ้นแล้ววางรอดบนนั้น สูงพอศีรษะไม่กระทบพื้น ถ้าไม่ปูพื้นข้างบนก็
เอาเตียงวางลงไป ให้พื้นเตียงคานรอดอยู่ ขาเตียงห้อยลงไป ใช้อยู่ได้ทั้งข้างบนข้างล่าง ข้างบนเรียกว่าเวหาสกุฎี เป็น
ของต้องห้ามตามสิกขาบทที่ ๘ แห่งภูตคามวรรค ปาจิตตีย์