พุทธประวัติ หรือ ประวัติของพระพุทธเจ้า ตอนที่ ๓/๔
(ประวัติหรือเรื่องราวที่พรรณนาความเป็นมาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
เรียบเรียง และนำเสนอโดย... พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล ป.ธ.๕, วัดท่าไทร จังหวัดสุราษฎร์ธานี


             

ปริจเฉทที่ ๑๐ เสด็จสักกชนบท

สักกชนบท นั้น แบ่งเป็น ๔ พระนคร คือ.-

              ๑.นครกบิลพัสดุ์ เป็นที่อยู่ของพวกศากยะผู้อยู่ในเมืองกบิลพัสดุ์ (กปิลวตถา สกกา)
              ๒.นครวิธัญญา เป็นที่อยู่ของพวกศากยะผู้อยู่ในเมืองวิธัญญา (เวธญญา สกกา)
              ๓.นครโคธาฟี เป็นที่อยู่ของพวกศากยะผู้อยู่ในเมืองโคธาฟี ก(โคธาพิยา สกกา)
              ๔.นครโกฬิยะ เป็นที่อยู่ของพวกศากยะผู้อยู่ในเมืองราคม (ราสคามกา สกกา)

นครโกฬิยะ นี้เอง บางแห่งท่านก็เรียกว่า เมืองรามคาม

เสด็จโปรดพุทธบิดา

              พระพุทธเจ้าเสด็จไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบทเพื่อโปรดพุทธบิดานั้น มีเรื่องเล่าว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงทราบว่า พระสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้สั่งสอนธรรมแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์โดยลำดับ มาบัดนี้ประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ จึงตรัสสั่งให้อำมาตย์หลายคนไปนิมนต์ แต่พวกอำมาตย์ที่ทรงใช้ไปนั้น ไปแล้วก็เงียบหาย ไม่ได้เชิญเสด็จตามที่ทรงรับสั่ง เพราะมัวไปฟังธรรมเพลินจนบรรลุพระอรหันต์ ครั้งสุดท้ายได้ใช้ให้ กาฬุทายีอำมาตย์ ไปนิมนต์

              กาฬุทายีอำมาตย์พร้อมด้วยบริวาร ก็ไปฟังธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ แล้วบวชด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา คอยอยู่จนสิ้นฤดูหนาว (เหมันต์) ย่างเข้าฤดูฝน (วสันตฤดู) ก็ได้ทูลเชิญพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหมู่สงฆ์ ๒ หมื่นรูป ได้เสด็จจากกรุงราชคฤห์ไปกรุงกบิลพัสดุ์ โดยเดินทางวันละ ๑ โยชน์ ร่วม ๒ เดือนจึงถึงกรุงกบิลพัสดุ์ แล้วประทับที่วัดนิโครธาราม ซึ่งพระญาติทั้งฝ่ายศากยะและโกลิยะได้ร่วมกันสร้างถวายและต้อนรับ

              พระพุทธเจ้าได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ทำลายทิฏฐิมานะของพวกศากยะผู้สูงอายุซึ่งมีมานะไม่ยอมอภิวาทน์ จนพระเจ้าสุทโทนะได้ถวายอภิวายอภิวาทน์ก่อน ศากยะนั้นก็ได้อภิวาทน์ตามหมด (การแสดงอิทธิปาาฏิหาริย์นั้น เป็นเหตุให้เกิดอัศสสจรรย์มากคือ ฝนโบกขรพรรษตกลงมาในสมาคมนั้น พวกภิกษุสงฆ์สงสัยจึงทูลถาม พระพุทธเจ้าจึงตรัสเวสสันดรชาดก ในท่ามกลางสมาคสมนั้นซึ่ง เป็นมหาสันนิบาตซึ่งเรียกว่า “ ญาติสมาคม”)

              วันรุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าทรงเสด็จออกบิณฑบาตพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ไปยังบ้านเรีอนทั่วไป ชาวบ้านพากันแตกวตื่นเพราะเห็นกษัตริย์เที่ยวขอทาน (ตามความคิดของพวกเขา) พระเจ้าสุท โธทนะทรงทราบจึงรีบไปเชิญให้เสด็จกลับ พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกว่า “การเทึ่ยวบิณฑบาตนี้ เป็นกิจวัตรของสมณะ” และได้แสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะด้วยพระคาถาว่า.-

              “ไม่พึงประมาทในบิณาฑบาต พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า”

และเมื่อพระเจ้าสุทโธทนะได้ฟังแล้วก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล (บรรลุโสดาบัน) ในที่นั้น ฯ

