มงคลชีวิต

              มีผู้รู้หลายท่านกล่าวว่า มงคล คือทางก้าวหน้า ความสุข ความเจริญ สำหรับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย สถาน พ.ศ ๒๕๒๕ ให้ความหมายไว้ว่า มงคล คือเหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ คำว่า มงคลชีวิต จึงความความได้ว่า คือเหตุแห่งความสุขและความเจริญก้าวหน้าของชีวิต เป็นสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่ ๓๘ ประการด้วยกัน

              มงคล เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้า ความเจริญก้าวหน้า มี ๔ ประการ คือ

              ๑. ความเจริญก้าวหน้าด้วยสรรพสมบัติทั้งหลายทั้งมนุษย์สมบัติทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติ
              ๒. ความเจริญก้าวหน้าด้วยปัญญา อันเป็นเครื่องทำลายอุปสรรคของชีวิตและความชั่วความบาปต่าง ๆ
              ๓. ความเจริญก้าวหน้าด้วยความดีงาม ทั้งทางกาย วาจา ในเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องสูง
              ๔. ความเจริญก้าวหน้าด้วยประโยชน์ทั้ง ๓ คือ
                            ๑.ประโยชน์ในโลกนี้ คือโลกมนุษย์
                            ๒.ประโยชน์ในโลกหน้า คือสวรรค์
                            ๓.ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน
              เมื่อเราประพฤติปฏิบัติตามมงคลทั้ง ๓๘ ประการนี้ แม้เพียงมงคลในมงคลหนึ่งก็ตาม ก็ได้ชื่อว่าประกอบ เหตุอันทำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าทั้งประการนี้ ทำให้เราสามารถบำเพ็ญประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง แก่ครอบครัวสังคม และแก่ชาวโลกได้เต็มที่

เหตุที่ต้องเรียนรู้จักมงคล

              มีสิ่งที่น่าคิดอยู่ประการหนึ่งคือ การเกิดมาเป็นคน เพียงแค่ศึกษาความรู้สูง ๆ เพื่อให้มีสติปัญญาที่จะทำมาหากินได้สะดวกสบายโดยไม่ติดขัดเท่านี้ยังไม่พอ ยังไม่แน่ว่าจะหาความสุขได้ เพราะความรู้ที่มีอยู่ในโลกทั่วไปเป็นความรู้เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง คือเลี้ยงส่วนที่เป็นกายเท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นใจยังไม่มีอะไรไปเลี้ยงเนื่องจากคนเรามีส่วนสำคัญอยู่ ๒ ส่วน คือกายและใจ

              ในเมื่อกายก็ต้องการอาหารไปเลี้ยงเพื่อให้พ้นจากโรคคือความหิว และให้ร่างกายเกิดความเจริญเติบโตขึ้น ใจก็เช่นเดียวกัน ต้องการอาหารคือธรรมะมาหล่อเลี้ยงเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้พ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง และเพื่อยกระดังจิตใจของเราให้สูงขึ้น จะได้พบกันความสุขควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพทำมาหากิน
ด้วยเหตหุนี้เราจึงต้องมาเรียนธรรมะโดยเฉพาะเรื่องมงคลสูตรเพราะไม่เพียงมีความสำคัญดังกล่าวแล้ว ยังง่ายต่อการทำความเข้าใจ และการนำไปปฏิบัติตามอีกด้วย

ที่มาของมงคล

              เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว คืนหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า และบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งทูลถามพระองค์ว่า อะไรคือ มงคลของชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคล ซึ่งมีทั้งหมด ๓๘ ประการมงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ยึดถือวัตถุ แต่ยึดถือการปฏิบัติฝึกฝนตนเอง

              แม้หลักมงคลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง จะประกอบไปด้วยเหตุผลอย่างสมบูรณ์ ไม่มีใครสามารถล้างได้ แต่ก็มิได้หมายความว่า คณาจารย์ นักคิด เจ้าลัทธิทั้งหลายจะล้มเลิกความคิดเดิม หันมาเชื่อพระองค์ทุกคนเพราะล้วนแต่หน้าแน่นด้วยทิฏฐิกันทั้งนั้น แม้จะรู้ตัวว่าผิด แต่ยังยืนยันวาทะของตนอยู่ และ สานุศิษย์ของแต่ละสำนักก็ยังทำการเผยแพร่อยู่อย่างไม่หยุดยั่งประกอบกับนิสัยของคนเรามีความขลาดประจำตัวอยู่แล้ว ชอบทำงานอะไรเผื่อเหนียวไว้ก่อน จึงมีผู้ยอมรับนับถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เกิดเป็นมงคล ๒ สาย พัวพันกันมาจนถึงปัจจุบันคือ

