ทิฏฐธัมมิกัตถะ - ทิฏฐิวิสุทธิ

ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็นกันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ
เกียรติ ไมตรี เป็นต้น อันจะสำเร็จด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ๒. อารักข
สัมปทา
ถึงพร้อมด้วยการรักษา ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ๔. สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่
กำลังทรัพย์ที่หาได้; มักเรียกคล่องปากว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์

ทิฏฐานุคติ การดำเนินตามสิ่งที่ได้เห็น, แบบอย่าง, ตัวอย่าง, การทำตามอย่าง, ทางดำเนินตามที่ได้มองเห็น, เช่นพระ
ผู้ใหญ่ปฏิบัติตนชอบ ก็เป็นทิฏฐานุคติของพระผู้น้อย

ทิฏฐาวิกัมม์ การทำความเห็นให้แจ้งได้แก่แสดงความเห็นแย้ง คือภิกษุผู้เข้าประชุมในสงฆ์บางรูปไม่เห็นร่วมด้วยคำ
วินิจฉัยอันสงฆ์รับรองแล้วก็ให้แสดงความเห็นแย้งได้

ทิฏฐิ ความเห็น, ทฤษฎี; ความเห็นผิดมี ๒ คือ ๑. สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง ๒. อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ;
อีกหมวดหนึ่งมี ๓ คือ ๑. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ ๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ ๓. นัตถิกทิฏฐิ
ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้เช่น มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น; ในภาษาไทยมักหมายถึงการดื้อดึงในความ
เห็น (พจนานุกรมเขียนทิฐิ)

ทิฏฐิบาป ความเห็นลามก

ทิฏฐิปปัตตะ ผู้ถึงทิฏฐิ คือ บรรลุสัมมาทิฏฐิ, พระอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ที่
เป็นผู้มีปัญญินทรีย์แรงกล้าไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ (ถ้าบรรลุอรหัตตผล กลายเป็นปัญญาวิมุต) ดู อริยบุคคล ๗

ทิฏฐิมานะ ทิฏฐิ แปลว่าความเห็น ในที่นี้หมายถึงความเห็นดื้อดึง ถึงผิดก็ไม่ยอมแก้ไข มานะ ความถือตัว รวม ๒ คำ
เป็นทิฏฐิมานะ หมายถึงถือรั้น อวดดี หรือดึงดื้อถือตัว

ทิฏฐิวิบัติ วิบัติแห่งทิฐิ, ความผิดพลาดแห่งความคิดเห็น, ความเห็นคลาดเคลื่อนผิดธรรมผิดวินัย ทำให้ประพฤติตน
นอกแบบแผน ทำความผิดอยู่เสมอ (ข้อ ๓ ในวิบัติ ๔)

ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความเห็น คือ เกิดความรู้ความเข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง คลายความ
หลงผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนลงได้ (ข้อ ๓ ในวิสุทธิ์ ๗)