ภัยที่จะเกิดมีแด่พระพุทธศาสนา
โดย...เสถียร โพธินันทะ
************************************

พระคุณเจ้า พระธรรมทูตทั้งหลาย
                เรื่องที่กระผมใคร่นำมาเสนอในวันนี้ กู้เกี่ยวกับเรื่อง "ภัยของพระพุทธศาสนา" ซึ่งได้มารุกอยู่รอบ ๆ ตัวเราแล้วในเวลานี้ คือ ถ้าเราจะอยู่กันอย่างวันหนึ่ง ๆ โดยที่ไม่ไปคิดถึงเรื่องของพระศาสนามากนักเราก้อาจจะอยู่ได้อย่างสบาย เพราะว่า ไม่ช้าเราก็จะตายแล้ว จะมัวไปคิดห่วงอะไรกับปัญหาเรื่องพระศาสนาปล่อยไว้ให้บุคคลที่จะมาในรุ่นหลัง ๆ แบกหามกันต่อไปดีกว่า หรือบางทีเราอาจนึกว่า การที่พระพุทธศาสนายั่งยืนอยู่ได้ถึง ๒๕ ศตวรรษมานี้ ทำไมจึงอยู่ได้ แล้วที่จะยั่งยืนต่อไปอีก ๒๕ ศตวรรษหรือมากกว่านั้น ก็คงจะยั่งยืนต่อไปได้ ในรูปการณ์นี้
                ถ้าเราคิดอย่างนี้แล้ว บางครั้งก็จะไม่เกิดความกังวลใจอะไรนัก อาจหาความสุขได้อย่างสบาย ๆ ตามอัตภาพของตนไปวันหนึ่ง ๆ แต่ถ้าคิดกลับอีกมุมหนึ่ง พิจารณาสถานการณ์พระพุทธศาสนารอบ ๆ ตัวของเราแล้ว ศึกษาประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาที่ผ่านมาในอดีตว่า ทำไมประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกหลายประเทศในเอเชียของเรา จึงถูกทำลายวิบัติไปทีละประเทศสองประเทศต่อย ๆ หมดไปทุกวัน ๆ ตั้งแต่อดีตมาแล้ว บางทีการศึกษาเปรียบเทียบในเรื่องประวัติศาสตร์พิจารณาเทียบเคียงกับสถานการณืปัจจุบัน จะเป็นเครื่องเตือนใจให้เราชาวพุทธทั้งหลายเกิดความตระหนกตกใจ บอกอนาคตของพระพุทธศาสนาว่า จะเป็นอย่างไรต่อไปนี้
                กระผมอยากจะเสนอเรื่องราวว่า ในอดีตพระพุทธศาสนาของเรานั้น นอกจากกลุ่มประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเรารู้จักกันในปัจจุบันนี้นับถือแล้ว ประเทศใหญ่ ๆ ที่นับถือพระพุทธสาสนาอย่างอินโดนีเซีย เมื่อราว ๆ สัก ๘๐๐ กว่าปีนี้เอง ก่อนสมัยสุโขทัยของเราเล็กน้อย เป็นอาณาจักรของพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลแพร่ไพศาลที่สุด อินโดนีเซียซึ่งประกอบด้วยเกาะเล็กเกาะใหญ่ถึง ๓,๐๐๐ เกาะใหญ่เกาะเหล่านี้ ล้วนแต่ครั้งหนึ่งรัศมีแห่งกาสาวพัสตร์เคยรุ่งเรืองมาแล้ว
นอกจากที่อินโดนีเซียแล้ว ประเทศเตอรกีสถานซึ่งเป็นประเทศในใจกลางทวีปเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นเตอรกีสถานของจีนแดงหรือเตอรกีสถานของโซเวียต เมื่อราว ๆ ๑๒๐๐ ปีมาแล้ว ก็เป็นดินแดนซึ่งรุ่งเรืองด้วยกาสาวพัสตร์มาแล้ว ประเทศอาฟกานิสถาน ประเทศอิหร่าน และประเทศที่กระผมกราบเรียนมาแล้วในอดีตเป็นประเทศที่รุ่งเรืองด้วกาสาวพัสตร์มาแล้ว แต่ในปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นมุสลิมไปแล้วทั้งสิ้น ทำไมประเทศทั้ง ๕- ๖ ประเทศ ที่กราบเรียนมานี้ ปัจจุบันจึงไม่มีชาวพุทธเลย ทำไมประเทศเหล่านี้จึงกลายเป็นมุสลิมไปหมด ทำไมทั้ง ๆ ที่พระพุทธศาสนาเคยหยั่งรากฝังแน่นมาในกลุ่มประเทศเหล่านี้ จึงหลายเป็นเช่นนั้นไปได้
                หากว่า เราได้อ่านจดหมายเหตุที่นักธรรมจาริกชาวจีนที่เดินทางไปศึกษาธรรมวินัยในอินเดียครั้งกระโน้น เปรียบเทียบกับสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ เราจะต้องสลดใจ จดหมายเหตุของนักธรรมจาริกชาวจีนซึ่งท่านได้ผ่านไปทางเตอรกีสถาน อาฟกานิสถาน และอิหร่าน ท่านเล่าว่า ที่ประเทศเตอรกีสถานนั้น มีวัดพระพุทธสาสนาถึง ๑,๕๐๐ วัด ที่ประเทศอิหร่านมีวัดพระพุทธศาสนาประมาร ๒,๐๐๐ วัด ที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะที่เกาะชวาและสุมาตรา มีสำนักศึกษาพระพุทธศาสนาที่รุ่งเรืองที่สุด มีพระสังฆราชชื่อว่า "ศากยเกียรติ เป็นหัวหน้า แม้แต่ภิกษุนักธรรมชั้นสูง ซึ่งเป็นชาวชมพูทวีป ยังต้องเดินทางมาศึกษาธรรมวินัยในเกาะลังกา นี่เป็นเหตุการณ์ราว ๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ประมารณ ๑๐๐๐ ปี เศษล่วงมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนี้ เราก็ทราบกันอยู่ทั่ว ๆ ไปว่า ประเทศเหล่านี้เป็นประเทศของชาวมุสลิม รัฐบาลก็เป็นชาวมุสลิม ประชากรส่วนใหญ่ก็เป็นมุสลิม เกือบจะไม่มีใครรู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นอะไรเลยทำไมถึงเป็นอย่างนั้นครับ  เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นกับประเทศเหล่านี้ได้ ทำไมเหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นกับเรา กับประเทศของเราไม่ได้ สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมันเคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต สิ่งนั้นมักจะต้องเกิดซ้ำอีกในปัจจุบันนี่เป็นเรื่องราวของประวัติศาสตร์ เพราะฉะนั้น นักปราชญ์จึงกล่าวว่า "เรื่องของประวัติศาสตร์ไม่มีอะไรใหม่แต่เป็นเรื่องซ้ำในบทบาทเก่า ๆ โดยเปลี่ยนผู้แสดงตัวใหม่ ๆ เท่านั้นเอง" โครงการก็ดีวิธีการก็ดีพฤติการณ์ก็ดี ล้วนเป็นสิ่งที่เราจะศึกษาเปรียบเทียบได้จากอดีต อดีตจึงเป็นเครื่องบ่งปัจจุบันจึงเป็นเครื่องชี้อนาคต
                คราวนี้ เรามาดูกันในปัจจุบันของเราว่า ภัยของพระพุทธศาสนาของเราเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบ หรือระหว่างที่มีสงครามโลกครั้งที่ ๒ อยู่ ได้มีบรรยากาศ ได้มีการโฆษณาอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในกลุ่มชาวพุทธของเรา ไม่ว่าจะเป็นชาวพุทธในลังกา ชาวพุทธในพม่า หรือในเมืองไทย ให้เชื่อกันว่า เมื่อพระพุทธศาสนาอายุกาลครบ ๒๕๐๐ ปีแล้ว พระพุทธศาสนาจะกระจายรุ่งโรจน์ที่สุดในโลก จะมีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างมโหฬาร สามารถดึงปริมาณชาวโลกมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้มาก เป็นความเชื่อของชาวพุทธกลุ่มหนึ่งนะครับ ทั้งในเองไทย ในพม่า และในลังกา มีความเชื่ออย่างนั้น แล้วเป็นความเชื่อของชาวพุทธกลุ่มหนึ่งนะครับ
                ทั้งในเมืองไทย ในพม่า และในลังการ มีความเชื่ออย่างนั้น  แล้วความอชื่ออย่างนั้นก็ได้เผล็ดผลออกมาในรูปของการจัดตั้งขบวนการองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกนี้ในลังการเป็นปฐม ซึ่งปัจจุบันนี้องค์การนี้ก็ยังตั้งอยู่ในประเทศไทย หลังจากนั้นอีกไม่ช้าก็มีการฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ แต่หลังจากากรฉลองแล้ว ก็ดูคล้าย ๆ กับเป็นอาถรรพณ์พิกลครับ ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับดวงไฟ ดวงประทีป หรือดวงตะเกียงธรรมดา ถ้าน้ำมันไส้ตะเกียงมันจะหมดละก็ ไฟมันจะลุกวาขึ้นเป็นวาระสุดท้ายแล้วก็ดับไปเลย ไม่เชื่อพระคุณเจ้าลองสังเกตดูซิครับ ตะเกียงที่เราจุดไฟแล้วนี่ เมื่อไฟไหม้ไป ๆ ตอนน้ำมันจะแห้ง ไส้มันจะหมด ไฟมันจะวาบอีกครั้ง แล้วก็จะดับ มืดไปเลยฉันใด พระพุทธศาสนาของเราก็มีลักษณะอย่างนั้น คือมีการฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษในประเทศต่าง ๆ เป็นการใหญ่ คล้าย ๆ กับตะเกียงที่มันจะดับ แต่จะต้องโชติช่วงอีกวาระหนึ่ง เป็นการโชติช่วงที่คล้าย ๆ กับว่า สว่างเพื่อจะอำลาอย่างนั้นแหละ เลยวาบขึ้นมา
                หลังจากนั้น ก็เปรียบเสมือนมีสายฟ้าฟาดมาต้องพระพุทธศาสนาเรา นั่นก็คือ ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาได้เกิดความวิบัติขึ้นทีละประเทศสองประเทศ ยกตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆคือประเทศทิเบต ยังมีชาวพุทธในเมืองไทยเราส่วนหนึ่งเข้าใจผิดว่า "ไม่เป็นไรหรอก เมืองไทยเราเป็นเมืองพุทธ อย่างไร ๆ พระก็คุ้มครอง ภัยอะไรมา ที่หนักก็เป็นเบา ดูสงครามโลกซิ ก็ยังหนักเป็นเบากว่าเพื่อน" แต่ทิเบตเล่าครับท่านไม่เป็นเมืองพุทธยิ่งกว่าเราหรือ ประเทศทิเบตน่ะ ขนาดรัฐบาลเป็นพระ พระเป็นรัฐบาลปกครอง พระสังฆราชทำหน้าที่เป็นกษัตริย์ปกครอง บรรยากาศในประเทศของเขาเป็นพุทธยิ่งกว่าเมืองเราอีกตั้งหาร้อยเท่า แล้วทำไมพระไม่คุ้มครองชาวทิเบต ? ทำไมดาไลลามะของทิเบตจึงต้องหนีภัยไปอยู่อินเดีย ทำไมพระพุทธศาสนาในทิเบตจึงถูกกวาดล้าง เรามาดูประเทศทิเบตนี่เป็นตัวอย่าง
เพราะฉะนั้นควรที่จะเกิดความกังวลต่ออนาคตของพระพุทธศาสนาในเมืองไทยเราว่า ถ้าเราปล่อยปละละเลยไปเรื่อย ๆ                 โดยที่ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ไม่ตื่นตัวที่จะช่วยกันอุปภัมภ์รับษาชีวิตของพระพุทธศาสนาเอาไว้ถึงที่สุดแล้วในอนาคตอันใกล้นี้แหละครับ ฉากในทิเบตจะปรากฎแก่เราในไม่ช้านี้ ประเทศแรกที่ได้ประเดิมการวิบัติของพระพุทธศาสนา ให้เห็นแต่ตาเรา ต่อจากทิเบตก็ค่อย ๆ กินทีละประเทศสองประเทศเรื่อง ๆ มา
เวลานี้ในพม่าซึ่งเป็นประเทศติดบ้านเราแท้ ๆ ลักษณะของพระศาสนาก็เริ่มส่อทีท่าว่าจะทรุดโทรมวิบัติลงไปแล้ว เพราะตั้งแต่รัฐบาลพม่าชุดใหม่ ไม่มีนโยบายสนับสนุนพระศาสนา แต่มีนโยบายว่า จะปล่อยศาสนา จะเป็นตายร้ายดีก็เป็นเรื่องของศาสนาเอง รัฐบาลไม่เจ้าไปเกี่ยวข้อง อยู่ได้ก็อยู่ไป อยู่ไม่ได้ก็ล้มตัวเองไป ที่จะไปถวายความอุปถัมภ์ค้ำชูเหมือนรัฐบาลอูนุ เขาตัดหมด งบประมาณอุปถัมภ์ศาสนาก็ถูกตัด พระจะไปทำการใหญ่ หรือไปบังคับนักการเมืองอย่างสมัยรัฐบาลอูนุนั้นไม่มีทางเสียแล้ว พระองค์ไหนไปทำแข็งกับรัฐบาลก็จับเข้าคุกไป ไม่เหมือนสมัยรัฐบาลอูนุ พระเดินขบวนเรียกร้องให้ปลดคนที่พระไม่ต้องการได้ รัฐต้องกลัวเกรงอิทธิพลของพระ นั่นก็เพราะว่า รัฐบาลนั้นยังเป็นรัฐบาลอุบาสก อย่างน้อยก็ยังมีความรู้สึกว่า ฐานะอุบาสกต่ำกว่าพระ จึงมีความเคารพพระ ไม่ว่าพระจะประพฤติหรือไม่ดี แต่เวลานี้ในพม่า พระพม่าเองก็ร้องว่า "แย่แล้ว แย่แล้ว" หลังจากรัฐบาลได้ใช้ระบบยึดการครองชีพการค้าขายของประชาชนมาเป็นของรัฐหมด คนที่จะทำบุญกับวัด มีแต่น้อยลงทุกวัน ๆ เพราะราษฎรเองก็เงยหน้าอ้าปากไม่ค่อยจะขึ้น เงินทองทีมีก็ถูกลิดรอนไปหมดแล้ว จะมีเงินมีทรัพย์ที่ไหนไปทำบุญทำทานกับพระ
                เพราะฉะนั้น นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายช่วยตัวเองเถิด วัดบางวัดที่รอดตัวอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยที่กัลปนา ไร่นาสาโทยังมีอยู่ ก็ยังพออาศัยเก็บกัปนาเหล่านี้เลี้ยงตัวไปได้ แต่วัดที่ไม่มีกัลปนาก็ร้อนตัว และกัลปนาของวัดเหล่านี้อีกไม่นาน ผมเชื่อว่า รัฐบาลพม่าจะริบด้วย แต่ว่าเป็นการทำทีละก้าว ไม่ทำฮวบฮาบ เขาเล่นงานคฤหัสถ์ก่อน แล้วค่อยมาเล่นงานศาสนสมบัติของวัดในภายหลัง นี่เป็นเรื่องพม่า ซึ่งเป็นประทศที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติอย่างเรามาแต่โบราณเหมือนกัน ยังมีอันเป็นไปอย่างนี้
                ในลังกาเกือบจะพูดได้ว่า พระสงฆ์ลังกานั้นท่านตื่นตัวที่สุดในการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาไว้ให้ปลอดภัย พระสงฆ์ลังกามีความตื่นตัวถึงขนาดรวมกันตั้ง ๔,๑๐๐ - ๕,๐๐๐ รูป ออกประกาศแบบธรรมทูตนี่แหละ ออกเดินประกาศปลุกใจชาวบ้านให้ตื่นตัวว่า ภัยพระพุทธศาสนามาถึงแล้ว เพราะว่า ลังกาเองเคยเข็ดหลาบและมีตัวอย่างจากการอยู่ภายใต้การปกครองของคนต่างชาติ ต่างศาสนา ซึ่งเป็นพวกถือคาทอลิกได้แก่ฝรั่งโปรตุเกส เป็นชาติแรกที่มาตีลังกา แล้วก็ฝรั่งฮอลันดาเป็นชาติที่ ๒ ตามมาด้วยอังกฤษ ฝรั่ง ๓ ชาตินี้ผลัดกันเป็นใหญ่ปกครองลังกาเกือบ ๓๐๐ ปีเต็ม ฝรั่งชาติอังกฤษน่ะยกเว้น เพราะเขาเป็นชาติที่ปกครองเมืองเมืองขึ้นดีที่สุด ปกครองอย่างสุภาพบุรุษ ไม่แตะต้องกับกิจกรรมภายในของพระศาสนา ไม่ว่าเขาจะปกครองลังกาหรือพม่า ไม่อุปถัมภ์ออกหน้า แต่ก็ไม่ได้ไปทำลายปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประชาชนจะรักษากันเองเพียงเท่านี้ก็ขอบคุณเขาแล้ว แต่ว่าโปรตุเกสกับฮอลันดานั้นได้ทำตนเป็นปฏิปักษ์ที่จะขุดรากเหง้าของพระศาสนาโดยตรง ถือว่าเป็นภารกิจอันสำคัญของพวกเขา ทำไมพวกนี้จึงมีความรู้สึกรุนแรงอย่างนั้น ขอกราบเรียนว่า ฝรั่ง ๒ ชาตินี้ ที่มาปกครองลังกา โดยเฉพาะโปรตุเกสนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก
                ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกนี้มีความรู้สึกเป็นปฏิบักษ์อย่างรุนแรงที่สุดต่อศาสนาอื่น ๆ ในโลก ไม่เฉพาะแต่พระพุทธศาสนาแม้แต่ศาสนาเดียวกัน แต่หากว่าเป็นคนละนิกาย อย่างเช่นนิกายโปรเตสแตนต์ เขาถือว่าเป็นปฎิปักษ์อย่างรุนแรง ต้องหาที่สุดต่อศาสนาอื่น ๆ ในโลก ไม่เฉพาะแต่พระพุทธศาสนาแม้แต่ศาสนาเดียวกัน แต่หากว่าเป็นคนละนิกาย อย่างเช่นนิกายโปรเตสแตนต์ เขาถือว่าเป็นปฎิปักษ์อย่างรุนแรง ต้องหาทางทำลายอย่างรุนแรง ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เราเคยได้เห็นอยู่เสมอว่า คำขวัญที่เพราะหูที่ฟังมาจากปากของนักปกครองบ้าง นักจิตวิทยาบ้าง นักเผยแพร่บ้าง ที่กล่าวว่า "ศาสนาต่าง ๆ ในโลกนี้มีจุดหมายปลายทางมุ่งความดีเหมือนกันหมด เพราะฉะนั้น ควรจะสามัคคีกัน ไม่มีอะไรติดขัดกันหรอก"
                ขอกราบเรียนตามความจริงว่า เป็นคำพูดที่ฟังเสนาะหูเท่านั้นเอง แต่เวลาปฏิบัติ เขาไม่ได้ปฏิบัติอย่างที่พูด เขาปฏิบัติอย่างหนึ่ง เช่นในวงการที่เขาประชุมกันในหมู่คาทอลิก อย่างในเมืองไทยนี้ เขาถือว่า การกำจัดพระพุทธศาสนาเป็นภารกิจอันแรกของเขา ความรู้สึกอันนี้มีมาไม่ใช่เฉพาะในปัจจุบัน แต่เป็นเรื่องนมนานกาเลมาแล้ว เป็นมาตั้งแต่ยุดรปสมัยกลาง ซึ่งคริสต์จักรในกรุงโรมเป็นใหญ่ขึ้น คริสต์จักรในกรุงดรมเป็นใหญ่ขึ้น คริสต์จักรที่ไปแพร่หลายในกรุงโรมนั้น ขั้นแรกก็เป็นการแพร่หลายในรูปที่คนต่างถิ่นต่างแดนพาเข้าไป พวกในกรุงโรมเองเขามีศาสนาประจำชาติของเขาอยู่แล้ว คือศาสนาซึ่งบูชาเทวะประจำธรรมชาติมากมายนับองค์ไม่ถ้วน พวกคาทอลิกก็ได้รับความทารุณจากรัฐบาลจากประชาชนในกรุงโรมมาก จากความทารุณนั้น ได้เรียกร้องความเห็นอกเห็นใจจากราษฎรบางส่วน ทำให้ผนึกกำลังกล้าแข็งขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งสมัยหนึ่ง จักรพรรดิกรุงโรม คือพระเจ้าคอนสแตนติน ได้กลับพระทัยมานับถือพระศาสนานี้ แล้วประกาศยกศาสนานี้ขึ้นเป็นศาสนาประจำชาติ นับแต่นั้นมา ศาสนานี้ก็ฝังรากหยั่งลึกในกรุงโรม แล้วก็แตกแยกสาขาออกไปทั่วยุดรปจากนั้นอำนาจของพระในศาสนานี้ก็แทรกซึมเข้าสู่วงการเมือง เมื่อสมัยอาณาจักรโรมันแยกออกเป็น ๒ ภาคเป็นโรมันตะวันออกและโรมันตะวันตก ราชธานีโรมันตะวันออกตั้งอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล เวลานี้เป็นเมืองอยู่ในประเทศตุรกี ฝ่ายตะวันตกยังคงอยู่ที่กรุงโรม อำนาจสันตะปาปาที่กรุงโรมได้สูงขึ้น โดยยกตัวเองว่า เป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้า มีเซนต์ปอล เป็นผู้ให้กำเนิดสำนักวาติกันเป็นแห่งแรก นโยบายของคาทอลิกนั้นไม่มีอะไรอื่นนอกจากว่าการแผ่ศาสนานี้จะต้องแผ่ไปในรูปที่จะล้างระบบประเพณีวัฒนธรรมที่มีอู่เดิมในท้องถิ่นที่ตนจะแผ่เข้าไป เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกจิตใจ ประเพณีนิยมต่าง ๆ ให้หมดคล้าย ๆกับวิธีการล้างสมองของลัทธิการเมืองในปัจจุบัน
                เพราะฉะนั้น เราจึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมคาร์ลมาร์กซจึงสามารถเขียนปรัชญาวัตถุนิยมของแก และวิธีการที่จะทำการเผยแพร่ลัทธิเศรษฐกิจการเมืองของแกได้ถ้าหากเราศึกษาระบบการเผยแพร่ของคาทอลิกในอดีตแล้ว จะเห็นว่า คาร์ลมาร์กซเลียนแบบคาทอลิกมาดี ๆ นี่เอง
                เพราะฉะนั้น เราจะไปหวังว่า พวกเหล่านี้จะมาสามัคคีกับเรา อย่าไปหวังเลย ไม่จริง ความสามัคคีที่เขาว่า เป็นแต่เพียงคำพูดที่ไพเราะหู แต่ภายในแล้ว เขาสอนให้แตก ยุให้รำตำให้รั่ว เช่นว่าศาสนิกในนิกายของเขา ที่มีเพื่อนเป็นชาวพุทธ หากเพื่อนชาวพุทธเขาจะบวช เขาจะมาถามนักบวชในศาสนาเขาว่า จะไปช่วยได้ไหม นักบวชเขาจะห้ามทีเดียวว่า "ไม่ได้นะ บาปน่ะ การเข้าโบสถ์ของคนต่างศาสนา ในโบสถ์พุทธนี้ บาป" ห้ามไม่ให้เข้าทีเดียว ความรู้สึกเช่นนี้ มันเกาะกินความรู้สึกในหัวใจทำให้ชาวไทยเราเกิดความรู้สึกแบ่งแยก คล้าย ๆ กับว่า ถ้านับถือศาสนานี้แล้ว ก็กลายเป็นอีกพวกหนึ่งหรือชาติหนึ่ง ไปอย่างนั้นแหละ ต้องรักวัฒนธรรม รักประเพณี และรักความเชื่อถือของเขาทั้งหมด จะมาถือตามประเพณีไทยไม่ได้ ชาวคาทอลิกจะรดน้ำสงกรานต์ได้ไหม ไม่ได้ ห้าม ผิด เป็นบาปทีเดียวประเพณีนี้มันเป็นประเพณีของชาวพุทธทำกัน ความจริง การรดน้ำสงกรานต์ก็ไม่ใช้เป็นประเพณีของชาวพุทธหรอก เป็นประเพณีไทย แต่เมื่อเป็นคาทอลิกแล้ว เขาก็ต้องการจะปฏิวัติไม่ให้มีอะไรเยื่อใยกับประเพณีหรือวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งเป็นแบบพุทธ ๆ เหลืออยู่ ต้องการแยกออกไปเลยทีเดียว เช่นอย่างว่าในพิธีมงคลสมรส จะทำพิธีอย่างไทย มีการรดน้ำบ่าวสาวได้ไหน ไม่ได้ บาปอีก
                เมื่อเป็นเช่นนี้ พระคุณเจ้าลองนึกดูซิครับว่า หากมีคนที่มีความรู้สึกเป็นกลุ่มก้อนชนิดนี้มาก ๆ ขึ้น ความสามัคคีของชาติซึ้งเราเรียกร้องเหลือเกิน มันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ในเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งมาคอยเป็นตัวตั้งตัวตีอยู่เสมอว่า อ้ายโน่นผิดศาสนาเขา อ้ายนี่ก็ไม่ดี สำหรับศาสนาเขา ผิดเสียหมดอย่างนี้ แม้แต่จะอ่านหนังสือธรรมะในพระพุทธศาสนา ถ้านักบวชในศาสนาเขารู้ เขาก็ตำหนิติเตียน  ในด้านนโยบายการเผยแพร่ของเขานั้น โดยอาศัยกำลังทุนมหาศาลมาก กำลังนี้บางครั้ง เราจะเห็นนักเผยแพร่ของเขาไปเที่ยวโฆษณากับประชาชนตามท้องถิ่น บอกว่า พระสงฆ์ของเรานะ ไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้แก่ประชาชน มีแต่เป็นฝ่ายเรียกเอาจากประชาชน พระสงฆ์เรานี่น่ะ ไปหาชาวบ้าน ก็เปรียบเทียบให้เห็นแล้วว่า จะเป็นคริสต์หรือเป็นพุทธดี เป็นพุทธก็ต้องควักกระเป๋าให้ออกไป เป็นคริสต์มีแต่จะรับเข้ากระเป๋า ชาวบ้านซึ่งส่วนมากก็ไม่ใช่เป็นคนที่มีการศึกษาลึกซึ้นในทางศาสนาเท่าไรนัก ความศรัทธาของชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นศรัทธาที่สืบเนื่องมาจากสายโลหิต พอถูกการโฆษณาชวนเชื่อแบบนี้ โดยการยกเอาเรื่องวัตถุซึ่งเป็นเรื่องติดอกติดใจของมนุษย์เราส่วนใหญ่นั้นมาเปรียบแทียบ มันก็เห็นชัน เห็นชัดได้ง่ายเสียด้วยว่า จริงซิ… มานับถือพุทธเข้าวัดต้องทำบุญกันเรื่อย นับถือคริสต์มีแต่จะได้รับแจกจากเขาเรื่อย รับแจกผ้านุ่งห่ม รับแจกยา ส่งลูกเรียนหนังสือไม่ต้องเสียสตางค์ มิหนำซ้ำถ้าเป็นคาทอลิกเลยทั้งครอบครัว ยังจะส่งไปเรียนถึงเนืองนอกให้อีกด้วย เห็นชัด ๆ แล้วนี่ว่า นี่แหละ พระเจ้าโปรดทันตาเห็นแล้วเป็นพุทธน่ะ สวรรค์ข้างหน้ายังมองไม่เห็น นิพพานข้างหน้าก็ยังมองไม่เห็น
                การโฆษณาแบบนี้ ในทางภาคอีสานและทางภาคเหนือใช้กันมาก ได้ผลถึงขนาดว่า ชาวบ้านเป็นหมู่บ้าน ๆ ทิ้งพระพุทธศาสนาเลย ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จังอุดรธานี ชาวบ้านทั้งหมู่บ้ายเลยครับ หมู่บ้านหนึ่งมีครอบครัวเรือนประมาณ ๔๐ ครัวเรือนเป็นคาทอลิกในวันเดียวเลย โดยการโฆษณาแบบนี้ พรุ่งขึ้น เด็กหมู่บ้านนั้นไปโรงเรียนประชาบาลถึงชั่วโมงสวดมนต์ "อรหัง สัมมา…" ไม่ยอมสวด ครูประจำชั้นถามว่าทำไมถึงไม่สวด เพราะเด็ก ๆ ทั้งหมดกว่า ๓๐ คน ไม่ยอมสวดหมด นักเรียนบอกว่า "เดี๋ยวนี้ ผมไม่ได้นับถือพุทธแล้วครับ" ครูก็ถามว่า "พวกเธอเปลี่ยนศาสนาตั้งแต่เมื่อไร" "เปลี่ยนเมื่อวานนี้เองครับ" แล้วบิดามารดา "บิดามารดาก็เปลี่ยนครับ" ได้ความว่า ได้รับการโฆษณาด้วยวิธีการแบบนี้ เด็กบอกว่า บาทหลวงมาสอนอย่างนี้ ครูต้องทำรายงานลับ แจ้งความเคลื่อนไหวของหน่วยศาสนาคริสต์ซึ่งไปตั้งป้อมในจุดต่าง ๆ ในภาคอีสานมากระทรวงศึกษาธิการ ในหมู่บ้านที่ด้อยพัฒนา และในหมู่บ้านคนจน ศาสนาคริสต์จะเข้าไปเผยแพร่ได้ผลและแพร่หลายในที่สุด
                