              ๑. มงคลของนักคิด เรียกว่า มงคลมี ยึดถือเอาว่า การมีสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นมงคล ซึ่งแต่ละที่แต่ละสมัยก็ยึดถือต่าง ๆ กันไป ไม่มีอะไรแน่นอน ของบางอย่างบางที่ถือเป็นมงคล บางที่อาจถือว่าเป็นอัปมงคลก็ได้
              ๒. มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า มงคลทำ ยึดถือเอาการปฏิบัติฝึกฝนตนเองเป็นเกณฑ์เป็นสัจธรรม ที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ใดปฏิบัติตามแล้วย่อมได้ผลแน่นอนมงคลของนักคิดนั้น มีผู้เสนอขึ้นมาแล้ว ก็มีผู้โต้แย้งลบล้างไป แล้วก็มีผู้เสนอขึ้นมาใหม่อยู่เรื่อย ๆ จนหาข้อยุติไม่ได้ แต่มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
เมื่อทรงแสดงแล้วก็ไม่มีใครสามารถหาเหตุผลมาลบล้างได้ แม้พระองค์จะทรงเปิดโอกาสให้คัดค้านวิพากษ์ วิจารณ์ได้ตลอดเวลา ดังความในบทสรรเสริญพระธรรมคุณที่ว่า "เอหิปัสสิโก เชิญมาพิสูจน์เถิด "

 

มงคลหมู่ที่ ๑

      ๑. อเสวนา จ พาลานํ การไม่คบคนพาล
๒. ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา การคบหาบัณฑิต
๓. ปูชา จ ปูชนียานํ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

 

มงคลหมู่ที่ ๒

      ๔. ปฏิรูปเทสวาโส จ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
๕. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา มีบุญวาสนามาก่อน
๖. อตฺตสมฺมาปณิธิ จ ตั้งตนชอบ

 

มงคลหมู่ที่ ๓

      ๗. พาหุสจฺจญฺจ เป็นพหูสูต
๘. สิปฺปญฺจ มีศิลปะ
๙. วินโย จ สุสิกฺขิโต มีวินัย
๑๐. สุภาสิตา จ ยา วาจา มีวาจาสุภาษิต

 

มงคลหมู่ที่ ๔

      ๑๑. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ บำรุงบิดามารดา
๑๒. ปุตฺตสงฺคโห เลี้ยงดูบุตร
๑๓. ทารสฺส สงฺคโห สงเคราะห์ภรรยา (สามี)
๑๔. อนากุลา จ กมฺมนฺตา ทำงานไม่คั่งค้าง

 

มงคลหมู่ที่ ๕

     

๑๕. ทานญฺจ บำเพ็ญทาน
๑๖. ธมฺมจริยา จ ประพฤติธรรม
๑๗. ญาตกานญฺจ สงฺคโห สงเคราะห์ญาติ
๑๘. อนวชฺชานิ กมฺมานิ ทำงานไม่มีโทษ

 

 

มงคลหมู่ที่ ๖

      ๑๙. อารตี วิรตี ปาปา งดเว้นจากบาป
๒๐. มชฺชปานา จ สญฺญโม สำรวมจาการดื่มน้ำเมา
๒๑. อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ ไม่ประมาทในธรรม

 

มงคลหมู่ที่ ๗

      ๒๒. คารโว จ มีความเคารพ
๒๓. นิวาโต จ มีความถ่อมตน
๒๔. สนฺตุฏฺฐี จ มีความสันโดษ
๒๕. กตญฺญุตา มีความกตัญญู
๒๖. กาเลน ธมฺมสฺสวนํ ฟังธรรมตามกาล

 

มงคลหมู่ที่ ๘

      ๒๗. ขนฺตี จ มีความอดทน
๒๘. โสวจสฺสตา เป็นคนว่าง่าย
๒๙. สมณานญฺจ ทสฺสนํ เห็นสมณะ
๓๐. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา สนทนนาธรรมตามกาล

มงคลหมู่ที่ ๙
      ๓๑. ตโป จ บำเพ็ญตบะ
๓๒. พฺรหฺมจริยญฺจ ประพฤติพรหมจรรย์
๓๓. อริยสจฺจาน ทสฺสนํ เห็นอริยสัจ
๓๔. นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ ทำนิพพานให้แจ้ง

มงคลหมู่ที่ ๑๐
      ๓๕. ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
๓๖. อโสกํ จิตไม่โศก
๓๗. วิรชํ จิตปราศจากธุลี
๓๘. เขมํ จิตเกษม

 

วัดท่าไทร
สำนักงานเจ้าคณะภาค ๑๖
สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศูนย์พัฒนาคุณธรรมภาคใต้(สุราษฎร์ธานี)
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศูนย์ประสานงานสมาคมป้องกันภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี