14. มีงานศึกษาสงเคราะห์ดังนี้.-

1. พ.ศ.2525 ได้จัดตั้งกองทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นประถมศึกษา ของวัดท่าไทร ขึ้น ปัจจุบันมีเงินทุนฝากที่ธนาคาร กรุงไทย สาขา สุราษฎร์ธานี บัญชีเลขที่ 807-1-60422-4 มีเงินทุนจำนวน 220,967.99 บาท ( เงิน สองแสน สองหมื่น เก้าร้อย หกสิบเจ็ดบาท เก้าสิบเก้าสตางค์)

15. งานเผยแผ่

1. พ.ศ. 2524 เป็น พระธรรมทูต อำเภอกาญจนดิษฐ์
2. พ.ศ. 2525 เป็น ผู้อบรมศีลธรรมแก่นักเรียน โรงเรียนวัดท่าไทร
3. พ.ศ. 2526 เป็นประธานหน่วย อ.ป.ต. ประจำตำบลท่าทองใหม่ จนถึงปัจจุบัน
4. พ.ศ. 2528 จัดให้มีการบวชสามเณรฤดูร้อน ปีละ 60 รูป ขึ้นไป ทุกปี จนถึงปัจจุบัน
5. พ.ศ. 2528 จัดให้มีการบวชศีลจาริณี(หญิงผู้ประพฤติธรรม)ปีละ 50 คนในเดือน สิงหาคม ของทุกปี จนถึงปัจจุบัน
6. พ.ศ. 2532 เป็นรองหัวหน้าพระธรรมทูต ศูนย์งานจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับมอบหมายจาก เจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในฐานะหัวหน้าพระธรรมทูต อบรมพระธรรมทูต และติดตามการ ปฏิบัติงานของพระธรรมทูต ทั้งจังหวัดจนถึงปัจจุบัน
7. มีการทำพิธีมาฆบูชา เป็นประจำทุกปี มีผู้มาร่วมประชุมทำพิธี เป็นพระภิกษุ สามเณร 15 รูป ประชาชน จำนวนประมาณ 350 คน
8. มีการทำพิธีวิสาขบูชา เป็นประจำทุกปี มีผู้มาร่วมประชุมทำพิธี เป็นพระภิกษุ สามเณร 25 รูป ประชาชนประมาณ 550 คน
9. มีการทำพิธีอาสาฬหบูชา เป็นประจำทุกปี มีผู้มาร่วมประชุมทำพิธี เป็นพระภิกษุสามเณร จำนวน 45 รูป ประชาชนจำนวนประมาณ 500 คน
10. มีการอบรมพระภิกษุสามเณรหลังทำวัตร-สวดมนต์เย็น ในวันพระ 8 ค่ำ 15 ค่ำ
11. มีการอบรมศีลธรรมแก่ประชาชน เป็นประจำ ในวันพระ เวลาบ่าย และอบรมศีลธรรมแก่ นักเรียน ในโรงเรียนต่าง ๆ ตามที่ ทางโรงเรียนนิมนต์มา
12. มีผู้มารักษาศีลฟังธรรมที่วัด ตลอดปี จำนวน 45 คน
13. มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแผ่ ดังนี้.-

- ด้วยการจัดตั้งห้องสมุดขึ้นในวัด และจัดหาหนังสือธรรมะประเภทต่าง ๆ ให้ประชาชน ยืมอ่าน
- พิมพ์หนังสือธรรมะแจกในโอกาสสำคัญ เช่นงานประจำปีของวัด งานวันเกิด

14. มีความร่วมมือกับทางคณะสงฆ์เกี่ยวกับการเผยแผ่ คือ.-

(1). เข้าร่วมประชุมพระธรรมทูตจังหวัด ในการวางแผนงานออกธรรมทูตประจำปี
(2). ร่วมกับพระธรรมทูตจังหวัดออกปฏิบัติงานในต่างอำเภอในบางโอกาส
(3) ปฎิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะจังหวัดในการกำกับงานพระธรรมทูต และนำพระธรรมทูตออกปฏิบัติงานประจำปี พร้อมด้วยให้นโยบาย
(4) สนองนโยบายของคณะสงฆ์ระดับสูงในการปฏิบัติงานพระธรรมทูต