 

ปริจเฉทที่ ๑๑ เสด็จโกศชนบท

 

โกศลชนบท นั้นตั้งอยู่ในมัธยมมชนนบท ภาคเหนือแห่งชมพูทวีป มีกรุงสาวัตถีเป็นเหมือนหลวง มีอาณาเขตดังนี้.-

              ๑.ด้านเหนือ จด กุรุชนบท หรือ แดนเขาหิมพานต์
              ๒.ด้านตะวันออก หรือ ตะวันออกเฉียงใต้ จด วัชชีชนบท
              ๓.ด้านใต้ จด อังคชนบท กับ มคธชนบท
              ๔.ไม่ว่าด้านไหน จด ภัคคชนบท

อาณาเขตตามที่กล่าวมานี้เป็นเพียงการอนุมานตามระยะทางที่พระพุทธจาริกเป็นต้นเท่านั้น

ทรงโปรดอนาถปิณฑิกเศรษฐี

              ในกรุงสาวัถพึมีเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อว่า “ สุทัตตเศรษฐี” ได้เนมิตตถนามว่า “อนาถปิณาฑิกะ” แปลว่า ผู้มีก้อนข้าวสำหรับคนอนาถา เป็นผู้เกี่ยวข้องกับ ราชคหกเศรษฐี ด้วยท่านได้ภคินี (น้องสาว) ของท่านราชคหกเศรษฐีมาเป็นภรรยา วันหนึ่ง สุทัตตเศรษฐี(อนาถบิณาฑิกกเศรษฐี) ได่ไปธุระที่บ้านของราชคหกเสรษฐี ได้เห็นท่านสุทัตตเศรษฐี กำลังสาละวนอยู่เกี่ยวกับการสั่งให้คนใช้เตรียมอาหารมากมาย จึงได้ถามและทราบว่า ท่านราชคหกเศรษฐี ได้ทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าเป็นประธานเสวยพระกระยาหารในวันพรุ่งนี้ พอท่านสุทัตตเศรษฐี (อนาถบิณฑิกเศรษฐีา )ได้ยินคำว่า “พระพุทธเจ้า “ เท่านั้น ท่านสุทัตตะเศรษฐีก็ตกตลึงและเลื่อมใสใครจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่ถูก ท่านราชคหกเศรษฐีห้ามไว้ว่าไม่เป็นเวลาที่สมควรที่จะเข้าเฝ้า

              พอรุงขึ้นก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาเสวยพระกระยาหาร ท่านสุทัตตะเศรษฐีห็ได้รับไปกฝ้าพระพุทธเจ้าเสียก่อนที่”สีตวัน” ได้ฟัง อนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ ก็ได้บรรลุโสดาบัตติผล (ได้ดวงตาเห็นธรรม) แล้วจึงประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต และนับตั้งแต่นั้นมาท่านสุทัตตะเศรษาฐี(อนาถบิณฑิก เศรษฐี)ก็ได้บริจาคทรัพย์มหาศาลให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาตลอดถึงคนยากจน คนอนาถาทั่วไป ท่านจึงได้เนมิตตกนามว่า “อนาถบิณฑิกเศรษฐี” ตามที่กล่าวมาแล้วนั่นเองแหละครับ../


ภาพถ่าย พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล ถ่ายกับซากบ้านของท่าน "สุทัตตเศรษฐี” (อนาถปิณาฑิกเศรษฐี)
เมื่อครั้งไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย-เนปาล พ.ศ. ๒๕๕๓


ภาพถ่าย พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล กับซากของสถูป ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถาน
ซึ่ง "พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้วเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา เป็นเวลา ๓ เดือน"

ปัจจุบัน ชาวอินเดียเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า budh airport (ที่ซึ่งพระเจ้าเสด็จขึ้นสู่วรรค์)
ถ่ายเมื่อครั้งไปนมัสการสังเวชนียสถาน เมื่อเดือน พ.ย.๒๕๕๓