อันนี้ ก็เป็นจุดประสงค์อันหนึ่งที่คณะพระธรรมทูตเราจะต้องออกเดินทางไปตามชนบท ในถิ่นที่ด้อยพัฒนา จะต้องแก้ไข กระผมขอเรียนให้ทราบไว้ด้วยว่า คริสต์เขาจับจุดถูกอย่างไร เราจะแก้ปรับวาทะนั้นอย่างไร อันนี้สำคัญมาก เราจะปุพื้นฐาน เราจะสู้เขาในการโฆษณา แต่ถ้าเราไม่ตระเตรียมอาวุธ คือการโฆษณาไว้แก้เขา เราก็ต้องแพ้เขา
                
เพราะฉะนั้น กระผมก็เลยขอกราบเรียนวิธีการจะแก้ไขคำที่เขากล่าวหาพระว่า พระเป็นฝ่ายมีแต่จะเอา เขาเป็นฝ่ายมีแต่จะให้ กระผมขอเรียนพระคุณเจ้าทุก ๆ ท่านให้แก้เขาว่าพระของเราไม่มีเงินเดือนพระของเขามีเงินเดือนเป็นประจำ นักเอยแพร่เขาทุกคนมีเงินเดือนกิน จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยชาวบ้าน เพราะองค์การเขาเลี้ยงดูไว้เสร็จ พระของเขาใครสามารถกลับใจคนที่นับถือศาสนาอื่นมานับถือศาสนาเขาได้ นั่นเป็นเปอร์เซ็นต์ของเขา เงินเดือนจะเพิ่มของเขา เงินเดือนจะเพิ่มขึ้นตามส่วนเป็นความดีความชอบที่จะต้องถูกรายงานไปสู่สูนย์กลางใหญ่ของเขาที่กรุงโรม หรือศูนย์กลางคริสต์จักรในเอเชียอาคเนย์ ก็คือที่กรุงเทพฯนี่เอง แล้วก็มีการสมนาคุณ มีการเพิ่มเงินเดือนให้ อย่างนี้ พระของเขาก็พูดได้เต็มปากว่า เขาไม่ต้องพึ่งชาวบ้าน เขามีแต่ให้ชาวบ้านสิ่งที่เขาให้ชาวบ้านก็ไม่ใช่จากเงินเดือนของเขา แต่เป็นทุนกองกลางซึ่งศาสนาของเขามีสำหรับแจก ข้าวของหรือวัตถุภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งแสดงออกในรูปของโรงเรียนบ้าง โรงพยาบาลบ้าง องค์การหน่วยสงเคราะห์ต่าง ๆ บ้าน กระจายออกไป ไม่ได้เอาเงินของบาทหลวงมาใช้เลยแม้แต่เก๊เดียว
                แล้วทุนกองกลางนี้มาจากไหน เอามาจากมือของชาวคริสต์ทั้งหลายนั่นเอง ประชาชนที่เป็นคริสต์ โดยเฉพาะชาวพุทธที่กลับกลายไปเป็นคริสต์นี่แหนะ ในชั้นแรกก็เป็นฝ่ายรับจากเขา พอเป็นคริสต์แล้วก็ต้องเป็นฝ่ายสละให้เขาละ เขาโฆษณาว่า ฉันเอามาให้นะ แต่การให้ เล็งผลไกลเหลือเกิน ฉันให้แกแล้ว ต่อไปแกจะต้องให้ฉัน มากมายชั่วชีวิตของแกหรือชั่วลูกชั่วหลานชั่ววงศ์ตระกูลของแกเลยทีเดียว แกต้องเป็นฝ่ายบำรุงศาสนาของข้า เพราะฉะนั้น ถ้าจะเป็นการลงทุนในรูปการค้าแล้ว ก็เท่ากับเป็นการลงทุนเพียง ๑๐๐ บาท แต่เก็งผลกำไรตั้งหมื่นตั้งแสนเท่าในอนาคตอย่างนี้เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งถ้าเราไปพบชาวบ้านหรือราษฎรคนไหนมาตั้งข้อกล่าวหาว่า พระเราไม่มีประโยชน์ ไม่เหมือนพระเขา ไม่มีอะไรไปแจกเขา ไม่มีอะไรไปให้เขา
                เราก็สามารถที่จะชี้แจงแถลงความจริงให้เขาทราบว่า รูปการณ์ภายในเป็นอย่างนี้ อัฐยายซื้อขนมยาย แต่วิธีการที่จะทำ เขาทำอย่างแนบเนียนทำอย่างมาเหนือเมฆทีเดียว ซึ่งถ้าเรามองดูพฤติการณ์เพียงช่วงสั้น เราจะไม่รู้เท่าทัน จะรู้สึกสำนึกในบุญคุณเขาว่า แหม… เขามีบุญคุณเหลือเกิน มาสร้างโรงเรียนให้ มาสร้างโรงพยาบาลให้ มาทำอะไรให้ตั้งหลายอย่าง โดยลืมคิดว่า เขาให้เราเรียนฟรีหรือเปล่า เปล่าเลย.. เก็บแพงหูฉี่ทีเดียว โรงเรียนฝรั่งบางแห่งเก็บค่าโต๊ะเก้าอี้แพงยิ่งกว่าโรงเรียนราษฎร์ธบางแห่งเสียอีก จะเข้าทีตั้ง ๔,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ บาท บอกว่า เป็นค่าบำรุงโต๊ะเก้าอี้บ้าง อื่น ๆ บ้าง เขาก็ทำได้ เพราะอาศัยเงินทุนเหล่านี้แหละหมุนเวียน
                