15 . มีความร่วมมือกับทางราชการในการเผยแผ่ คือ.-

(1). จัดพระธรรมทูต ออกอบรมศีลธรรมในโรงเรียน ตามโครงการส่งเสริมศีลธรรมแก่- เยาวชน ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(2). ร่วมกิจกรรมกับทางราชการในการออกเยี่ยมเยียนประชาชนในถิ่นกันดาร

16. วัดท่าไทร อำเภอกาญจนดิษฐ์ มีผู้มาทำบุญที่วัดเป็นประจำ จำนวน 200 คน

16. งานสาธารณูปการ

ตั้งแต่ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าไทร เป็นต้นมา ได้ดำเนินการก่อสร้างเสนาสนะ และ บูรณะเสนาสนะ พัฒนาวัดให้ร่มรื่น โดยลำดับมา ดังนี้.-

(1) งานก่อสร้างถาวรวัตถุ ภายในวัด นับตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ถึงปัจจุบัน ดังนี้.-

-พ.ศ. 2536 ดำเนินจัดซื้อที่ดินให้เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดท่าไทร จำนวน 70 ไร่ ที่ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตติดต่ออำเภอเคียนซา ขณะนี้ได้ปลูกยางพารา มาประมาณ 12 ปี และได้รับผลแล้ว ซึ่งเจ้าของเดิมได้ขายให้ในราคาที่ต้องการถวายให้วัด ไร่ละ 50,000. บาท x 70 ไร่ รวมเป็นเงิน 3,500,000. บาท (เงิน สามล้าน ห้าแสนบาทถ้วน)

-พ.ศ. 2537 ดำเนินการก่อสร้าง กุฏิสงฆ์ จำนวน 1 หลัง ลักษณะทรงไทยบังกะโล เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก 2 ชั้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ทาสีทั้งหลัง ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร แล้วเสร็จบริบูรณ์ ราคาค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน 168,955. บาท (เงิน หนึ่งแสน หกหมื่น แปดพัน เก้าร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน)

- พ.ศ. 2538 ดำเนินการก่อสร้าง โรงเรียนปริยัติธรรม 1 หลัง ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นอาคาร ไม้ ครึ่ง และ คอนกรีตเสริมเหล็กครึ่ง 2 ชั้น หลังคามุง ด้วยกระเบื้องลอนคู่ ทาสีทั้งหลัง แล้วเสร็จบริบูรณ์ ราคาค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน 842,350. บาท (เงิน แปดแสน สี่หมื่น สองพัน สามร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

รวมผลงานค่าก่อสร้างทุกรายการ เป็นจำนวนเงิน 4,511,305. บาท (เงิน สี่ล้าน ห้าแสน หนึ่งหมื่น หนึ่งพัน สามร้อย ห้าบาทถ้วน)

(2) งานบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ถึงปัจจุบัน ดังนี้.-

- พ.ศ. 2537 ดำเนินการบูรณะศาลาการเปรียญ 1 หลัง เป็นอาคารไม้ ชั้นเดียว พื้นปูนขัดมันขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 30 เมตร ด้วยการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา และปรับพื้นบางส่วน ต่อเติมอาคาร และทำห้องน้ำ ห้องสุขา ทาสีทั้งหลัง แล้วเสร็จบริบูรณ์ ใช้การได้สมบูรณ์ในปัจจุบันราคาค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน 282,750.00 บาท (เงิน สองแสน แปดหมื่น สองพัน เจ็ดร้อย ห้าสิบบาทถ้วน)