              เมื่อท่านสุทัตตะเศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรมและประกาศตนเป็นอุบาสกแล้ว ท่านก็ได้กราบทูลเชิฐพระพุทธเจ้า เพื่อเสด็จไปประทับจำพรรษาที่ กรุงสาวัตถี แคว้นโกสล ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงรับอาราธนา ท่านอนาถปิณาฑิกเศรษฐีจึงกลับไปกรุงสาวัตถี ได้ชื้อที่ดินของเจ้าเชตสร้าง “วัดพระเชตวัน” ขึ้นถวายพระพุทธองค์ ซึ่งพระพุทธองค์ได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถีพร้อมภิกษุสงฆ์ ได้ประทับอยู่ที่วัดพระเชตวันมหาวิหารนี้ และปรากฏว่าพระพุทธเจ้าได้ประทับจำพรรษาที่ วัดพระเชตวันมหาวิหารนี้ และปรากฏว่าพระพุทธเจ้าได้ประทับจำพรรษาที่ วัดพระเชตวันมหาวิหาร นี้มากกว่าแห่งอื่นอีกด้วย

ภาพซากปรักหักพังภายในบริเวณวัดพระเชตวัน มีเนื้อที่ประมาณ ๒๙๐ ไร่ (ภาพในปัจจุบัน) เป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่จำพรรษานานที่สุด
พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) ถ่ายเมื่อ ๗ มีนาคม ๒๕๔๙

ภาพซากปรักหักพังของศาลาธรรมสภาที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต ในบริเวณวัดพระเชตวัน


พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) พร้อมด้วยพระภิกษุจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี
กำลังเจริญจิตภาวนาที่หน้ากุฏิที่ประทับของพระพุทธเจ้า ในวัดพระเชตวัน


พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) ถ่ายภาพร่วมกับ นายสุจินต์ อ่อนหนู เจ้าของ เอ็นซีฮอลิเดย์ทัวร์
ที่หน้ากุฏิที่ประทับของพระพุทธเจ้า ในวัดพระเชตวัน
เมื่อครั้งไปทัศนศึกษา ประเทศอินเดีย - เนปาล พ.ศ. ๒๕๔๙


ในภาพ ด้านหลังของพระมหาบุญโฮม เป็นต้นโพธิ์ชื่อ "อานันทโพธิ์" มีอายุ ๒ พันกว่าปี
ซึ่งมหาโมคคัลลานเถระ ไปนำมาให้ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีปลูกเพื่อเป็นพุทธานุสสติ และให้พระอานนท์ เป็นผู้ดูแลรักษา
ถ่ายเมื่อ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕

“ปัจฉิมโพธิกาล”

              พระพุทธเจ้า ครั้นได้ตรัสรู้แล้ว ได้แสดงพระธรรมเทศนาประกอบอุปการะกิจสั่งสอนเวไนยชนในบ้าน นิคม แคว้น ชนบท โดยทั่ว ๆ ไปให้รู้ตาม ได้ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาเจริญมั่นคงแพร่หลายเป็นประโยชน์แก่ประชาชนและพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อบาสก อุบาสิกา ให้ตั้งอยู่ในมรรคผลตามอุปนิสัย พระองค์ได้ประกาศพระธรรมคำสังสอนให้สมบูรณ์แพร่หลาย เป็นประโยชน์แก่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ประดิษฐานพระศาสนาให้มั่นคงตลอดเวลา ๔๕ ปี นับจากปีที่ได้ตรัสรู้มา และในปีสุดท้าย (พรรษาที่ ๔๕ ) พระองค์ได้เสด็จเข้าจำพรรษาที่บ้าน”เวฬุวคาม” เมืองไพศาลี ภายในพรรษานั้น พระองค์ทรงประชวรหนักใกล้มรณชนม์พินาศ แต่พระองค์ทรงอดกลั้นด้วยอธิวาสนขันติ ทรงขับพยาธิด้วยความเพียรอิทธิบาทภาวนา

              ครั้นดำรงพระกายเป็นปกติแล้ว วันหนึ่งพระองค์ทรงนั่งในที่ร่มแห่งวิหารพระอานนท์เข้าเฝ้าถวายนมัสการแล้วกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ได้เป็นความผาสุกแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ความที่ทนทานอดกลั้นของพระผู้มีพระภาคข้าพระองค์ก็ได้เห็นแล้ว แต่อาศัยที่พระองค์ทรงประชวร กายของข้าพระองค์ประหนึ่งว่าระงมไปแม้ทิศใหญ่ก็ไม่ปรากฏ ธรรมทั้งหลายก็ไม่สว่างแจ่มแจ้ง เพราะมาวิตกถึงการประชวรนั้น แต่มายินดีอยู่หน่อยหนึ่งว่าพระผู้มีพระภาคยังไม่ปรารภภิกษุสงฆ์แล้วตรัสคำอันใดอันหนึ่ง ข้าพระองค์จึงเชื่อว่าจักไม่ปรินิพพานก่อน “