ความจริง พระพุทธศาสนาเฉพาะในเมืองไทยเรา ถ้าจะทำก็ทำได้ แต่เราไม่ทำ เงินศาสนสมบัติกลางมีตั้งหลายสิบล้าน เก็บไว้เฉย ๆ ไม่ได้เอาออกมาพัฒนาให้เป็นประโยชน์ในการจรรโลงพระศาสนาเลย นี่จะไปโทษใครฝ่ายเดียวก็ไม่ได้ บางครั้งก็ต้องโทษกิจกรรมและนโยบายการเผยแพร่ที่เราก้าวไม่ทันเขา จึงเป็นฝ่ายที่ถูกเขาเขกเอา ๆ โขกเอา ๆ เราเป็นฝ่ายตั้งรับ ไม่ได้ต่อสู้เลย แม้แต่จะก้าวคืบหน้าหรือเคลื่อนไหวก็ไม่มี                 ถ้าเราสามารถเอาเงินทองของศาสนสมบัติกลางของกรมการศาสนาออกมาพัฒนาในรูปสังคมสงเคราะห์อย่างเขาทำแล้ว ก็สามารถจะสู้เขาได้เหมือนกัน ไม่ใช่สู้ไม่ได้ พระเราก็จะพ้นจากการถูกตำหนิ หรือถูกพวกเหล่านี้ถือเป็นข้อโฆษณาชวนเชื่อในหมู่ประชาชนที่มีการศึกษาไม่เพียงพอ นี้ข้อหนึ่ง
                อีกข้อหนึ่ง ก็คือ นโยบายของลัทธิที่มีต่อเมืองไทย คือศาสนาคริสต์นี้ได้กำเนิดมาหลายร้อยปีแล้ว ลัทธินี้ได้แพร่เข้าสู่เมืองไทยในแผ่นดินพระชัยราชาธิราช สมัยอยุธยา เกือบ ๔๐๐ ปีมาแล้ว โดยพวกโปรตุเกสนำเข้ามา แต่มาเป็นกิจจะลักษณะ มีโรงสวด มีวัดเป็นหลักฐาน ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในจดหมายเหตุของบาทหลวงลาลูแบร์ก็ดี ของออกญาวิชาเยนทร์ (ฟอลคอน) ก็ดี มีนโยบายกำหนดว่า จะเอาเมืองไทยนี้เป็นศูนย์กลางแพร่คาทอลิกไปทั่วเอเชีย เพราะศูนย์กลางนี้จะไปตั้งในเมืองจีนก็ไม่ได้ จีนรังเกียจลัทธินี้ เขาว่า ไปบ่อนทำลายวัฒนธรรมดั้งเดิมของเขา ไปยุยงให้คนหัวแข็งต่อรัฐบาลของเขา ไปตั้งในเมืองญวนก็ไม่ได้ ญวนไม่ต้องการลัทธินี้ ถือว่าเป็นลัทธิอุบาทว์ ไปบ่อนทำลายให้แตกสามัคคีในหมู่ชนชาติเขา ในญี่ปุ่นยิ่งไม่ได้ใหญ่ ญี่ปุ่นปิดประตูไล่เลย ไม่ยอมให้เข้าไปเลยทีเดียว นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นชื่อ ฮิเด โยชิ เมื่อทราบว่ามีพวกคาทอลิกในญี่ปุ่นถึง ๒๐๐,๐๐๐ คน ถึงกับอุทานว่า "นี่มิหมายความว่า ประเทศของข้ามีแนวหน้าถึง ๒๐๐,๐๐๐ คนเชียวรึ"
                ก็มีเมืองไทยเมืองเดียวที่อยู่ได้ เพราะเมืองไทยเป็นเมืองที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเที่ยงตรง ไม่มีการกดขี่ทารุณทางศาสนาเลย เขาก็เลยกำหนดเอาเมืองไทยเป็นจุดศูนย์กลางการขยายจักรวรรดิคาทอลิกของเขาไปทั่วภูมิภาคนี้ แล้วเขาก็ไม่สำนึกในพระคุณของพระมหากษัตริย์ไทย หรือคนไทยที่มีต่อเขา เขากำหนดนโยบายว่า จะเอาเมืองไทยนี้เป็นเมืองคาทอลิก โดยการโค่นล้มพระพุทธศาสนา แล้วก็ได้ตั้งเป็นแผนใต้ดินว่า ถ้าเมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคตแล้ว จะยกเจ้านายพระองค์หนึ่งที่เป็นคาทอลิก ชื่อ พระปีย์ ซึ่งเป็นลูกเลี้ยงของพระนารายณ์ขึ้นเป็นกษัตริย์ และถ้าเป็นอย่างนั้น พระพุทธศาสนาในเมืองไทยก็ต้องถูกกำจัด ตั้งแต่วาระนั้นทีเดียว เขาเตรียมการอย่างนั้น เรื่องนี้ปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุที่มีติดต่อกันระหว่างออกญาวิชาเยนทร์ บาทหลวงลาลูแบร์ กับพวกสังฆราชบาทหลวงที่วาติกัน และที่ฝรั่งเศส เคราะห์ดีที่ขุนนางกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีพระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์เป็นหัวหน้า ไหวตัวทัน เมื่อสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต จึงได้ทำการปฏิวัติโค่นล้มกำจัดพวกพระปีย์ และออกญาวิชาเยนทร์กับขุนนางที่ฝักใฝ่ออกไปเสีย ศาสนาของเราจึงรอดปากเหยี่ยวปากกามาได้ ไม่เช่นนั้น ป่านนี้เมืองไทยก็เป็นคาทอลิกไปหมดแล้ว เพราะเขาต้องการใช้อำนาจปกครองนี้มาเล่นงานศาสนา
                ในสมัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้เกิดกรณีคิดโค่นล้มพระศาสนา พวกนี้เวลาประกาศศาสนา เรื่องที่จะบอกว่าขอร้องอย่าให้กระทบกระทั่งกันเลย ไม่ฟังละครับ ต่อหน้าถ้ามีคนพุทธอยู่ด้วย เขาไม่ประกาศ แต่ในหมู่พวกเขา เขาพูดในทำนองว่า ให้ทำลายพระพุทธศาสนา ศาสนาพุทธจะไม่ดีอย่างไร เป็นศาสนาของพวกผีห่าซาตาน เป็นศาสนาของพวกเดียรถีย์ ไม่ดีอย่างไร ต้องกำจัดอย่างไร พูดหมด ในสมาคมของคาทอลิกแห่งหนึ่ง มีการฉายภาพยนต์เกี่ยวกับวัดพระแก้ว แล้วคนฉายก็อธิบายว่า วัดนี้เป็นวัดซาตาน รูปพระแก้วมรกตคือรูปซาตาน อธิบายถึงขนาดนี้
                คนขับรถในสมาคมนั้น เป็นคนพุทธ ฟังแล้วสลดใจ อดใจไว้ไม่ได้ มาเล่าให้ฟังว่า ทำไมอยู่เมืองไทยแท้ ๆ เขาจึงกล้าทำอย่างนี้ ฉายรูปพระแก้วมรกตแล้วอธิบายให้พวกเขาฟังว่า นี้รูปซาตาน รูปพญามาร เขาสอนกับอย่างนี้ สอนกันให้เห็นถึงว่า ศาสนาพุทธเป็นศัตรูของเขาอย่างไร และถือว่า การที่เขาสามารถกลับใจชาวพุทธให้ไปนับถือคาทอลิกได้ เป็นวีรกรรมชั้นเยี่ยมที่สุด ให้ทุกคนถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ เพราะฉะนั้น ภัยอันนี้จึงเป็นภัยที่เรียกว่า "น้ำนิ่งไหลลึก" ถ้าพวกเราไม่รู้สึก ไม่ตื่นตัว ปล่อยเลยตามเลย ก็จะเป็นเหมือนอย่างหมู่บ้านในภาคอีสานที่ได้กราบเรียนมาแล้วแน่นอน
                ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น นี่พระพุทธศาสนาหมดคนดีแล้วหรืออย่างไร ที่จะช่วยกันต่อสู้ช่วยกันรักษาพระศาสนาให้ปลอดภัยได้ เวลานี้พูดได้ง่าย ๆ ว่า เรากำลังถูกศัตรูรุมทั้งทางตรงทั้งทางอ้อม คือศัตรูที่ไม่นับถือศาสนาใด ๆ เลยพวกหนึ่ง ศัตรูที่เป็นชาวพุทธด้วยกันเองพวกหนึ่ง ที่คอยทำลายกันเอง ศัตรูประเภทนี้อันตรายมาก ประกาศตัวเองว่าเป็นชาวพุทธ และที่ว่า ที่ตำหนิติเตียนเหล่าพระสงฆ์องคเจ้าอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเป็นการติเพื่อก่อ แต่ครั้นอ่านไปพิจารณาไป ไม่มีติเพื่อก่อเลย มีแต่ตัวอย่างเลว ๆ ตัวอย่างไม่ดีออกมาประกาศให้อ่านในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่ทุกวัน ๆ
                การประกาศแบบนี้ เป็นการโฆษณาอย่างได้ผลที่สุดในทางจิตวิทยา เพราะเมื่อประชาชนได้เห็นแต่ภาพ ได้อ่านแต่ข่าวเลว ๆ ของพระอลัชชีบางรูป แล้วเอามาย้ำหน้าหงอนอยู่นั่นแหละไม่รู้จักจบสิ้น พระดี ๆ ตัวอย่างดี ๆ ไม่เอามาเสนอบ้างเลย สิบวันสิบเรื่องก็เลวทั้งสิบเรื่อง อ่านอย่างนี้บ่อย ๆ เข้า ความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระก็น้อยลง ๆ หมดไปเรื่อย ๆ คือ เวลามองพระก็เห็นว่า เอ… พระพวกนี้ลวงโลกหมดนี่ อลัชชีทั้งนั้น เพราะข่าวที่อ่านเป็นปี ๆ มีแต่เรื่องพระอลัชชีทั้งนั้น ไม่มีพระลัชชีโผล่มาสักรายหนึ่ง มีข่าวพระอลัชชีบ้าง พระเห็นแก่ตัวบ้าง พระจับสีกาบ้าง เป็นคุณมหาในวัดมาจับสีกาในบ้านบ้าง พระจะเอาโรงเรียนในวัดคืนจากรัฐบาลบ้าง จะให้เจ๊กปลูกตึกให้เช่า เรียกเอาแป๊ะเจี๊ยะบ้างเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่ทุกวัน ๆ และอ้างว่าการกระทำอย่างนี้เป็นการติเพื่อก่อ
                การติเพื่อก่อต้องมีตัวอย่าง ๒ ตัวอย่าง คือ ตัวอย่างพระที่ไม่ดี แล้วต้องมีตัวอย่างพระที่ดีมาเป็นเครื่องเสนอด้วย จะได้รู้ว่าพระไม่ดีเป็นอย่างไร พระดีเป็นอย่างไร ผู้อ่านจะได้ถือเอาพระดีมาไว้เป็นเนตติแบบแผน สำหรับเคารพกราบไหว้ นี่ไม่อย่างนั้น จึงปรากฏว่า บางบ้านเคยใส่บาตรพระทุกวัน เลิกใส่บาตร เพราะไม่แน่ใจว่า พระที่มารับบาตรเป็นพระดีหรือไม่ดี เลยทำให้พระดีพลอยอดไปด้วย นี่พฤติกรรมที่ชาวพุทธช่วยกันทำ เป็นการช่วยพวกที่มาบ่อยทำลายอีกทีหนึ่ง เวลานี้พวกที่คิดจะทำลายพระพุทธศาสนานอนหัวเราเอิ๊กอ๊ากชอบอกชอบใจ บอกว่า เราไม่ต้องไปลงทุนละ เขากำลังโค่นกันเอง หักล้างกันเอง ฆ่ากันเองแล้ว เราไม่ต้องไปวิ่งเต้นติดสินบาทคาดสินบนอะไรแล้ว เราสบายแล้ว ดีแท้ อย่างนี้ก็มี
                หากว่า ทางการคณะสงฆ์เรายังมองไม่เห็นภัย ยังมัวประมาท ปล่อยให้เหตุการณ์อย่างนี้เป็นไปเรื่อย ๆ ไม่หาวิธีการที่จะจัดการให้มันเด็ดขาดลงไป ในอนาคตข้างหน้านี้ จะมีคนนับถือพระน้อยลงทุกวัน ๆ เด็กรุ่นใหม่จะไม่นับถือพระ ผู้ใหญ่ไม่พูดถึงกันละครับ เมื่อ ๒-๓ วันที่แล้ว ผมผ่านไปทางสี่แยก เอส เอ บี เห็นเด็กหนุ่มกลุ่มหนึ่งท่าทางเป็นนักเรียน กำลังยืนรอรถเมล์อยู่ พอเขาเห็นพระ ๓ รูปจะขึ้นรถเมล์ด้วย ก็หัวเราะแล้วก็พูดว่า "เฮ้ย ดูซิ พวกจิ้งเหลืองมาตั้ง ๓ จิ้งแน่ะ" ว่ากันอย่างนี้ ฟังแล้วสลดใจ ตกใจ แรงโฆษณาหนังสือพิมพ์ทำให้คำว่า "จิ้งเหลือง" นั้น กลายมาเป็นคำที่ใช้เรียกสรรพนามแทนพระไปได้ นี่เป็นการติเพื่อก่อเพื่อช่วยทะนุถนอมพระพุทธศาสนา กำจัดอลัชชี หรือว่าเป็นการช่วยกันทำลายพระศาสนา
                เพราะฉะนั้น เมื่อภัยต่าง ๆ ประมวลกันมา ๓ ด้าน คือ
                                -ภัยจากคนไม่มีศาสนา ไม่นับถือศาสนา
                                -ภัยจากพวกที่นับถือศาสนาอื่น
                                -ภัยเกิดจากพวกเดียวกันเอง
                อย่างนี้ ถ้าหากเราไม่ตื่นตัวกัน ไม่ช่วยกันไปกล่าวชี้แจงให้ประชาชนตามท้องถิ่นที่ไกลหูไกลตาให้ทราบข้อเท็จจริง ให้เขาเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว ก็น่ากลัวว่ารากฐานพระพุทธศาสนาจะยิ่งคลอนแคลนลงทุกวัน ๆ เวลานี้ ถ้าจะเปรียบพระศาสนาของเราก็เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ แม้จะมีรากหยั่งลึกตราบเวลาที่ไทยเรานับถือมา คิดเสียว่า เริ่มแต่สมัยสุโขทัย ก็กว่า ๗๐๐ ปีแล้ว แต่เดี๋ยวนี้ กำลังถูกขุดถอนไปวันละเล็กละน้อย ถึงจะเป็นต้นไม้ใหญ่ ก็ใหญ่แต่ต้น ข้างนอกก็ดูกิ่งก้านสาขาปกแผ่ดี แต่ว่าข้างในนั้นกำลังกลวง ถูกหนอนเจาะไชกินแก่นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน โดยที่เราไม่รู้สึกกัน เรามัวแต่ภูมิใจว่าปริมาณนักธรรมปีหนึ่งมีเป็นแสน ๆ ปริมาณเปรียญปีหนึ่งมีเป็นหลายพัน สำนักเรียนนักธรรม บาลีมีเป็น ๔ - ๕ พันแห่ง มัวแต่ภูมิใจอย่างนี้ ไม่ช้าประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ จะมาเกิดกับเราอีก
                เพราะฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ที่ทั้งพระทั้งคฤหัสถ์จะต้องช่วยกัน คือพระ เมื่อเราเป็นพระธรรมทูตจาริกไป เราต้องช่วยกันปลุกใจชาวบ้าน เราจะอ้างว่า พระพุทธศาสนาไม่ต้องปลุกใจ ไม่ต้องโฆษณา ของดีแล้วจะต้องให้เขาเห็นเอง อย่างนี้ไม่ได้ พระพุทธองค์เองยังต้องอาศัยการโฆษณา ถ้าไม่โฆษณา ตรัสรู้แล้วนั่งเฉย ๆ ใต้ต้นโพธิ์ บอกว่า…นี่นะ…ของดี เวไนยสัตว์ใครอยากรู้ก็มาหาเราตถาคตเองซิ…ป่านนี้ พระพุทธศาสนาเจ๊งไปนานแล้ว ศาสนาพุทธตั้งไม่ได้หรอก นี่ก็เพราะว่าพระบรมศาสดาของเราต้องลงทุนออกจาริกโฆษณา แนะนำพระองค์เองว่า บัดนี้ ตถาคตเป็นพระอรหันต์แล้ว รู้แจ้งโลกแล้ว ที่พูดอย่างนี้ บางคนหาว่า ทำไมพระพุทธเจ้ามาเชียร์ตัวเอง สดุดีตัวเองว่าเป็นพระอรหันต์อย่าง "อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ" เป็นต้น พระคุณอย่างนี้ต้องรอให้ผู้นับถือเขาสดุดีซิ หารู้ไม่ว่า นั่นเป็นวิธีการโฆษณา เพราะว่าพระอรหันต์ในอินเดียมีเยอะแยะ ถ้าหากพระศาสดาไม่แนะนำพระองค์เองบ้าง ก็ไม่เรียกร้องความสนใจของคนที่จะมาฟัง พระองค์จึงต้องแนะนำตัวเองก่อน อย่างนี้ทำให้คนเกิดความรู้สึกสนใจว่า ฟังธรรมของพระอรหันต์องค์นี้หน่อยซิว่า จะดีแค่ไหน จึงตั้งโสตสดับรับพระสัทธรรมต่อไป ไม่ใช่สดุดียกย่องตัวเอง แต่เป็นวิธีการโฆษณา จำเป็นต้องใช้ในการเผยแผ่พระศาสนา เพราะฉะนั้น นโยบายอันดับแรก เราต้องใช้วิธีการโฆษณาทำนองปลุกใจ ปลุกใจราษฎรที่เราไปหา คือต้องพูดให้เห็นว่า ของดีของเรามีอะไรบ้าง พระพุทธศาสนาเป็นมรดกสำคัญของไทยอย่างไร บรรพบุรุษของเราได้อุตส่าห์รักษากันมาอย่างไร ให้เขาเห็นความสำคัญก่อน อันดับต่อไป ก็ชี้ให้เห็นว่า เวลานี้มีภัยมาแล้วนะ….จะมาทำลายมรดกอันนี้ของเขา ภัยอันนี้ได้แก่อะไรบ้าง ชี้แจงให้เขาฟัง อย่าให้เขาหลงผิด เชื่อคำโฆษณาชวนเชื่อ อย่างถ้าหากพวกคาทอลิกมาโฆษณาอย่างโน้นอย่างนี้ เราจะต้องแก้เขาเช่นนี้ ๆ ถ้าเราไปบอกให้เขารู้ล่วงหน้าก่อน ราษฎรก็จะบอกว่า อ้อ ข้ารู้แล้ว เอ็งจะมาวิธีการแบบนี้ ๆ กะข้า….. ความรู้สึกต่อสู้มันจะเกิดขึ้นมาทีเดียว ไม่รับฟังละตอนนี้ ทำนองว่า ใครพูดก่อน คนนั้นมีภาษีดีกว่าคนพูดทีหลัง คล้าย ๆ ว่า เรามีเรื่องราวเกิดขึ้น ถ้าใครไปพูดก่อนไปทูลก่อน ก็มีภาษีดีกว่าคนทูลทีหลัง เพราะคนเรารับฟังก่อน ก็รับมาไว้ในจิตใต้สำนึกก่อนแล้ว แม้คนมาทีหลังจะมีเหตุผลเหนือกว่า มีข้ออ้างดีกว่า แต่บางทีก็สายไป เพราะเขารับฟังคนแรกก่อนแล้ว เหตุผลคนแรกมาหว่านล้อมไว้ เรียกว่า "ปูพื้น" ไว้ดีแล้ว
                 วิธีการอย่างนี้เกิดกับชาวบ้านเป็นเรื่องธรรมดา เรื่องทะเลาะเบาะแว้ง ใส่ความกัน ติฉินนินทากัน ก็ยังใช้ได้ผลฉันใด การประกาศพระศาสนาก็ดี การต่อสู้ป้องกันในด้านพระศาสนาก็ดี เชื่อว่ายังใช้ได้ผลฉันนั้นเหมือนกัน เราต้องไปพูดให้ชาวบ้านเขารู้ตัวก่อน โดยถามเขาก่อนว่า…"โยม…หมู่บ้านนี้ เคยมีฝรั่งมังค่า องค์การศาสนาคริสต์มาเผยแผ่บ้างไหม" ถ้าบอกว่า "ไม่มี" เราก็ว่า "โยม…อีกไม่ช้าก็คงจะมี…เวลานี้ที่อื่นเขาก็มีกันแล้ว พวกนี้เขาจะมาโดยวิธีการอย่างนี้ คือจะเอาเงินทอง หยูกยา เสื้อผ้ามาแจก แล้วก็จะโฆษณาว่า พระเราไม่มีประโยชน์อย่างนั้นอย่างนี้" บอกให้เขาฟังตามข้อเท็จจริงว่า ข้าวของเงินทองพวกนั้น เขาไม่ได้เอามาแจกด้วยความเมตตาจริง ๆ แต่เขาต้องการมาทำลายมรดกของเรา แล้วก็ทำลายสถาบันอันศักดิ์สิทธิ์คือพระพุทธศาสนาของเรา พระสงฆ์ของเราไม่ได้เอาเปรียบสังคมอย่างที่เขาโจมตี แต่พระเราไม่มีเงินเดือนกิน ถ้าเขาสามารถกลับใจคนได้แม้คนหนึ่ง ก็เป็นเปอร์เซ็นต์ความดีความชอบ เมื่อสิ้นปีแล้ว องค์การจะขึ้นเงินเดือนให้เขา แต่พระของเราไม่มีใครขึ้นเงินเดือนให้ ขอโยมจงรับรู้ข้อเท็จจริงไว้ก่อน
พอเขารับฟังข้อเท็จจริงจากเราแล้ว ถ้ามีพวกกลุ่มแผ่ศาสนามาจริง ๆ ราษฎรจะได้รู้ว่า "โอ..อุบายของแก ข้ารู้หมดแล้ว จะมาในรูปใด ๆ ไม่สำเร็จ เอาเราไปนับถือไม่ได้เด็ดขาด ที่จะให้โอนอ่อนผ่อนตามไปด้วย ไม่มีหวัง" เราเอาเหตุผลมาตีแผ่ไว้ให้หมด ป้องกันไว้ด้วยวิธีนี้ก่อน แล้วจึงดำเนินในขั้นต่อไป คือต้องพูดปลุกใจ เร้าใจถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาว่า พระพุทธศาสนาของเราดีอย่างไร หากในกลุ่มชนที่มีการศึกษา เช่น ครูหรือนักเรียน ต้องพูดเปรียบเทียบให้เขาเห็นว่า พระพุทธศาสนาของเราแพร่หลายในยุโรปและอเมริกา ให้สถิติชาวพุทธในยุโรป อเมริกา ให้เขาดูว่า ขณะนี้มีฝรั่งอเมริกันนับถือพระพุทธศาสนาประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน วัดทางพระพุทธศาสนาในอเมริกามีประมาณ ๑๒๐ วัด ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในอเมริกาอยู่ที่เมืองฮอนโนลูลู เกาะฮาวาย นี่เป็นคำโฆษณา อันนี้สำคัญมาก เมื่อเขาโฆษณา เราก็ต้องโฆษณา เพราะการต่อสู้ด้วยการโฆษณาสำคัญมากทีเดียว ส่วนในยุโรป ในประเทศอังกฤษมีชาวพุทธ ๒๐๐,๐๐๐ คน เยอรมนีนั้นมี ๒๐,๐๐๐ คน เบลเยี่ยม ๔,๐๐๐ คน นอกนั้นก็มีชาวพุทธและพุทธสมาคมบ้างประปราย เช่น ประเทศเดนมาร์ก สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ล้วนแต่มีสำนักพระพุทธศาสนาในประเทศเหล่านั้นทั้งนั้น
เราต้องโฆษณาอีกว่า ดูซิโยม พวกฝรั่งที่มาเผยแผ่ศาสนา เขาต้องมาสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน ด้วยทุนทรัพย์เป็นอันมาก ใช้อามิสเข้ามาเกลี้ยกล่อมให้เราหลงนับถือเขา เขาเอาโรงเรียน โรงพยาบาลเป็นสะพานถึงพวกเราเข้าไป แปลว่า เขาต้องลงทุนมากใช่ไหม? ถ้าศาสนาเขาดีจริง ทำไมจึงต้องอาศัยอามิสพวกนี้เป็นเครื่องมือ แต่ศาสนาพุทธของเราไม่มีเลย ศาสนาพุทธของเราไม่เคยที่จะไปตั้งโรงพยาบาลสักแห่งหนึ่งในยุโรป ในอเมริกาก็ไม่มี ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้อาศัยอามิสเป็นเครื่องล่ออย่างนั้น เรายังสามารถเอาฝรั่งมาเป็นชาวพุทธได้เป็นจำนวนหมื่น ๆ แสน ๆ เหตุผลเพียงเท่านี้ก็ตัดสินได้แล้วว่า ศาสนาใครจะดีกว่ากัน ในขณะนี้ โยมกำลังจะนับถือศาสนาที่ฝรั่งเขาทิ้งแล้วนะ จะบอกให้ ในปัจจุบันนี้ พวกฝรั่งมีนักปราชญ์ทรงวิชาความรู้กำลังทิ้งศาสนาของเขามาเรื่อย ๆ แล้วโยมยังจะไปนับถือศาสนาที่เขาทิ้งแล้วได้อย่างไร นี่เขาหลอกเรานะ..เขาไม่สามารถจะเผยแผ่ในประเทศของเขาได้แล้ว เขาถึงได้เอามาเผยแผ่ในเมืองเรา เขาเอาเดนมาให้เรา โยมจะยอมรับเดนเขาหรือ ต้องพูดกับโยมอย่างนั้น จะมัวไปเกรงใจไม่ได้หรอก อย่าถือว่า อนูปวาโท อนูปฆาโต ไม่ได้ นี่เราไม่จำเป็นต้องไปเบียดเบียนเขา แต่เราพูดตามข้อเท็จจริง เพราะความจริงเป็นอย่างนั้น ถ้าเราไม่โฆษณาแบบนี้ เราแพ้เขาแน่ เขาโฆษณาว่า พระสงฆ์เราเอาเปรียบสังคม มีแต่จะเอาจากชาวบ้าน ตั้งหน้าแต่จะเรี่ยไร สร้างโบสถ์ สร้างวิหาร สร้างศาลา มีแต่จะเอาถ่ายเดียว ไม่มีให้ เขาโจมตีเราอย่างนั้น เราก็ต้องแก้เขาไปบ้าง
                พระอรหันต์ในครั้งพุทธกาลท่านรู้จักแก้ปรัมปวาทะ แม้พระพุทธเจ้าเองก็ยังตรัสว่า พระเถระที่จะเป็นนาถะแก่สหธรรมิกได้นั้น ต้องมีองค์คุณอยู่ข้อหนึ่ง คือเป็นผู้รู้จักปรับวาทะ อันเป็นวาทะของพาหิรชน ซึ่งมาตั้งข้อหาในพระพุทธศาสนา ถ้าแก้ปรับวาทะไม่ได้ ก็เท่ากับยอมให้เขาฆ่าโดยไม่มีการต่อสู้เลย เราจึงต้องเน้นให้เห็นว่า ศาสนาพุทธเรานี้ ถ้าไปพูดกับชาวนา อาจไม่รู้สึกนี่ว่า ถึงพูดกับคนมีการศึกษา มีครูประชาบาล ครูประจำจังหวัด หรือนักเรียน เป็นต้น พูดให้เห็นความสำคัญว่า เวลานี้ พวกนักวิทยาศาสตร์ นักปราชญ์ในยุโรปเขากำลังทิ้งศาสนาของเขาเรื่อย ๆ มานับถือศาสนาพุทธ แต่ของเรากำลังทิ้งศาสนาพุทธไปนับถือศาสนาที่เขาทิ้งแล้ว มันเรื่องอะไรกัน การพูดอย่างนี้ ได้ผลทางจิตวิทยา คือเกิดความรู้สึกว่า เออ..จริงซิ พระพุทธศาสนาของเราเป็นของมีค่ามาก เราจะไปนับถือของที่เขาทิ้งแล้วทำไม คนเรามักอยากได้ของดี ๆ ไม่อยากได้ของเลวใช่ไหม
                พอพูดอย่างนี้แล้ว ก็เกิดความประทับใจว่า จริง…ศาสนาพุทธของเรามีค่ายิ่ง เราทิ้งไม่ได้ นี่เป็นการสอนให้รู้จักรักษาคุณค่าศาสนาทางอ้อม ปลุกใจให้รู้ซึ้งถึงความสำคัญของพระศาสนา การพูดให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาเจริญในยุโรปและอเมริกา ผมเองเคยทำมาแล้วหลายครั้ง เช่น อบรมตามโรงเรียนต่าง ๆ นับว่าได้ผลมาก พอพูดถึงความเจริญของพระพุทธศาสนาในยุโรปและอเมริกา นักเรียนที่ไม่เคยเลื่อมใสพระพุทธศาสนาหรือไม่เคยสนใจมาก่อน เกิดความสนใจขึ้นทันที เพราะพูดง่าย ๆ ว่า คนเอเชียเรา หรือคนไทยเรา ส่วนใหญ่ยังตื่นวัฒนธรรมตะวันตก เห็นอะไร ๆ ของฝรั่งมันจะดีไปเสียหมด บัดนี้พอรู้ว่า ฝรั่งมานับถือพระพุทธเจ้า ก็นึกว่า…เออ…การนับถือพระพุทธศาสนานี่เป็นของโก้ซิ…ถ้าไม่โก้แล้ว ฝรั่งซึ่งเป็นเจ้าของวัฒนธรรมโก้ ๆ เขาจะมานับถือศาสนาของเราทำไม เพราะฉะนั้น จึงหันมาสนใจศึกษาตำรับตำราทางพุทธศาสนาก็มี ได้ผลเหมือนกัน นี่เป็นวิธีการที่ ๒
                ส่วนวิธีการที่ ๓ เราเล่าประวัติของศาสนาที่คู่กับชาติไทยมาอย่างแยกจากกันไม่ออก ฝากผีฝากไข้กันมานานแล้ว ไม่เคยพรากจากกันเลย ต้องยกประวัติศาสตร์ว่า คนไทยเรานับถือศาสนาพุทธมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๖๐๐ แล้ว นับถือมาตั้งแต่คนไทยเรายังอยู่ในเมืองจีน ตั้งเกือบ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว แต่มานับถือพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทเมื่อสมัยสุโขทัย ตามแบบลังกาวงศ์ เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนากับชาติไทย จึงแยกออกจากกันไม่ได้ ข้อสำคัญที่สุด ถ้าเรารักชาติ เราก็ต้องรักพระพุทธศาสนาด้วย ต้องใส่ความรู้สึกชาตินิยมเข้าไป อย่าไปเชื่อคำพูดที่ว่า "ชาติไทยกบพระพุทธศาสนาแยกจากกันได้ ไม่จำเป็นต้องคู่กัน ชาติไทยส่วนชาติไทย ศาสนาส่วนศาสนา" อย่าไปเชื่อคำยุยงอย่างนั้น ถ้าขืนไปเชื่อตามนั้นละก็ไม่ช้าสถิติชาวพุทธในเมืองไทยจะลดลงอีกอย่างน่าใจหาย เราต้องบอกว่า ชาติไทยนี้ ไม่เคยแยกจากพระพุทธศาสนาเลย นี่เป็นข้อเท็จจริง ในประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณ เมื่อเวลาทำสงครามก็ต้องอ้างว่าเป็นการทำสงครามเพื่อป้องกันพระพุทธศาสนา เพื่อความสุขของสมณชีพราหมณ์ นี่คือคำประกาศที่พระมหากษัตริย์นักรบโบราณพูดเป็นประจำอยู่แล้ว เป็นการยืนยันให้เห็นว่า ชาติไทยกับศาสนาพุทธแยกจากกันไม่ได้ ต้องเอาเป็นเครื่องอ้างว่า ถ้าเป็นคนไทยแล้ว ต้องนับถือศาสนาพุทธ ข้อนี้สำคัญมาก เพราะคนเรามีส่วนชาตินิยมอยู่ พอมีความรู้สึกรักชาติแล้ว ก็กระทบถึงพระพุทธศาสนาด้วย ไม่อยากให้พระพุทธศาสนาต้องมีอันวิบัติและถูกทำลายไป ต้องสร้างความรู้สึกปลูกชาตินิยม โดยอาศัยเอาพระพุทธศาสนานี้สอดแทรกเข้าไป ให้เห็นข้อเท็จจริงว่า เป็นอย่างไร