- พ.ศ. 2537-2540 ดำเนินการบูรณะอุโบสถวัดท่าไทร จำนวน 1 หลัง ลักษณะทรงไทย ของ กรมศิลปกร ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 22 เมตร ด้วยการเปลี่ยนโครงสร้างหลังคา มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ ติดช่อฟ้า ใบระกา ฯลฯ วาดภาพพุทธประวัติ ภายในทั้งหมด และทาสีทั้งหลัง เสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ ราคาค่าบูรณะ เป็นจำนวนเงิน 3,192,750. บาท (เงิน สามล้าน หนึ่งแสน เก้าหมื่น สองพัน เจ็ดร้อย ห้าสิบบาทถ้วน)

รวมผลงานค่าบูรณะปฏิสังขรณ์ทุกรายการ เป็นจำนวนเงิน 3,475,500. บาท (เงิน สามล้าน สี่แสน เจ็ดหมื่น ห้าพัน ห้าร้อย บาทถ้วน)

รวมผลงานค่าก่อสร้าง และบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัดทุกรายการ เป็นจำนวนเงินทั้งหมด 7,986,805. บาท (เงิน เจ็ดล้าน เก้าแสน แปดหมื่น หกพัน แปดร้อย ห้าบาทถ้วน)

(4) มีการพัฒนาวัด ดังนี้ คือ.-

1. ด้านปกครอง ได้จัดให้มีผู้ช่วยเจ้าอาวาส เพื่อช่วยเหลือในกิจต่าง ๆ เช่น การทำวัตร สวดมนต์ การอบรมพระภิกษุ-สามเณร นวกะ ประชาชนฯลฯ ในเวลาที่เจ้าอาวาสไม่อยู่

2. ด้านการศึกษา ได้จัดให้มีการเรียนการสอนทั้ง ปริยัติธรรม แผนกธรรมบาลี และธรรมศึกษา โดยมอบหมายให้พระภิกษุรูปหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ใหญ่

3. ด้านการเผยแผ่ ได้จัดให้มีการอบรมศีลธรรม โดยการเทศนา สนธนาธรรม แก่ประชาชน นักเรียน ในวันพระ วันสำคัญทางศาสนาเป็นประจำ

4. ด้านการสาธารณูปการ ได้จัดสร้างเสนาสนะ เช่น กุฎิ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ ฯลฯ และปรับปรุง รักษา ความสะอาดวัดอยู่เสมอ ปลูกต้นไม้ หลายชนิด ทั้งไม้ผล และไม้ที่ให้ร่มเงา จนปรากฏแก่ประชาชนทั่วไปว่า วัดท่าไทร บริเวณวัดสะอาด มีกำแพงโดยรอบ จนกระทั่งได้รับยกย่องจากกรมการศาสนา ให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓


เหรียญพระเทพพิพัฒนาภรณ์ รุ่น ๑ พ.ศ. ๒๕๓๙
ด้านหน้า

เหรียญพระเทพพิพัฒนาภรณ์ รุ่น ๑ พ.ศ. ๒๕๓๙
ด้านหลัง
เหรียญพระเทพพิพัฒนาภรณ์ รุ่น ๑ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งจัดสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นที่ระลึก
ในโอกาสฉลองครบรอบ ๕๐ ปี ครองราชย์

 

17. งานเจ้าคณะ

พ.ศ. 2541 เป็น เจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการงานในหน้าที่เพื่อความเรียบร้อยดีงามของคณะสงฆ์ และการเผยแผ่พระศาสนา ตามตำแหน่งหน้าที่ ด้วยความเรียบร้อยทุกประการ โดยเฉพาะงานในหน้าที่หลักของเจ้าคณะปกครอง 2 ประการ ดังนี้.-

(1) งานตรวจการคณะสงฆ์ ในเขตที่ตนปกครอง
ตั้งแต่ได้รับการแต่งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ออกตรวจตราวัดในปกครอง และแนะนำเจ้าอาวาส พระภิกษุสามเณร ในวัดให้ปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัย รักษาความสะอาดบริเวณของวัด ตลอดถึงเสนาสนะเสมอมา โดยออกตรวจตามความสะดวกของโอกาสที่จะอำนวย เดือนละครั้งบ้าง 3 เดือนต่อครั้งบ้าง แต่ถ้าวัดใดมีอธิกรณ์เกิดขึ้นก็จะรีบเดินทางไปเป็นกรณีพิเศษ