พระพุทธเจ้า ทรงแก้ความห่วงใยและความหวังของพระอานนท์ ๕ ข้อ คือ.-

              ๑.อานนท์ ภิกษุสงฆ์ยังมาหวังเฉพาะซึ้งอะไรในเราเล่า ? เราได้แสดงธรรมแล้ว ไม่ทำให้มีภายในภายนอกกำมืออาจารย์ คือความซ่อนเร้นในธรรมทั้งหลาย ไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า ข้อลี้ลับที่จะต้องปิดไว้ เพื่อแสดงแก่สาวกบางเหล่า หรือในอวสานกาลที่สุด ไม่มีเลย.
              ๒.ดูก่อนอานนท์ ตถาคตไม่มีความห่วงใยที่จะรักษาภิกษุสงฆ์หรือว่าให้ภิกษุสงฆ์มีตัวเราเป็นที่พึ่ง
              ๓.ดูก่อนอานนท์ บัดนี้เราเฒ่าล่วงเข้า ๘๐ ปีแล้ว ร่างกายของตถาคตชำรุดประดุจเกวียนชำรุดที่ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ใช้การไม่ไหวแล้ว
              ๔.ดูก่อนอานนท์เดี๋ยวนี้กายแห่งตถาคต ย่อมมีความผาสุกสบายอยู่ได้ด้วยอนิมิตต เจโตสามธิ ความตั้งเสมอแห่งจิตไม่มีนิมิต
              ๕.ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุอนิมิตตสมาธิวิหาร เป็นเหตุให้กายมีความผาสุกนั้น ท่านทั้งกลายจงมีตนเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นที่พึ่งอย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง

แล้วทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔ และปกิณณกเทศนา.

ทรงปลงพระชนมายุสังขาร

              ครั้งอยู่มาจนถึงวันมาฆบูชา คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีที่ ๔๕ นั่นเอง ในเวลาเข้าของวันนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จไปโคจรบิณฑบาตใน เมืองไพศาาลี ครั้งหลังเวลาภัตตาหาร พระองค์ก็ได้เสด็จไปสู่ ”ปาวาลเจดีย์” ตรัสสั่งให้พระอานนท์ผู้ฝ้านิสีทนะแล้วประทับนั่งใต้ร่มไม้แห่งหนึ่ง ทรงมีพระประสงค์จะให้พระอานนท์ทูลอาราธนาเพื่อจะดำรงพระชนม์อยู่กัลป์หนึ่งหรือเกินกว่านั้น จึงทรงทำนิมิตโอภาส อันจักแสดงอานุภาพแห่งอิทธิบาทภาวนาว่า

              “สามารถจะทำให้ท่านผู้เจริญอยู่ได้กัลป์หนึ่งหรือเกินกว่าอายุกัลป์ได้”

              ซึ่งพระองค์ได้ตรัสโอภาสปริยายนิมิตอัตแจ้งชัดอย่างนี้ ๓ ครั้ง มารเข้าดลใจพระอานนท์จึงไม่สามารถจะรู้ความนั้นได้ พระองค์จึงขับไล่พระอานนท์ให้ออกไปเสียข้างนอก ครั้นพระอานนท์ออกไปแล้วไม่นานนัก มารก็เข้าไปทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ เสด็จเข้าสู่นิพพาน พระองค์ก็ทรงรับคำอาราธนา ซึ่งเรียกกันว่า “ทรงปลงพระชนมายุสังขาร” คือ “กำหนดว่า ต่อจากนี้ไปอีก ๓ เดือนเราจักปรินิพาน” (การตั้งพระทัยว่าจะปรินิพพานในอีก ๓ เดือนข้างหน้าของพระพุทธเจ้านี้ เรียกว่า “การปลงพระชนมายุสังขาร”) เป็นเหตุให้เกิดมหัศจรรย์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ฯ


"ปาวาลเจดีย์" เมืองไวสาลี
เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และสถานที่พระพุทธเจ้าทรงปลงประชนมายุสังขาร(ตัดสินใจว่าจะปรินิพพาน)
ขณะนี้ เหลือแต่ซากติดดิน ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่น ได้สร้างอาคารครอบเอาไว้ดังที่เห็น


ขณะนี้ เหลือแต่ซากติดดิน

ที่ปากทางเข้า "ปาวาลเจดีย์" สถานที่พระพุทธเจ้าทรงปลงประชนมายุสังขาร(ตัดสินใจว่าจะปรินิพพาน)
เมืองไวสาลี ประเทศอินเดีย เมื่อ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕
(เวสาลี ไวสาลี ไพสาลี ๓ ชื่อเมืองนี้ ขอให้เข้าใจว่าคือเมืองเดียวกัน แต่คนท้องถิ่นเรียก ไวสาลี ครับ)

”ป่ามหาวัน” เมืองไพศาาลี
สถานที่พระนางปชาบดีและเหล่านางศากิยานี พร้อมใจกัน "ทรงปลงผมและเดินทางมาขอบวชเป็นภิกษุณี" เมื่อครั้งอดีต

ด้านซ้ายเป็นเสาหินที่พระเจ้าอโศกฯ สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์สถานที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาสุดท้าย บนเสาหินมีรูปสิงโต ซึ่งถือว่ายังสมบูรณ์ที่สุด ที่ยังไม่ถูกทำลาย วัดรอบวงได้ ๒ เมตรเศษ
ด้านขวาเป็นพระสถูปทรงโอคว่ำ สูงประมาณ ๑๕ ฟุต พระอานนท์ขอร้องนางอัมพปาลี สร้างเป็นอนุสรณ์สถาน
พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) ถ่ายภาพร่วมกับ พระครูปริยัติคุณาวุธ (พระมหาเสรี) วัดกลางใหม่ จ.สุราษฎร์ธานี
ถ่ายเมื่อครั้งไปทัศนศึกษา ประเทศอินเดีย - เนปาล พ.ศ. ๒๕๔๘

              สถานที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์มี ๑๖ ตำบล/แห่ง ได้แก่.-

              ทรงทำที่ เมืองวราคฤห์ ๑๐ ตำบล ได้แก่ ๑.ภูเขาคิชฌกูฏ ๒.โคตมนิโครธ ๓.เหวที่ทิ้งโจร ๔.ถ้ำสสสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภารบรรพต ๕.กาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ๖.ที่เงื้อมลัปปิโสณฑิกา ที่สีตวัน ๗.ที่ตโปทาราม ๘.ที่เวฬุวัน ๙.ที่ชีวกัมพวัน ๑๐.ที่มัททกุจฉิมิคทายวัน

              ทรงทำที่ เมืองไพศาสี (บางที่เรียก เวลาสี)มี ๖ นำบล ได้แก่ ๑.ที่อุเทนเจดีย์ ๒.ที่โดคตมกเจดีย์ ๓. ที่สัตตัมพเจดีย์ ๔.ที่พหุปุตตเจดีย์ ๕.ที่สารันทเจดีย์ ๖.ที่ปาวาลเจดีย์

              ท่านพระอานนท์เกิดความสงสัยเพราะได้เป็นแผ่นดินไหวซึ่งเป็นเหตุอัศจรรย์นั้นจึงเข้าเฝ้าและทูลถามเหตุที่เกิดอัศสจรรย์แผ่นดินไหวนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสถึงเหตุแห่งการเกิดแผ่นดินไหวว่ามี ๘ ประการ คือ.-

              ๑.ลมกำเริบ
              ๒.ผู้มีฤทธิ์บั้นดาล
              ๓.พระโพธิสัตว์จุติจากดุสิตลงสู่พระครรภ์
              ๔.พระโพธิสัตว์ประสูติ
              ๕.พระตถาคตเจ้าตรัสรู้พระโพธิญาณ
              ๖.พระตถาคตเจ้าทรงแสดงพระธรรมจักร
              ๗.พระตถาคตเจ้าทรงปลงอายุสังขาร
              ๘.พระตถาคตเจ้าปรินิพพาน

              พระอานนท์เมื่อได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงปลงพระชนมายุสังขารเสียแล้ว จึงทูลอาราธนาเพื่อจะให้พระองค์ดำรงพระชนมายุอยู่สั่งสอนสัตว์โลกตลอดกัลป์หนึ่งถึง ๓ ครั้ง แต่พระองค์ก็ทรงห้ามเสีย แล้วตรัสว่า “ตถาคตทำนิมิตโภาสอันแจ้งชัด และพระอานนท์ไม่สามารถจะรู้ ไม่ได้ทูลวิงวอนพระองค์ในครั้งก่อน ๆ จึงเป็นความผิดของพระอานนท์ผู้เดียว” แล้วทรงตรัสถึงสถานที่ที่พระองค์ทรงทำนิมิตโอภาสให้พระอานนท์ทูลอาราาธนาว่ามี ๑๖ แห่ง ดังกล่าวมาแล้ว