                วิธีการอันดับต่อมา นอกจากปูพื้นฐานอย่างนี้แล้ว เราต้องสอนให้เห็นว่า จุดเด่นของพระพุทธศาสนามีอะไรบ้าง เวลานี้ วิทยาศาสตร์กำลังเจริญ เราอาจเปรียบได้ว่า ความเจริญแง่คิดต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์ยังก้าวหน้าไม่ทันพระพุทธศาสนา ยังตามไม่ทันพระพุทธศาสนา แสดงว่า พระพุทธศาสนานี่สมบูรณ์แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมอะไรอีก แต่ทางโลกนี้ จะต้องแก้ไขอนุโลมตามศาสนาพุทธเรา เราจึงควรภูมิใจว่า เรามีศาสนาที่ดีแล้ว ขอนี้ต้องย้ำให้จงหนัก เพราะว่าศาสนาอื่นเขาย้ำว่า พระพุทธเจ้าของเราไม่ใช่ "ก๊อด" (God - พระเจ้า) มีฐานะเป็นมนุษย์ ต้องรู้จักเกิดแก่เจ็บตาย ไม่น่าอัศจรรย์อะไร เป็นเพียงนักปราชญ์คนหนึ่งเท่านั้น ศาสนาพุทธก็ไม่ใช่เป็นรีลิเยน (religion - ศาสนา) เป็นเพียงปรัชญาสาขาหนึ่ง เราจะแก้ปรับวาทาของเขาอย่างนี้ก็ต้องอ้างให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าของเราจะเป็นก๊อดหรือไม่ เราวัดกันด้วยกิเลส ถ้าก๊อดยังมีโลภ โกรธ หลง อยู่ละก็ ก๊อดนั้นยังใช้ไม่ได้ เพราะมีกิเลสเท่ากับมนุษย์สามัญคนหนึ่ง รู้จักโลภ โกรธ หลง เหมือนกัน เอากันง่าย ๆ ไม่ต้องอธิบายหลักธรรมลึกซึ้งอะไร เพราะชาวบ้านส่วนมากก็ไม่มีความรู้ลึกซึ้งนัก พูดกันง่าย ๆ ว่า โยม เอากันอย่างนี้ดีกว่า ว่าก๊อดมีโลภ โกรธ หลง ดีหรือไม่ดี กับคนที่ไม่มีโลภ โกรธ หลงนะ ใครจะสูงกว่าในด้านคุณธรรมทางจิตใจ วัดกันแค่นี้ก็พอ เราต้องเปรียบเทียบให้เห็นว่า ชาติภูมิของพระพุทธเจ้านั้นบริสุทธิ์ ไม่มีด้วงแมลง ในชีวประวัติที่ทำให้ชวนสงสัย ต้องยกพุทธประวัติในเรื่องชาติภูมิให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าของเรา ไม่ได้ถูกใครประหารตาย ไม่ต้องตั้งกองทัพเพื่อป้องกันตัว ไม่ต้องกลัว อยู่ไหนอยู่ได้ คนเดียวก็อยู่ได้ในป่า ไม่มีใครทำร้ายได้ เพราะฉะนั้น เราจึงกราบไหว้คนที่พ้นจากความกลัว พ้นจากคนทำร้ายได้สนิทใจกว่าคนที่ยังกลัวคนทำร้าย ยังต้องตั้งกองทัพเพื่อรักษาตัวเอง อย่างในบางศาสนามีกัน แต่เราไม่จำเป็นที่จะต้องออกชื่อศาสนานั้น ๆ คือพูดเป็นกลาง ๆ เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า เป็นการยกฐานะของพระพุทธเจ้าให้เด่น เรียกร้องความจงรักภักดีในพระพุทธองค์ให้มาก ๆ เทคนิคอันหนึ่งในศาสนาที่เขามีพระเจ้า เขาเรียกร้องศรัทธา ความภักดีในพระเจ้าของเขา วิธีการอันนี้ เราต้องเลียนแบบเขาได้ ความจริงก็ไม่ใช่เป็นวิธีใหม่ ที่แท้ก็เป็นคุณสมบัติของชาวพุทธเรานั่นเอง คือข้อหนึ่งที่เรียก ตถาคตโพธิสัทธา แต่ว่า เรามองข้ามจุดความสำคัญในเรื่องตถาคตโพธิสัทธา เราจึงปล่อยเลยตามเลย ชาวพุทธทุกวันนี้ จึงไม่ค่อยมีความรู้สึกผูกพันกับองค์พระบรมศาสดาเท่าไร เพราะรู้สึกคล้าย ๆ ว่า จะอยู่กันคนละโลก พระพุทธเจ้าท่านนิพพานแล้ว เหมือนห่างเหินจากเราไปอย่างนั้นแหละ เราต้องปลูกตถาคตโพธิสัทธา ให้เขารู้สึกว่า พระพุทธเจ้าคล้าย ๆ ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ เขาจะได้มีความรักหวงแหน และพร้อมจะถวายความจงรักภักดีในพระองค์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เมื่อเราให้เขาปฏิญาณตัวเป็นชาวพุทธ มอบพุทธมามกบัตรให้เขาแล้ว ก็เลยถือโอกาสปลุกใจให้เกิดตถาคตโพธิสัทธาด้วย ปลุกใจให้เขาเห็นด้วยว่า พระพุทธเจ้าของเราน่ะดีอย่างไร เป็นที่พึ่งของเราได้อย่างไร วิเศษกว่าศาสดาอื่นอย่างไร แจงให้เขาฟังให้หมด แล้วบอกว่า คนอย่างนี้ ถ้าเราไม่เคารพเรายังจะหาใครในโลกนี้ที่จะมีคุณสมบัติอย่างนี้ คือ ควรแก่การกราบไหว้ ควรแก่การเคารพได้ วิธีการพูด อย่าพูดข้างเดียว ต้องให้โยมตอบด้วยว่า ใช่ไหม ไหนโยมตอบซิ อาตมาพูดอย่างนี้ถูกไหม นิมนต์อย่าพูดข้างเดียว การเทศน์ถ้าพูดข้างเดียวไม่ได้ผลครับ ไม่ได้ผล ชาวบ้านจะรู้สึกว่ามาฟังเทศน์กันอย่างธรรมดา มาฟังข้างเดียวไม่รู้สึกว่ามีความสัมพันธ์ในส่วนตัวเราผู้เทศน์เลย ต้องทำในรูปของการโฆษณา แล้วก็ปล่อยให้แกตอบเล่น เราตั้งปัญหาถามว่า "โยมรู้ไหมว่า พระพุทธเจ้าของเรารู้ว่าโลกแบนหรือโลกกลม" ถ้าโยมตอบว่า โลกกลม โลกนี้กลมไม่ใช่ฝรั่งมังค่าพูด พระพุทธเจ้าของเราว่ามาตั้ง ๒๐๐๐ ปีกว่าแล้ว อัศจรรย์ไหมว่า พระพุทธเจ้ารู้ได้อย่างไร ตั้งสองพันกว่าปี ต้องตั้งปัญหาให้เขาตอบ ถ้าโยมบอกว่า แปลกจริง ๆ ก็บอกว่า นั่นนะซิ ที่แปลกอย่างนี้ เรียกว่าเพราะปัญญาคุณ อันนี้ เรามีพระศาสดาที่มีปัญญาคุณ จึงก้าวหน้าล้ำวิทยาศาสตร์อย่างนี้ โยมรู้สึกภูมิใจไหม ถามอย่างนี้ ต้องให้แกตอบว่า ภูมิใจครับ ภูมิใจมาก บอกว่า เออ…ภูมิใจก็ดีแล้วโยม พอสรุปท้ายว่า เอาละ โยมภูมิใจก็ดีแล้ว คราวนี้อาตมาจะขอชักชวนโยมให้สดุดีพระพุทธคุณ เอ้า…ตั้ง นโม พร้อม ๆ กัน ว่า อิติปิ โส ภควา ไปจนจบ แล้วแปลความให้ฟังเลย
                วิธีการอย่างนี้ รับรองว่า ได้รับผล ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แน่ วิธีการแบบนี้เรียกว่า การแผ่พระศาสนาแบบเบสิก ต้องให้ตั้งเป็นคำถาม คำตอบ แต่อย่าตั้งปัญหาแบบชนิดไล่ภูมิ ไม่ได้เชียว อย่าตั้งคำถามที่แกจะตอบไม่ได้ ต้องเป็นคำถามที่แกจะตอบได้ ให้แกตอบในทำนองว่า เห็นด้วย ๆ ดังที่ผมได้ยกตัวอย่างมานี้ บอกว่า พระพุทธเจ้าของเราน่ะ มีปัญญาล้ำหน้านักวิทยาศาสตร์ถึงขนาดนี้ เราควรจะภูมิใจไหมล่ะ ให้แกตอบว่า ภูมิใจ เมื่อภูมิใจแล้วก็คิดดูซิว่า เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว คนอย่างพระพุทธเจ้ายังสามารถทำได้อย่างนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังก้าวหน้าตามพระองค์ไม่ทันเลย พระองค์เป็นผู้หมดโลภ โกรธ หลง แล้ว กับพระเจ้าที่ยังมีโลภโกรธหลง ใครจะประเสริฐกว่ากันล่ะโยม ให้แกตอบปัญหาเองได้ คำตอบเหล่านั้นต้องเป็นคำตอบสนับสนุนต่อตถาคตโพธิสัทธาให้มาก ๆ คนเรามักจะติดบุคคล การที่พระพุทธศาสนาสามารถแพร่หลายไปได้ไกลในครั้งพุทธกาล ก็อาศัยบุคลิกของพระพุทธเจ้าเป็นส่วนใหญ่
                ฉะนั้น ศาสนาที่มีก๊อดแพร่หลายไปได้มาก เพราะติดเรื่องบุคคล ศาสนิกชนในศาสนานั้น มีความรู้สึกอบอุ่นใจว่า เขามีผู้ศักดิ์สิทธิ์ฟังคำอ้อนวอน คำระบายทุกข์จากดวงใจของเขา เราต้องสร้างความรู้สึกประทับใจในหมู่ชาวพุทธที่เราจะไปงานธรรมทูตอย่างนี้ บอกว่า โยม เวลามีทุกข์โศกโรคภัยให้นึกถึงพระพุทธเจ้าเอาไว้ นึกถึงพุทธคุณเอาไว้ ก็แล้วกัน สวดพุทธคุณเสมอ ๆ ทีแรกเราต้องว่าให้ฟังก่อน เมื่อโยมนึกถึงพุทธคุณแล้ว ความทุกข์ทางใจนั้นจะผ่อนคลายไป ต้องสอนโดยทำนองให้เกิดศรัทธา เกิดความจงรักภักดีในพระองค์ให้มาก ๆ แม้ถึงคราวจะตายก็ตายเป็นสุข ถึงตายไปแล้วก็ยังไปสู่สุคติเป็นเครื่องตอบแทน
                เพราะฉะนั้น จึงยึดพุทธคุณเป็นอารมณ์ อย่างอื่นไม่ต้องพูด เราพูดเรื่องนี้ให้มาก คือเรื่องตถาคตโพธิสัทธา เมื่อเขาแสดงตนเป็นพุทธมามกะแล้ว เราก็แจกพุทธมามกบัตรให้แก่เขา อธิบายเร่องนี้ โดยตั้งเป็นประเด็นให้เขาตอบ ให้เขาซักอย่างนี้ จนเกิดความเลื่อมใสมาก ๆ เข้า เพราะความเลื่อมใสมาก ๆ ก็จะเป็นผลดี เราจึงสรุปผลทีเดียวว่า เอาละ วันนี้ อาตมามาเยี่ยมในวันนี้ เพียงเท่านี้ จะไปหมู่บ้านอื่นอีก ต่อไปวันหน้าจะมาใหม่ อาจพบกันอีก ถึงแม้อาตมาไม่ได้มาพบปะกับโยม พระสงฆ์องค์เจ้าก็ยังมีอยู่ในตำบลนี้ ให้หมั่นเข้าวัดฟังเทศน์ ฟังธรรม อย่าลืมว่า ถ้าโยมไม่ทิ้งพระ พระก็ไม่ทิ้งโยม พระจะอยู่กับโยมทุกวิถีก้าวชีวิตของโยมจะมีความอบอุ่นรุ่งเรืองขึ้น ก็เพราะอาศัยพระ และเมื่อโยมอยู่กับพระแล้ว พระก็จะอยู่กับโยมตลอดไป อันนี้ต้องพยายามพูดให้มาก จะได้ปลูก "อีโมชั่น" (emotion) คือเร้าอารมณ์ให้เกิดความรู้สึกเข้าไปผูกมั่นในพระตถาคต ให้นึกว่า ถึงจะตกทุกข์ได้ยากสักแค่ไหนก็ยังมีพระเป็นที่พึ่ง ต้องสอนในเรื่องตถาคตโพธิสัทธา ให้มากสำหรับชาวบ้านธรรมดา ๆ ทั่ว ๆ ไป เรายังไม่จำเป็นต้องวิจัยเอาธรรมะชั้นสูงอะไรมาสั่งสอนเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง อริยสัจ ๔ ตามความเห็นของผม ในหมู่ชาวบ้านธรรมดา ๆ อย่าพึ่งสอนครับ แล้วก็ปลุกใจในเรื่องชาตินิยมที่เกี่ยวแก่พระศาสนาว่า ชาติไทยกับศาสนาพุทธนี้จะแยกจากกันไม่ได้ เกิดเป็นคนไทยต้องนับถือพุทธ และต่อไปก็พูดว่า ศาสนาพุทธเราวิเศษแล้ว แพร่หลายในยุโรป อเมริกา คนทั่วโลกนับถือมากแล้ว ศาสนาในทางตะวันตกมีแต่เขาจะทิ้งไป ๆ และอีกนัยหนึ่งคือการแก้ปรับวาทะ ถ้าหากไปเจอหมู่บ้านไหน ตำบลไหน เกิดมีญาติโยมเล่าข้อปรับวาทะ ซึ่งพวกเผยแผ่ศาสนาเขามาตั้งข้อหากับเรา เราต้องแก้ไป ถ้าไม่มี เราอย่าพึ่งไปแก้ อย่าไปชี้โพรงให้กระรอก เพียงแต่พูดเร้าใจให้รู้นึกว่า ชาติไทยกับพระพุทธศาสนานี้แยกจากกันไม่ได้ เร้าใจให้เกิดความภักดีในพระตถาคต ให้เขาสำนึกในตัวเองว่า เขาเป็นชาวพุทธ เลือกศาสนาได้ถูกแล้ว ควรจะภูมิใจได้แล้ว เท่านี้ก็ชนะแล้วครับ เท่านี้ก็ได้ผลในงานพระธรรมทูตแล้วครับ.


สถานะของพระพุทธศาสนาในศรีลังกาสมัยถูกยึดครอง
โดย...ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร



                
คำพูดที่ชาวพุทธศรีลังกาเปล่งออกมาด้วยความภาคภูมิใจที่สุดคือคำว่า "มะมะ เบาทฺธะ" ซึ่งย่อมาจากประโยคที่ว่า "มะมะ เบาทฺธะ เวมิ" แปลว่า ข้าพเจ้าเป็นชาวพุทธ ผู้ที่ไปศรีลังกาจะได้ยินคำนี้แม้จากปากของคนขับแท็กซี่จนถึงผู้ดีมีสกุลและฐานะดี เขาพูดคำนี้อย่างมีน้ำหนักเสมือนจะค้ำประกันได้ว่า ผู้ที่คบเขาจะไม่มีอันตรายใด ๆ จะมีแต่ความสุขและความปลอดภัย เพราะเขาเป็นชาวพุทธ คำว่า "เบาทฺธะ" ในภาษาสิงหลนี้ ก็คือคำว่าพุทธ นั่นเอง คำนี้นอกจากจะเป็นคำที่ชาวพุทธศรีลังกาจะกล่าวด้วยความภาคภูมิใจแล้ว ยังเป็นแรงดลใจให้เขาพยายามทุกวิถีทางที่จะหวงแหนมิยอมให้ใครมาย่ำยีหรือยื้อแย่งหรือทำลายพระพุทธศาสนาของเขาได้ แต่อนิจจา! ชาวพุทธศรีลังกาหาได้บรรลุผลตามความปรารถนาของเขาไม่
                ประวัติศาสตร์ของศรีลังกาบ่งชัดว่าศรีลังกาตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาวตะวันตกเป็นเวลานานถึง ๔๔๘ ปี เราคงจะพอคาดคะเนกันได้ว่า ๔๔๘ ปี แห่งการอยู่ภายใต้การยึดครองของชาวต่างชาตินั้น ศรีลังกาอยู่ในสภาพใด คำว่า "เบาทฺธะ" คงจะเป็นคำที่มีความหมายเข้มข้นยิ่งขึ้น ดังปรากฏชัดว่า ทุกครั้งที่มีการกระทำอันส่อแสดงถึงการทำลาย ลิดรอนสิทธิหรือย่ำยีพระพุทธศาสนาซึ่งชาวพุทธศรีลังกาเทิดทูนไว้อย่างสูงและคุ้มครองป้องกันไว้ในฐานะเป็นมรดกอันล้ำค่านั้น จะมีการต่อต้านหรือหาวิธีประนีประนอมเพื่อดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ซึ่งบรรพบุรุษของเขาพิทักษ์รักษามาแต่อดีตอันไกลโพ้น
                ชาวต่างชาติชาติแรกที่เข้ามาปรากฏตัวในศรีลังกาและยึดครองศรีลังกาเป็นเวลา ๑๕๘ ปี (ระหว่าง พ.ศ.๒๐๔๓ - ๒๒๐๑) คือชาวโปรตุเกส จุดประสงค์ดั้งเดิมของชาวโปรตุเกสในการเดินทางมาสู่ประเทศในตะวันออกคือการค้าเครื่องเทศ ดังนั้นใน พ.ศ.๒๐๔๘ นายอัลเมดะ (Almeida) ชาวโปรตุเกสได้เดินทางมายังมหาสมุทรอินเดีย ขับไล่ชาวมุสลิมซึ่งเคยมีอำนาจอยู่ในมหาสมุทรอินเดียออกไป และได้รับผลสำเร็จในการเป็นผู้ผูกขาดสินค้าเครื่องเทศในมหาสมุทรอินเดีย และภายในระยะเวลา ๓ ปี ต่อมา เขาสามารถทำการค้ากับกษัตริย์ศรีลังกาคือพระเจ้าธรรมปาละปรากรมพาหุผู้ครองอาณาจักรโกฏเฏ หลังจากนั้นอีก ๑๓ ปี โปรตุเกสก็ได้สร้างโรงงานขึ้นในเมืองโคลังโบ แต่เมื่อถูกชาวศรีลังกาโจมตี จึงได้รื้อถอนเสีย และหันมาสร้างป้อมแทนและก็ต้องรื้ออีก เพราะถูกโจมตีเช่นเคย การยอมรื้อถอนเช่นนี้บ่งให้ทราบว่าโปรตุเกสไม่มีเจตนาจะยึดครองศรีลังกามาแต่เดิม แต่มีจุดประสงค์ทางการค้าเป็นสำคัญ
                เหตุการณ์การแย่งราชบัลลังก์ในอาณาจักรโกฏเฏเปิดช่องทางให้คณะสอนศาสนาคริสต์ชาวโปรตุเกสได้รับเชิญให้มาสอนศาสนาคริสต์ในศรีลังกาเป็นครั้งแรก พระเจ้าจอห์นที่ ๓ แห่งโปรตุเกสทรงเห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงได้ทรงสนับสนุนให้ส่งคณะนักสอนศาสนามาตามคำขอร้องของพระเจ้าภูวไนกะพาหุแห่งอาณาจักรโกฏเฏ แต่ในระยะเวลาใกล้ ๆ กันนั้นเองได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น คือพระเจ้าภูวไนกะพาหุสวรรคต และเจ้าชายมายาดุนเนจะเป็นผู้สืบต่อราชบัลลังก์ แต่ได้มีการวางแผนลับระหว่างโปรตุเกสกับพระเจ้าภูวไนกะพาหุว่าจะให้ยุวราชธรรมปาละครองแทน แต่เนื่องจากยุวราชธรรมปาละยังทรงพระเยาว์จึงได้กำหนดให้เจ้าชายวิทิเยบัณฑาระเป็นผู้สำเร็จราชการแทน องค์ผู้สำเร็จราชการแทนเกิดมีความทะเยอทะยานอยากเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเอง แต่ก็เกรงว่าโปรตุเกสจะไม่สนับสนุนจึงได้ก่อกวนแสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อโปรตุเกสโดยทำลายโบสถ์คริสต์ และฆ่าชาวคริสต์ ไม่อนุญาตให้โปรตุเกสค้าอบเชยอีกต่อไป ทำให้โปรตุเกสซึ่งพร้อมที่จะทำสงครามอยู่แล้ว ประกาศสงครามกับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และเจ้าชายมายาดุนเนก็เข้าข้างโปรตุเกส โปรตุเกสชนะอย่างง่ายดาย แต่เจ้าชายมายาดุนเนก็คงผิดหวังอีก เพราะพระราชนัดดาของพระเจ้าภูวไนกะพาหุได้รับสถาปนาให้ครองบัลลังก์ตามแผน เรื่องการแย่งชิงราชบัลลังก์ก็มีต่อไปอีกช้านาน
                ในช่วงนี้ โปรตุเกส มีจุดประสงค์ ๒ อย่างคือ การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ และการค้าเครื่องเทศ ดังนั้น หากปรากฏว่าพระเจ้าแผ่นดินศรีลังกาองค์ใดต้องการความช่วยเหลือโปรตุเกสจะรีบช่วยเหลือทันที และดำเนินการทุกอย่างเพื่อจุดประสงค์ทั้ง ๒ นั้น
                ทางเมืองจัฟนาซึ่งอยู่เหนือสุดของศรีลังกา นักสอนศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกชาวโปรตุเกสได้เผยแพร่ศาสนาของตนอย่างกระตือรือร้น เป็นเหตุให้ชาวศรีลังกาเปลี่ยนใจไปรับนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นจำนวนมาก ถึงกับพระเจ้าสังกิลีผู้ครองจัฟนาต้องหวั่นวิตกอย่างมาก ถึงกับสั่งให้ประหารชีวิตผู้ที่นับถือศาสนาฮินดูอยู่เดิม แต่เปลี่ยนใจไปนับถือศาสนาคริสต์และไม่ยอมกลับใจมานับถือศาสนาฮินดูตามเดิมอีกเป็นจำนวนมาก
                ทางด้านเมืองแคนดี แม้ว่าโปรตุเกสจะพยายามหลายครั้งหลายหนที่จะยึดครองแต่ไม่สามารถจะยึดครองได้ เพราะแรงต้านทานและความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินของชาวเมืองแคนดี และเพราะเป็นช่วงเวลาที่ฮอลันดาเริ่มมีบทบาทในศรีลังกา ดังจะเห็นว่า ใน พ.ศ.๒๑๔๕ มีทูตชาวฮอลันดา ๒ คนเข้าเฝ้าพระเจ้าวิมลธรรมสูริยะเจ้าเมืองแคนดี ประจวบกับเจ้าเมืองแคนดีก็กำลังต้องการความช่วยเหลือจากฮอลันดาอยู่พอดี เพื่อที่จะขับไล่โปรตุเกสออกไปจากศรีลังกา และเพราะเหตุอื่นอีกคือชาวโปรตุเกสไม่มีความชำนาญต่อพื้นที่ราบสูงซึ่งเป็นภูเขาและเป็นป่าของเมืองแคนดี