(2) งานจัดประชุมพระสังฆาธิการ ในเขตที่ตนปกครอง
ตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี มาแล้ว ได้ประชุมพระสังฆาธิการประจำปี ทุกครั้งของจังหวัด พร้อมด้วยการจัดภัตตาหารถวาย และได้ดำเนินการสนองงานมาตามลำดับดังนี้.-

1. มีการประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการระดับวัด ปีละ 2 ครั้ง ที่วัดท่าไทร ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์
2. มีการประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการระดับอำเภอตำบล ของจังหวัด ปีละ ครั้ง บ้าง บางปี ประชุม 2 ครั้ง แล้วแต่จังหวัดจะกำหนด
3. มีการประชุมสัมมนาพระอุปัชฌาย์ ปีละ 1 ครั้ง ตามที่จังหวัดกำหนด การประชุมดังกล่าว คณะสงฆ์จังหวัดได้ปฏิบัติตามลำดับมา

ปี พ.ศ. 2541 นี้ ได้ช่วยเหลือราชการ (กรมการศาสนา ) รับภาระจัดสถานที่และ ภัตตาหาร เพื่อรับเจ้าคณะใหญ่หนใต้ และภิกษุสามเณร พร้อมด้วยผู้มาร่วมในงาน จำนวน 185 รูป ในพิธีทรงตั้งเปรียญธรรม 3 ประโยค และมอบวุฒิบัตรบาลี แก่พระภิกษุสามเณร ของคณะสงฆ์หนใต้ ประจำปี 2541 ในวันที่ 2 กรกฎาคม

ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ปัจจุบัน สนองงานคณะสงฆ์ ด้านการศึกษา ด้วยการเป็นเจ้าภาพจัดอบรมนักเรียนบาลีก่อนสอบ ในประโยค 1-2 ป.ธ. 3-5 ของคณะสงฆ์จังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง ปีละ จำนวน 100-150 รูป อบรม ปี ละ 15 วัน ก่อนสอบ รับภาระจัดหาตตาหาร ค่าใช้จ่ายในการอบรมทุกอย่าง ใช้จ่ายในการนี้ปีละ 150,000.- 200,000. บาท ทุกปี

รวมค่าใช้จ่ายในการอบรมบาลีก่อนสอบตั้งแต่ปี 2537 ถึงปัจจุบันเป็นเวลา 2541 เป็นเวลา 5 ปี สิ้นค่าใช้จ่าย จำนวน 625,000. บาท (เงิน หกแสน สองหมื่น ห้าพันบาทถ้วน)

18. ข้อมูลการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาค 16

1. มีวัดในปกครอง จำนวน 275 วัด
2. ที่พักสงฆ์ จำนวน 107 แห่ง
3. มีคณะอำเภอ จำนวน 17 อำเภอ 4. มีคณะตำบล จำนวน 49 ตำบล

19. งานพิเศษ

1. พ.ศ. 2537 เป็นกรรมการจัดสร้างตึกโรงพยาบาลอำเภอกาญจนดิษฐ์
2. พ.ศ. 2537 วันที่ 10-11 พฤษภาคม เป็นเจ้าภาพจัดสถานที่ประชุม ที่พัก พร้อมด้วยจัดภัตตาหารถวาย ในการประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการ ระดับ อำเภอ ตำบล และเลขานุการ ที่เจ้าคณะภาค 16 จัดขึ้น ที่วัดท่าไทร เป็นเวลา 2 วัน
3. พ.ศ. 2537 วันที่ 13-16 พฤษภาคม เป็นเจ้าภาพจัดสถานที่ประชุม ที่พัก และจัดภัตตาหาร ถวายในการประชุมสัมมนา พระอุปัชฌาย์ ที่กรมการศาสนาจัดขึ้นที่วัดท่าไทร อำเภอกาญจนดิษฐ์ เป็นเวลา 4 วัน
4. พ.ศ. 2537 วันที่ 13 - 15 สิงหาคม เข้าประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการระดับวัด ของ คณะสงฆ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ วัดท่าไทร ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอ กาญจนดิษฐ์ เป็นเวลา 3 วัน
5. พ.ศ. 2537 เข้าร่วมประชุมสัมมนาปัญหาสุขภาพจิต ณ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
6. พ.ศ. 2537 เข้าร่วมประชุมสัมมนางานการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม ที่กลุ่มครูสอน พระปริยัติธรรม 14 จังหวัด ภาคใต้ จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน ณ วัดละไม อำเภอเกาะสมุย เป็นเวลา 3 วัน
7. พ.ศ. 2539 เข้าร่วมประชุมสัมมนางานในหน้าที่พระวินยาธิการ ซึ่งกรมการศาสนาจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม เป็นเวลา 3 วัน ณ วัดแจ้ง อำเภอเกาะสมุย
8. พ.ศ. 2539 วันที่ 17 - 18 เมษายน ประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการของคณะสงฆ์ภาค 16 ณ วัดราชโอรสาราม เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
9. พ.ศ. 2539 วันที่ 19-20 มิถุนายน ประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการของคณะสงฆ์หนใต้ ณ วัดชัยมงคล อำเภอเมือง ฯ จังหวัดสงขลา
10 พ.ศ. 2539 วันที่ 21 พฤษภาคม เข้าประชุมคณะกรรมการ การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี พิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุน การศึกษาปริยัติธรรม ปี 2539 ที่ สนง.จจ. สุราษฎร์ธานี วัดไตรธรรมาราม อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
11 พ.ศ. 2540 วันที่ 22 พฤษภาคม เข้าร่วมประชุมพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุน การศึกษา ปริยัติธรรม ปี 2540 ที่ วัดไตรธรรมาราม อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
12 ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ในวันที่ 9 มกราคม ของทุกปี ได้เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิ- การระดับวัด ที่เจ้าคณะจังหวัดจัดประชุม เป็นเวลา 1 วัน ที่วัดไตรธรรมาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

20. สมณศักดิ์

1. พ.ศ. 2521 เป็นเปรียญธรรม 5 ประโยค
2. พ.ศ. 2527 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร จร.ชอ. ในราชทินนามที่ พระครูศรีกาญจนาภิวัฒน์
3. พ.ศ. 2531 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร รจจ.
4. พ.ศ. 2536 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระพิพัฒน์วราภรณ์
5. พ.ศ. 2541 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชพิพัฒนาภรณ์
6. พ.ศ. 2548 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพพิพัฒนาภรณ์

2. คุณสมบัติที่สมควรได้รบการพิจารณาการให้ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน

2.1 เป็นผู้มีผลงานทางวิชาการและมีความเชี่ยวชาญในสาขาการพัฒนาชุมชน

เจ้าคุณพระราชพิพัฒนาภรณ์ (ชูชาติ กันตวัณณเถระ) เป็นผู้สนใจต่อการศึกษาพระปริยัติธรรมจนสำเร็จนักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม 5 ประโยค และยังได้ศึกษาหาความรู้พิเศษในด้านภาษาขอม วิชาโหราศาสตร์ และวิชาสมุนไพรประกอบกับมีประสบการณ์ในการทำงานมามากในงานบริหารคณะสงฆ์ และงานอบรมศีลธรรมแก่ประชาชน ทำให้ท่านมองเห็นคุณค่าของพุทธธรรมที่นำมาพัฒนาคนหรือชุมชนได้ ตลอดระยะเวลาอันยาวนานท่านทุ่มเทแรงกายแรงใจในการอบรมสั่งสอนเผยแพร่พุทธธรรมแก่พระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป รวมทั้งสนับสนุนให้คณะสงฆ์ในปกครองของท่านออกเผยแผ่เทศนาสั่งสอนประชาชนทั้งที่เป็นเยาวชนในสถานศึกษาและประชาชนทั่วไปในรูปคณะพระธรรมทูต นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ในฐานะเจ้าคระจังหวัดท่านมองเห็นว่าพระสังฆาธิการจะต้องเป็นผู้ทรงความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมจึงจะเป็นที่ยอมรับของประชาชนและชี้นำประชาชนได้ ท่านจึงได้จัดทำโครงการร่วมกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เช่น โครงการจัดการศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณร ในระดับสถาบันอุดมศึกษา โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีในระดับปริญญาตรี โดยท่านกำหนดให้เรียนวิชาเอกการพัฒนาชุมชน เพราะมุ่งให้พระสังฆาธิการมีความรู้ความสามารถไปแนะนำประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นได้ อีกโครงการหนึ่งซึ่งนบว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาพระสังฆาธิการในจังหวัดให้มีความรู้ความสามารถทางศาสนา คือ โครงการจัดการศึกษาสำหรับพระสังฆาธิการในระดับอุดมศึกษา โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตนครศรีธรรมราชมาเปิดสอนวิชาเอกพุทธศาสนาแก่พระสังฆาธิการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยท่านได้ดำเนินการจัดหาสถานที่และงบประมาณสนับสนุน

2.1.1 งานจัดการศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรและนักเรียน

เจ้าคุณพระราชพิพัฒนาภรณ์ (ชูชาติ กันตวัณณเถระ) ได้รับผิดชอบงานศาสนศึกษาในตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้

พ.ศ. 2523 – ปัจจุบัน เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดท่าไทร
พ.ศ. 2524 – ปัจจุบัน เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม
พ.ศ. 2525 – ปัจจุบัน เป็นกรรมการตรวจพระโยคธรรมสนามหลวง
พ.ศ. 2529 – ปัจจุบัน เป็นผู้ดำเนินการจัดอบรมภาษาบาลีและนักธรรมก่อนสอบสนามหลวงของคณะสงฆ์จังหวัดสุราษฎร์ธานพ.ศ. 2530 – 2540 เป็นพระปริยัตินิเทศก์จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ในฐานะเจ้าอาวาสได้จัดให้มีการเรีนการสอนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกภาษาบาลีและนักธรรมแก่พระภิกษุสามเณรตามหลักสูตรของคระสงฆ์มาโดยตลอด มีพระภิกษุสามเณรศึกษาสำเร็จจำนวนมาก และมีการส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนธรรมศึกษาโดยจัดส่งพระภิกษุผู้ทรงความรู้ไปสอนตามโรงเรียนต่าง ๆ และมีนักเรียนสอบไล่ธรรมศึกษาได้จำนวนมากเช่นกัน ดังสถิติพระภิกษุสามเณรและนักเรียนในระดับชั้นต่าง ๆ ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ดังนี้

พ.ศ. 2544

พระภิกษุสามเณร
นักธรรมชั้นตรี 33 รูป
นักธรรมชั้นโท จำนวน14 รูป
นักธรรมชั้นเอก จำนวน 7 รูป
บาลีประโยค 1-2 จำนวน 5 รูป
บาลีประโยค 3 จำนวน 2 รูป
บาลีประโยค 4 จำนวน 1 รูป
บาลีประโยค 6 จำนวน 2 รูป
บาลีประโยค 8 จำนวน 2 รูป
นักเรียน นักธรรมชั้นตรี 109 คน
นักธรรมชั้นโท จำนวน 71 คน
นักธรรมชั้นเอก จำนวน 4 คน

พ.ศ. 2545

พระภิกษุสามเณร
นักธรรมชั้นตรี 38 รูป
นักธรรมชั้นโท จำนวน 9 รูป
นักธรรมชั้นเอก จำนวน 4 รูป
บาลีประโยค 1-2 จำนวน 17 รูป
บาลีประโยค 3 จำนวน 2 รูป
บาลีประโยค 4 จำนวน 1 รูป
บาลีประโยค 6 จำนวน 2 รูป
บาลีประโยค 8 จำนวน 2 รูป

นักเรียน
ธรรมศึกษาชั้นตรี จำนวน 120 คน
ธรรมศึกษาชั้นโท จำนวน 34 คน
ธรรมศึกษาชั้นเอก จำนวน 2 คน

พ.ศ. 2546

พระภิกษุสามเณร
นักธรรมชั้นตรี จำนวน 20 รูป
นักธรรมชั้นโท จำนวน 11 รูป
นักธรรมชั้นเอก จำนวน 6 รูป
บาลีประโยค 1-2 จำนวน 6 รูป
บาลีประโยค 3 จำนวน 3 รูป
บาลีประโยค 4 จำนวน 1 รูป
บาลีประโยค 6 จำนวน 2 รูป

นักเรียน
นักธรรมชั้นตรี จำนวน 145 คน
นักธรรมชั้นโท จำนวน 79 คน
นักธรรมชั้นเอก จำนวน 4 คน

ในการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ ได้ส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียน 3 วิธีการ คือ

      1. จัดหาอุปกรณ์การศึกษา เช่น หนังสือตำรา สมุด ปากกาให้พระภิกษุสามเณรที่เรียนนักธรรม และแก่นับเรียนที่เรียนธรรมศึกษา
      2. จัดให้มีการนิเทศการศึกษา และการอบรมก่อนสอบทั้งนักธรรมและบาลี
      3. จัดตั้งทุนการศึกษาเพื่อพระภิกษุสามเณร และส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนที่เรียนดีไปศึกษาชั้นสูงต่อไป

หลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้ว เจ้าคุณพระราชพิพัฒนาภรณ์ (ชูชาติ กันตวัณณเถระ) ได้ดำเนินงานในตำแหน่งหน้าที่อย่างเต็มที่ด้วยความรับผิดชอบ ทำให้งานคณะสงฆ์ของจังหวัดดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง 4 ด้าน คือ การปกครองการศึกษา การเผยแพร่และการสาธารณูปการ การที่งานในหน้าที่รับผิดชอบดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะได้มีการวางแผนปฏิบัติงานเชิงรุก 2 วิธี คือ

  1. การออกตรวจเยี่ยมวัดต่าง ๆ ในจังหวัด โดยกำหนด 1-3 เดือนต่อครั้ง เพื่อรับฟังปัญหาและความต้องการของเจ้าอาวาส ได้ให้คำปรึกษาแนะนำ และให้การอบรมพระภิกษุสามาเณรให้สนใจต่อการศึกษาพระปริยัติธรรมเคร่งครัดต่อวัตรปฏิบัติพระวินัย การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมบริเวณวัดและเสนาสนะให้สะอาดเรียบร้อย ถ้าวัดใดมีอธิกรณ์เกิดขึ้นก็จะรีบไปแก้ไขทันที
  2. การประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการในจังหวัด คือ
    1. การประชุมสัมมนาเจ้าอาวาสทั้งจังหวัด ปีละ 2 ครั้ง
    2. การประชุมสัมมนาเจ้าคณะอำเภอและเจ้าคณะตำบงทั้งจังหวัด ปีละ 1-2 ครั้ง
    3. การประชุมสัมมนาพระอุปัชฌาย์ทั้งจังหวัด ปีละ 1 ครั้ง

ในการประชุสัมมนาพระสังฆาธิการทุกระดับ ก็เพื่อรับฟังความคิดเห็น ปัญหาความต้องการ ให้คำปรึกษาหารือ เชิญวิทยากรมาถวายความรู้เกี่ยวกับวัตรปฏิบัติ ธรรมวินัยกฎมหาเถร – สมาคม กฎหมายและวิชาการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติงานของพระสังฆธิการในฐานะผู้นำทางจิตใจของประชาชน