ติกะ - ติตถิยปริวาส

ติกะ หมวด ๓

ติจีวรวิปปวาส การอยู่ปราศจากไตรจีวร

ติจีวรอวิปปวาส การไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร ดู ติจีวราวิปปวาส

ติจีวราวิปปวาส การไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร คือ ภิกษุอยู่ในแดนที่สมมติเป็น ติจีวราวิปปวาสแล้ว อยู่ห่างจากไตรจีวร
ก็ไม่เป็นอันอยู่ปราศ ไม่ต้องอาบัติด้วยนิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบทที่ ๑

ติจีวราวิปปวาสสีมา แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร สมมติแล้วภิกษุอยู่ห่างจากไตรจีวรในสีมานั้นก็ไม่เป็นอันปราศ

ติณชาติ หญ้า

ติณวัตถารกวิธี วิธีแห่ง ติณวัตถารกวินัย

ติณวัตถารกวินัย ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า ได้แก่กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหา
ความเดิมเป็นวิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์ ที่ใช้ในเมื่อจะระงับลหุกาบัติที่เกี่ยวกับภิกษุจำนวนมาก ต่างก็ประ พฤติไม่สม
ควรและซัดทอดกันเป็นเรื่องนุงนังซับซ้อน ชวนให้ทะเลาะวิวาท กล่าวซัดลำเลิกกันไปไม่มีที่สุดจะระงับด้วยวิธีอื่นก็
จะเป็นเรื่องลุกลามไป เพราะถ้าจะสืบสวนสอบสวนปรับให้กันและกันแสดงอาบัติ ก็มีแต่จะทำให้อธิกรณ์รุนแรงยิ่ง
ขึ้น จึงระงับเสียด้วยติณวัตถารกวิธี คือแบบกลบไว้ด้วยหญ้า ตัดตอนยกเลิกเสีย ไม่สะสางความหลังกันอีก

ติตถกร เจ้าลัทธิ หมายถึงคณาจารย์ ๖ คน คือ ๑. ปูรณกัสสป ๒. มักขลิโคสาล ๓. อชิตเกสกัมพล ๔. ปกุทธกัจจายนะ
๕. สัญชัยเวลัฏฐบุตร ๖. นิครนถนาฏบุตร มักเรียกว่า ครูทั้ง ๖

ติตถิยะ เดียรถีย์, นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา

ติตถิยปริวาส วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนากล่าวคือ นักบวชในลัทธิศาสนาอื่นหากปรา-
รถนาจะบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาสก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจ จึงจะ
อุปสมบทได้