การปกครองของโปรตุเกส

                ชาวโปรตุเกสใช้กฎหมายท้องถิ่นและระเบียบที่มีอยู่เดิมของศรีลังกาเป็นเครื่องมือในการปกครองแต่ไม่บรรลุผล เพราะตนเองไม่พยายามศึกษากฎหมายและระเบียบประเพณีท้องถิ่นให้เข้าใจ และยิ่งกว่านั้นยังใช้ระบบการปกครองแบบตามใจตนเอง จนเป็นการละเมิดกฎหมายและประเพณีดั้งเดิมของศรีลังกา ถึงกับมีการลุกขึ้นต่อต้านจากชาวศรีลังกาในบางครั้ง
สถานะของพระพุทธศาสนาในศรีลังกายุคโปรตุเกสปกครอง
                ในยุคที่โปรตุเกสเข้ามายังอาณาจักรโกฏเฏนั้น ชาวศรีลังกาในอาณาจักรโกฏเฏส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนา ทัศนคติของโปรตุเกสต่อพระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู ต่างกับที่มีต่อศาสนาอิสลาม ก่อนที่โปรตุเกสจะเข้ามาอยู่ในประเทศตะวันออกนั้น เขาไม่เคยมีความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูเลย เมื่อมาพบเห็นการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาของศาสนิกทั้งสองเข้า เขามีความเห็นว่าศาสนาทั้งสองเป็นศาสนาที่เชื่อผีสางเทวดาและโชคลาง และมองเห็นช่องทางว่าจะต้องแนะนำและชักชวนให้ชาวศรีลังกาเปลี่ยนใจมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกของตนให้ได้ ดังนั้น นักสอนศาสนาคริสต์คณะต่าง ๆ จึงหลั่งไหลเข้ามาสู่ศรีลังกา และเริ่มเผยแพร่ศาสนาของตนอย่างกระตือรือร้น เขาเริ่มเรียนภาษาสิงหล และเดินทางไปยังหมู่บ้านเล็กบ้านน้อยสอนศาสนาของตน เพื่อให้ชาวศรีลังกาเปลี่ยนใจมานับถือศาสนาของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และพยายามคลุกคลีกับชาวชนบท ร่วมรับประทานอาหารด้วย และช่วยเหลือคนยากจนให้มีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยวิธีนี้จึงสามารถชนะใจชาวศรีลังกาได้อย่างง่ายดาย และสามารถชักชวนให้ชาวศรีลังกาที่เคยนับถือพระพุทธศาสนาอยู่ก่อนให้เปลี่ยนใจมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกของตนได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่อยู่ตามชายฝั่งทะเล แม้แต่ชาวฮินดูก็เปลี่ยนใจไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นจำนวนมาก แม้จะพยายามชักชวนด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้หันกลับมานับถือศาสนาฮินดูอีก เขาก็ไม่ยอมเปลี่ยนใจ โดยยอมตายในสภาพเป็นคาทอลิกมีจำนวนถึง ๖๐๐ คน แสดงว่าการเผยแพร่ศาสนาของคณะนักสอนศาสนาชาวโปรตุเกสบรรลุผลประสงค์เป็นอย่างดี
โปรตุเกสหมดอำนาจในศรีลังกา
                แม้ว่าโปรตุเกสจะได้รับผลสำเร็จอย่างดีในการเผยแพร่ศาสนาของตน แต่มีหลายสาเหตุที่ทำให้การปกครองของโปรตุเกสในศรีลังกาเสื่อมลงจนหมดสิ้นไปในที่สุด สาเหตุดังกล่าว ได้แก่ความไม่สามารถในการบริหาร ความทุจริตในวงการบริหาร การขาดจริยธรรมในสมาคม สมาคมโปรตุเกส การขาดแคลนกำลังคนความเสื่อมโทรมด้านพลังกองทัพเรือ การต่อต้านของชาวศรีลังกา และที่สำคัญที่สุด คือชาวฮอลันดาในนามของบริษัท "ดัช อิสต์ อินเดีย" กำลังแผ่รัศมีแห่งอำนาจเหนือน่านน้ำมหาสมุทรอินเดีย โปรตุเกสจึงหมดรัศมีแห่งอำนาจในศรีลังกาโดยสิ้นเชิงใน พ.ศ.๒๒๐๑
ฮอลันดาชาวต่างชาติชาติที่ ๒ ในศรีลังกา (พ.ศ.๒๒๐๑ - ๒๓๓๙)
                ในระยะเวลาที่โปรตุเกสเสื่อมอำนาจทางการค้าเครื่องเทศในน่านน้ำมหาสมุทรอินเดีย มีพ่อค้าหลายประเทศในยุโรปกำลังแผ่ขยายอำนาจทางการค้าของตนมาทางตะวันออก ในบรรดาพ่อค้าเหล่านั้น ชาวฮอลันดาเป็นนักการค้าที่สำคัญที่สุด เขาสามารถขยายอำนาจการค้าของตนไปในยุโรปตะวันตกและยุโรปเหนืออย่างได้รับผลสำเร็จและมีผลกำไรงาม แต่เมื่อเห็นว่าไม่สามารถทำการค้ากับลสบอนได้จึงตัดสินใจเดินทางมาทางภาคพื้นตะวันออก โดยรวมบริษัทเดิมของตนแล้วตั้งบริษัทใหม่ เรียกว่า "ดับ อิสต์ อินเดีย คัมปะนี" และวางแผนจะแย่งอำนาจผูกขาดการค้าในตะวันออกจากโปรตุเกสและอังกฤ ฮอลันดาจึงได้ดำเนินนโยบายแบบประนีประนอมกับชนท้องถิ่นที่แผ่อำนาจไปถึงและไม่ประสงค์จะทำสงคราม ตามที่กล่าวแล้ว ทูตฮอลันดาได้เดินทางเข้ามายังศรีลังกาใน พ.ศ.๒๑๔๕ สมัยพระเจ้าวิมลธรรมสูริยะ แต่ในครั้งนั้น ไม่สามารถยืนยันเรื่องความช่วยเหลือชาวศรีลังกาทางด้านกองทัพเรือเพื่อขับไล่โปรตุเกสออกไปจากศรีลังกาได้ ต่อเมื่อตั้งกองบัญชาการใหญ่ที่ปัตตาเวียแล้วจึงสามารถช่วยเหลือได้ โดยเข้ามาศรีลังกาในสมัยพระเจ้าราชสิงห์ที่ ๒ ฮอลันดายินดีให้การช่วยเหลือศรีลังกาเพื่อขับไล่โปรตุเกสออกไป และพระเจ้าราชสิงห์ที่ ๒ แห่งแคนดีก็ยินดีจะจ่ายค่าใช้จ่ายทุกอย่างเพื่อการนี้ และอนุญาตให้ใช้ท่าเรือแห่งหนึ่ง และให้ผูกขาดการค้าอบเชยแก่ฮอลันดา ดังนั้นใน พ.ศ.๒๑๘๒ ฮอลันดาจึงเข้ามายึดท่าเรือทรินโคมะลี (Trincomalee) และในปีต่อมาก็ยึดท่าเรือ นิคัมโบ (Negombo) และท่าเรือกอล (Galle) ตามลำดับและตั้งกองบัญชาการใหญ่อยู่ที่กอล
                พระเจ้าราชสิงห์ที่ ๒ ทรงพอพระทัยที่อำนาจของโปรตุเกสหมดสิ้นไปจากศรีลังกา แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ทรงพอพระทัยกับการที่ฮอลันดายึดป้อมต่าง ๆ ในศรีลังกา ทำให้พระองค์ทรงรู้สึกเหมือนหนึ่งเปลี่ยนหน้าชาวต่างชาติมาครองศรีลังกา เพราะในสนธิสัญญาฉบับของพระองค์ไม่อนุญาตให้ฮอลันดายึดป้อมเช่นนั้น แต่ข้อความให้ยึดได้นั้นปรากฏในฉบับของฮอลันดา กษัตริย์ศรีลังกาคงกำลังหนีเสือมาปะจระเข้เป็นแน่แท้ และหลังจากนั้นก็เกิดข้อพิพาทกันขึ้นระหว่างกษัตริย์ศรีลังกากับชาวฮอลันดาในศรีลังกาในเรื่องการทูต การเศรษฐกิจ และการเมือง เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นหนามยอกอกกษัตริย์ศรีลังกาและชาวศรีลังกา ตลอดยุคแห่งการครอบครองของฮอลันดา
สถานะของพระพุทธศาสนาในศรีลังกายุคฮอลันดาครอบครอง
                พระมหากษัตริย์และประชาชนชาวศรีลังกามีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของตนมาแต่อดีต และต่างก็ช่วยกันอนุรักษ์และคุ้มครองสืบ ๆ กันมา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศาสนูปถัมภ์ ทรงบริจาคที่ดินสำหรับสร้างวัดในพระพุทธศาสนา ทรงมีส่วนส่งเสริมให้พระสงฆ์รักษาระเบียบวินัย ทรงติดต่อขอศาสนทูตจากต่างประเทศเพื่อฟื้นฟูการอุปสมบทกุลบุตรในพระพุทธศาสนาและทรงมีส่วนร่วมในพิธีศาสนาซึ่งชาวพุทธจัดขึ้นทั่ว ๆ ไป
                ผู้นำทางศาสนาได้แก่พระสงฆ์ แม้ว่าสถานะของพระพุทธศาสนาจะเสื่อมโทรมในบางครั้ง แต่พระมหากษัตริย์ศรีลังกาก็ทรงเอาพระทัยใส่อย่างใกล้ชิด เพื่อยกย่องเชิดชูพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้ว่า ใน พ.ศ.๒๒๑๐ พระเจ้าวิมลธรรมสูริยะที่ ๒ แห่งแคนดี ได้ทรงอาราธนาพระสงฆ์จากประเทศพม่าไปให้อุปสมบทแก่กุลบุตรในสมัยที่แบบการอุปสมบทได้เสื่อมสูญไป สมัยใดที่มีความย่อหย่อนทางพระวินัยในกลุ่มพระสงฆ์ พระองค์ก็ทรงเป็นธุระสะสางให้บริสุทธิ์หมดจด ทรงสร้างและซ่อมวัดและวิหาร และฟื้นฟูมหกรรมทางพระพุทธศาสนาให้เป็นแบบอย่างสืบไปเบื้องหน้า อนึ่ง ใน พ.ศ.๒๒๘๔ ซึ่งอยู่ในยุคที่ฮอลันดาครอบครองศรีลังกานี้เอง ทรงส่งศาสนทูตมาประเทศไทย แต่เรืออับปางเสียก่อนถึง จึงทรงส่งมาอีกเป็นครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ.๒๒๙๐ แต่อนิจจา! ก่อนที่คณะศาสนทูตจะกลับจากประเทศไทย พระเจ้าวิมลธรรมสูริยะก็มาด่วนสวรรคต ไม่ทันได้ทรงชื่นชมผลงานของพระองค์ ในรัชกาลพระเจ้ากีรติศรีราชสิงห์ คณะศาสนทูตลังกามาถึงประเทศไทยสมประสงค์ เพราะผลงานชิ้นนี้ คณะศาสนทูตไทยรวม ๑๗ ท่าน ซึ่งมีพระอุบาลีเป็นหัวหน้าได้เดินทางไปศรีลังกา นำแบบการอุปสมบทของไทยไปประดิษฐานให้ศรีลังกาใน พ.ศ.๒๒๙๑ ศาสนกิจครั้งนี้เป็นศาสนกิจครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สถานที่ประดิษฐานการอุปสมบทครั้งนั้นยังมีอยู่ ในปัจจุบันเรียกชื่อ สำนักมัลวัตตะ (สำนักสวนดอกไม้) ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นศูนย์กลางของพระสงฆ์สยามนิกายซึ่งเป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดในศรีลังกา จะมีการอุปสมบทกุลบุตรที่โรงพระอุโบสถแห่งนี้ปีละครั้ง
ในรัชกาลของพระเจ้ากีรติศรีราชสิงห์นี้ให้กำหนดให้มีการจัดขบวนแห่ "เทวาลัย" เป็นขบวนรองจากขบวนแห่พระธาตุเขี้ยวแก้วและพระธาตุของพระสาวกองค์อื่น ๆ อนึ่งพระเจ้ากีรติศรีราชสิงห์ พระองค์นี้ได้ทรงสร้างวัดพระธาตุเขี้ยวแก้วซึ่งพระเจ้าวิมลธรรมสูริยะที่ ๒ ได้ทรงสร้างไว้ และถูกชาวฮอลันดาทำลายเสียใน พ.ศ.๒๓๐๘ นั้นอีกครั้งหนึ่ง พระราชกรณียกิจของพระเจ้ากีรติศรีราชสิงห์ตามที่กล่าวมาจัดเป็นการอุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง แม้ว่าจะอยู่ภายใต้การปกครองของชนต่างชาติต่างศาสนา ก็ไม่ทรงลดละภารกิจของพระองค์
                ในระยะเวลาที่ฮอลันดาครอบครองศรีลังกานั้น เนื่องจากชาวฮอลันดามีนโยบายประนีประนอม จึงไม่ค่อยมีปัญหาขัดแย้งอย่างรุนแรง จะมีบ้างในเรื่องภาษีอากรที่ไม่เป็นธรรมซึ่งประชาชนต้องคัดค้านและเมื่อมีเรื่องเช่นนั้นเกิดขึ้น ก็มีการประนีประนอมตกลงกันด้วยเงื่อนไขที่เป็นธรรม
บทบาทของนักสอนศาสนาคริสต์ในสมัยฮอลันดาปกครองศรีลังกา

ชาวฮอลันดานับถือศาสนาคริสต์แบบปฏิรูป เรียกชื่อว่า "เพรสบิเทเรียน"

                คณะนักสอนศาสนาชาวฮอลันดาที่เข้าไปศรีลังกามีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ศาสนาคริสตร์นิกายของตนและชักชวนชาวพุทธชาวฮินดูและชาวคาทอลิกให้หันมานับถือศาสนานิกายของตน แต่เนื่องจากกิจกรรมทางศาสนาของชาวฮอลันดาอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทดัช อิสต์ อินเดีย การหวังผลกำหรและผลทางการเมือง จึงมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยอย่างมาก ทางบริษัทพบว่าชาวพุทธและชาวฮินดูมีความภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของเมืองแคนดี เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์อันใหญ่ยิ่งต่อศาสนาทั้งสองนี้ในศรีลัง เมื่อฮอลันดามายึดเมืองโคลัมโบนั้น พระมหากษัตริย์ได้ทรงให้การต้อนรับผู้ลี้ภัยชาวคาทอลิกและทรงอนุญาตให้เขาตั้งหลักแหล่งอยู่ในที่ต่าง ๆ ในเมืองแคนดี ดังนั้นพวกคาทอลิกที่อยู่ในท้องที่ของฮอลันดาจึงมีความรักและเคารพพระมหากษัตริย์ศรีลังกา และพระมหากษัตริย์ก็ทรงชื่นชมในความรักและความเคารพของเขาถึงกับได้ยุยงให้เขาขบถต่อฮอลันดาในบางโอกาส
                ฝ่ายบริษัท เมื่อพบว่าพระมหากษัตริย์และประชาชนศรีลังกามีพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องประสานอันมั่นคงเช่นนั้น จึงได้นำเอาวิถีทางการเมืองมาใช้เพื่อให้ประชาชนหันมานับถือศาสนาคริสต์แบบปฏิรูปของตน โดยเร่งรัดการโฆษณาและชักชวนให้ประชาชนหันมานับถือ แต่ก็ไม่ได้ผลมากเท่ากับโปรตุเกสได้ทำไว้ จึงได้พิมพ์เอกสารเล็ก ๆ แจก แปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาท้องถิ่นและพิมพ์แจกแก่คนทั่วไป นอกจากนี้ยังได้ตั้งโรงเรียนในหมู่บ้านทั่ว ๆ ไปบังคับให้เด็กเข้าเรียน ถ้าไม่เข้าก็ปรับผู้ปกครองเด็ก แต่ละโรงเรียนมีครู ๒ - ๔ คน และมีครูผู้ตั้งคำถามคำตอบซักไซ้ไล่เลียง ๑ คนต่อ ๑ กลุ่ม ใช้ภาษาท้องถิ่นของนักเรียนเป็นสื่อการสอน วิชาที่สอนมีการอ่าน การเขียน ตอบปัญหาและสวดมนต์ตามแบบของศาสนาคริสต์แบบปฏิรูป สิ่งหนึ่งที่ฮอลันดาดำเนินการเพื่อชักชวนให้คนหันมานับถือศาสนาของตนคือการออกกฎหมายห้ามประชาชนไหว้สิ่งเคารพในศาสนาอื่นนอกจากในศาสนาคริสต์แบบปฏิรูปของตน กฎหมายนี้ลิดรอนสิทธิของชาวพุทธ ชาวฮินดู ชาวคาทอลิกและชาวอิสลามอย่างร้อนแรง ทำให้ศาสนิกชนเหล่านั้นไม่พอใจอย่างยิ่ง และข้อนี้เองทำให้ฮอลันดาขาดความนิยมชมชอบไป และอันนี้ก็หมายถึงความเสื่อมอำนาจของฮอลันดา ประกอบกับในระยะนี้อังกฤษก็เสร็จสิ้นสงครามกลางเมืองแล้ว และกำลังมองหาช่องทางเพื่อดำเนินการค้ากับต่างประเทศอยู่ แต่ฮอลันดาเองก็ไม่ยอมให้การค้าต่างประเทศซึ่งตนดำเนินการอยู่ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของผู้อื่น จึงได้ทำสงครามกับอังกฤษถึง ๓ ครั้ง แต่ก็สู้อังกฤษไม่ได้ และในที่สุดการค้าทางทะเลของโลกก็อยู่ในเงื้อมมือของอังกฤษ และอิทธิพลทางด้านศาสนาของฮอลันดาก็หมดไป นั่นคือใน พ.ศ.๒๓๓๙ ฮอลันดาหมดอำนาจการปกครองศรีลังกา สิ้นความเป็นใหญ่และความสำคัญต่อศรีลังกาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ศรีลังกาภายใต้การปกครองของอังกฤษ (พ.ศ.๒๓๓๙ - ๒๔๙๑)

                อังกฤษเป็นชาวต่างชาติชาติที่ ๓ ที่เข้ามายึดครองศรีลังกา จุดแรกที่เข้ามาโจมตีคือท่าเรือทรินโคมะลี (Trincomalee) หลังจากโจมตีอยู่ ๘ วันก็ยึดได้ ใน พ.ศ.๒๓๓๙ และได้ทำสัญญากับกษัตริย์ศรีลังกา เงื่อนไขในสัญญานั้นว่า ศรีลังกายินยอมยกดินแดนซึ่งเคยอยู่ในปกครองของฮอลันดาทั้งหมดให้เป็นของอังกฤษ แต่อังกฤษยังรู้สึกว่าเมืองแคนดีเป็นเอกราชตลอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงสมัยอังกฤษปกครอง และมีกษัตริย์ผู้นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด อังกฤษจึงต้องการเมืองแคนดีไว้ในปกครองเหมือนเมืองอื่น แต่บริษัทอิสต์ อินเดีย ยังไม่เห็นด้วย เพราะบริษัทนี้ยังมีผลประโยชน์อยู่ในเมืองแคนดี แต่ใน พ.ศ.๒๓๔๕ ศรีลังกาก็ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ขึ้นตรงต่อพระเจ้ากรุงอังกฤษ มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เซอร์ โธมัส เมตแลนด์ (sir Thomas Maitland) ผู้สำเร็จราชการคนที่ ๒ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากในการปกครองศรีลังกา เซอร์ เมตแลนด์ พยายามบรรจุบุคคลที่จะเป็นอันตรายต่อการปกครองของอังกฤษให้เป็นข้าราชการ เซอร์ เมตแลนด์มีความเห็นว่า พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาและนักบวชในศาสนาพราหมณ์อาจเป็นอันตรายต่อการปกครองของอังกฤษได้ และยังมีความเห็นอีกว่ากษัตริย์แห่งแคนดีทรงนับถือและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูเป็นอย่างดี และดังนั้นพระภิกษุสงฆ์และนักบวชในศาสนาพราหมณ์จึงอยู่ภายใต้อิทธิพลของกษัตริย์ และกษัตริย์อาจทรงใช้พระภิกษุและนักบวชยุยงให้ชาวสิงหลและชาวทมิฬเป็นปฏิปักษ์ต่ออังกฤษได้ เมื่อคิดเห็นไปเช่นนั้นจึงได้วางแผนยุยงให้เกิดความแตกสามัคคีระหว่างพระภิกษุสงฆ์เพื่อลดอิทธิพลของพระสงฆ์ให้น้อยลง และโดยวิธีนี้ กลไกการเมืองซึ่งกษัตริย์ศรีลังกาเคยมีอยู่ก็จะตกมาเป็นของตน

สถานะของพระพุทธศาสนาในศรีลังกาสมัยอังกฤษปกครอง

                หลังจากฮอลันดาหมดอำนาจการปกครองในศรีลังกาแล้ว ชาวพุทธและผู้นับถือศาสนาอื่น เช่น มุสลิม ฮินดู และผู้ที่นับถือนิกายคาทอลิกเป็นจำนวนมากที่เคยเป็นคริสเตียนด้วยการถูกบังคับก็เปลี่ยนใจมานับถือศาสนาเดิมของตน เพราะวิธีดำเนินงานของอังกฤษไม่เหมือนของฮอลันดา คืออังกฤษไม่ช่วยเหลือโรงเรียนสิงหลและทมิฬที่ฮอลันดาเคยช่วยเหลือเพราะปรารถนาให้ชนเหล่านั้นนับถือศาสนาคริสต์ต่อไปเพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้น อังกฤษจึงได้เปลี่ยนนโยบายใหม่คือตั้งโรงเรียนให้ประชาชนศรีลังกาได้เข้าศึกษาเล่าเรียนซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นการตัดทอนพระพุทธศาสนาทางอ้อม
                อนึ่ง ในยุคที่อังกฤษปกครองศรีลังกานี้ คณะสอนศาสนาจำนวนมากมายหลายคณะหลั่งไหลมาสู่ศรีลังกาคือ คณะสอนศาสนาแบปติสต์เข้ามาใน พ.ศ.๒๓๕๕ คณะเวสติยันเข้ามาใน พ.ศ.๒๓๕๗ คณะอเมริกันเข้ามาใน พ.ศ.๒๓๕๙ และคณะแองคลิกันเข้ามาใน พ.ศ.๒๓๖๑                 
คณะนักสอนศาสนาเหล่านี้เมื่อเข้ามาในศรีลังกาแล้วก็เริ่มตั้งโรงเรียนด้วยความช่วยเหลือจากกษัตริย์อังกฤษ จำนวนนักเรียนในโรงเรียนเหล่านี้มากกว่าในโรงเรียนชาวศรีลังกาถึง ๓ เท่า รัฐบาลออกคำสั่งให้สอนศาสนาคริสต์ทุกวันก่อนเริ่มเรียน ซึ่งจะเป็นขั้นต้นในการเผยแพร่ศาสนาของตน การกระทำเช่นนี้ทำให้ชาวพุทธศรีลังกาไม่พอใจอย่างยิ่ง อนึ่งคณะนักสอนศาสนาเหล่านี้ได้ดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์ด้วย เช่นแจกยาแก่ผู้ป่วยไข้ สร้างโรงเรียนให้คนตาบอดได้เรียน แต่รัฐบาลไม่ให้การอุปถัมภ์แก่พระพุทธศาสนาเหมือนกษัตริย์ศรีลังกา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชาวอังกฤษไม่เข้าร่วมพิธีทางศาสนา ไม่เคารพพระสงฆ์เหมือนกษัตริย์สิงหล พระพุทธศาสนาจึงตกอยู่ในสภาพที่อับเฉาและเสื่อมโทรม
                
ตลอดเวลา ๑๕๒ ปีที่อังกฤษปกครองศรีลังกานี้แม้อังกฤษจะมีการกระทำบางอย่างไม่เป็นที่พอใจชาวสิงหลและชนชาติอื่นในศรีลังกา แต่ปรากฏว่าอังกฤษมีหลักการผ่อนสั้นผ่อนยาวพอสมควร                 ดังจะเห็นได้จากการที่อนุญาตให้พระสงฆ์เลือกตั้งและแต่งตั้งเจ้าอาวาสของตนเองได้โดยอังกฤษออกพระราชบัญญัติรับรองการแต่งตั้งนั้น เป็นต้น แสดงว่าอังกฤษไม่ได้สิ้นน้ำใจไมตรีต่อชาวพุทธศรีลังกาเสียทีเดียว แม้ความเจริญด้านอื่น ๆ อังกฤษก็ได้สร้างไว้ให้ศรีลังกาอย่างมาก และท้ายที่สุดเมื่อเห็นว่าศณีลังกาสมควรจะปกครองตนเองได้ก็มอบอิสระภาพให้แก่ศรีลังกาใน พ.ศ.๒๔๙๑ ทำให้ฐานะของศรีลังกาเทียมบ่าเทียมไหล่กับประเทศในกลุ่มสหราชอาณาจักรทั้งหลายอยู่ชั่วระยะหนึ่ง และในปัจจุบันนี้ศรีลังกาเป็นประเทศเอกราชโดยสมบูรณ์ มีประธานาธิบดีของตนเองและมีชื่อใหม่ว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา
                
ในช่วงเวลา ๔๔๘ ปี ที่ศรีลังกาอยู่ภายใต้การครอบครองของชาวต่างชาตินี้ สิ่งมหัศจรรย์อันหนึ่งที่เราชาวพุทธเมืองไทยควรพิจารณาคือ ชาวพุทธศรีลังกาซึ่งมีพระสงฆ์เป็นผู้นำได้พยายามทุกวิถีทางในการคุ้มครองรักษาไว้ซึ่งอมฤตมรดก สืบทอดจากบรรพบุรุษ นั่นคือ พระพุทธศาสนา ยามใดที่มีภัยมาแผ้วพานจะพากันขจัดปัดเป่าให้หมดไปเท่าที่จะสามารถทำได้ ประเพณีทางศาสนาและศาสนพิธีต่าง ๆ ที่เคยปฏิบัติมาแต่อดีตอันไกล ก็พยายามรักษาไว้โดยการปฏิบัติจริง ช่วยให้ประเพณีเหล่านั้นมีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ชาวพุทธศรีลังกาจัดงานมหกรรมประจำปีเป็นระยะ ๆ ตลอดปี ดังนี้
                
๑. ขบวนแห่ฉลองการเสด็จประพาสศรีลังกาของพระพุทธเจ้า จัดกันในเดือนยี่
                
๒. งานฉลองวิสาขบูชา ในภาษาสิงหลเรียก "เวสัขอุสวยะ" ทำในวันเพ็ญเดือน ๖ เป็นการฉลองที่มโหฬารที่สุดในบรรดางานฉลองทางพระพุทธศาสนาในศรีลังกา มีการประดับไฟบ้านเรือนและซุ้มประตู หรือปะรำในแหล่งชุมนุมชนและตามประทีปโคมไฟสวยงามและหาดูได้ยากยิ่ง ณ ปะรำนั้นจะมีภาพเขียนเรื่องชาดก หรือพุทธประวัติประดับอย่างงดงาม บางแห่งจะมีการแสดงละครพุทธประวัติให้ประชาชนชม อนึ่ง การจัดทำเช่นนี้มิใช่จะมีเฉพาะในเมืองโคลัมโบเมืองหลวงเท่านั้น แม้ในต่างจังหวัดทุกจังหวัดก็จัดกัน เรียกว่าฉลองกันทั่วประเทศและเป็นพิเศษจริง ๆ ขนาดที่ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาประเทศอื่น ๆ หลายประเทศเกิดความรู้สึกอายศรีลังกาทีเดียว และถ้าใครก็ตามได้ไปเห็นด้วยตนเองจะต้องรู้สึกประทับใจที่สุด
                
๓. ขบวนแห่งโปโสน คือการจัดขบวนแห่ในวันเพ็ญเดือน ๗ เพื่อฉลองการเสด็จไปประกาศศาสนาในศรีลังกาของพระมหินทเถรเจ้าจากอินเดีย
                
๔. ขบวนแห่ฉลองพระธาตุเขี้ยวแก้วหรือขบวนแห่แคนดี เพราะจัดเฉพาะในเมืองแคนดี อันเป็นเมืองที่ประดิษฐานพระธาตุเขี้ยวแก้ว จัดในเดือน ๘ ระยะเวลาแห่ ๑๕ วัน
                
๕. ขบวนแห่มหิยังคณเจดีย์ เป็นการฉลองเจดีย์องค์แรกในศรีลังกา จัดทำกันในเดือน ๙ หรือ เดือน ๑๐ จะมีชนเผ่าชนชาวป่าร่วมในขบวนแห่ด้วย
นอกจากนี้ยังมีขบวนแห่อื่น ๆ อีก เช่นขบวนแห่ระลึกถึงพระนางสังฆมิตตาเถรี ในเดือนอ้าย ขบวนแห่กะตะระคะมะ เป็นขบวนแห่รอบเทวาลัยเป็นเวลา ๔ วัน เพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งสงคราม เป็นต้น
                
การจัดการฉลองและขบวนแห่ดังกล่าวนี้ของชาวพุทธศรีลังกาจัดเป็นตัวอย่างอันดีสำหรับชาวพุทธประเทศอื่น ๆ แม้ว่าชาวพุทธศรีลังกาจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของชนต่างชาติตั้ง ๔๐๐ กว่าปี แต่เพราะความรักและเคารพอันเข้มข้นในใจของชาวพุทธศรีลังกาที่มีต่อพระพุทธศาสนา ชาวพุทธศรีลังกาจึงร่วมใจกันอนุรักษ์และหวงแหนพระพุทธศาสนาอมฤตมรดก ตลอดถึงประเพณีและพิธีกรรมที่ตนได้รับสืบทอดต่อ ๆ กันมาจากบรรพบุรุษของตนไว้ได้เป็นอย่างดี