ประทานโอวาทแก่พระภิกษุสงฆ์

              หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอานนท์อย่างนั้นแล้ว ก็เสด็จไปสู่ “กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน” ตรัสสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์บรรดาที่อยู่ในเมืองไพศาลีนั้น แล้วทรงแสดง “อภิญญาเทสิตธรรม” ซึ่งก็คือโพธิปักขิยธรรม และทรงแสดงสังเวคกถาและอัปปมาทธรรม ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราเตือนท่านทั้งหลายให้รู้ว่าสังขารมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ของตนและผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด นับแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจักปรินิพพาน”

              รุ่งเช้าพระองค์เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองไพศาลี ครั้นกลับจากบิณฑบาตหลังจากเสวยภัตตาหารเช้าแล้วได้ทอดพระเนตรเมืองไพศาลีเป็น “นาคาวโลกน์ มองอย่างช้างเหลียวหลังครั้งสุดท้ายแล้วตรัสแก่พระอานนท์ว่า “ตถาคตเห็นเมืองไพศาลีครั้งนี้ เป็นปัจฉิมทัศนะ (ปัจฉิมทัศนะ-เห็นเป็นครั้งสุดท้าย) “เสร็จแล้วเสด็จพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ไปสู่บ้านภัณฑุคาม แล้วตรัส “อริยธรรม ๔ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ เหตุที่เรียกว่า อริยธรรมนี้ เพราะเป็นธรรมอันประเสริฐ เป็นทางให้ผู้ที่ปฏิบัติถึงความเป็นอริยบุคคล คือผู้ปฏิบัติจะถึงความเป็นอริยบุคคลคือผู้ปฏิบัติตนให้ถึงอริยะได้ก็ต้องอาศัยปฏิบัติธรรมเหล่านี้” และหลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงอริยธรรมแล้ว พระองสค์ก็ทรงแสดงไตรสิกขาสังสอนภิกษุมากกว่าธรรมีกถาอื่น ๆ

              ต่อจากนั้นก็เสด็จไปยัง บ้านหัตถีคาม อัมพคาม ชัมพุคาม และโภคนคร ประทับอยู่ที่”อานันนทเจดีย์” ทรงตรัส”มหาปเทศ ๔ ฝ่ายพระสูตร “”ว่า “ถ้าจะมีผู้ใดมาอ้างว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัยเป็นสัตถุศาสน์ เธออย่าพึงรีบเชื่อ และอย่าพึงปฏิเสธก่อน พึงเรียนบทพยัญชนะให้แน่นอนแล้ว พึงสืบสวนในสูตร พึงเทียบในวินัย ถ้าสอบแล้วไม่ตรงกันในสูตร เทียบกันไม่ได้ในวินัย พึงเข้าใจว่านั้นไม่ใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เธอผู้นั้นรับมาผิด จำมาเคลื่อนคลาด ถ้าสอบกันได้ เทียบกันได้นั่นเป็นคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าแน่นอน เธอผู้นั้นรับมาด้วยดี ไม่วิปริต”ฯ

เสด็จปาวานคร-นายจุนทะ ถวายปัจฉิมบิณฑบาต(สุกรมัททวะ)

              เมื่อประทับอยู่ที่ อานันทเจดีย์ เมืองโภคนคร เป็นเวลาพอสมควรแล้ว พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์ได้เสด็จไปยังเมืองปาวานคร ประทับอยู่ที่อัมพวันสวนมะม่วงของนายจุนทะ กัมมารบุตร, นายจุนทะผู้เป็นบุตรของนายช่างทองทราบข่าวจึงเข้าไปเฝ้า ได้ฟังธรรมีกถาว่าด้วย “กรรมและวิบากแห่งกรรม”ก็เกิดความเลื่อมใสจึงทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ไปฉันภัตตาหารเช้าที่บ้านในวันรุ่งขึ้น เมื่อทราบว่าพระองค์ทรงรับแล้วนายจุนทะจึงถวายอภิวาทลากลับไป

              วันรุ่งขึ้นเวลาเช้าอันเป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน วิสาขะ หรือเดือน ๖ พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์ได้เสด็จเข้าไปบ้นของ นายจุนทะ กัมมารบุตร พระพุทธองค์ครั้นประทับนั่งบนพุทธอาสน์เรียบร้อยแล้วก็ตรัสเรียกนายจุนทะ กัมมารบุตรมาแล้วตรัสว่า “ดูก่อนจุนทะ “สูกรมัททวะ” ที่เธอได้จัดแจงไว้นั้น เธอจงอังคาสแต่พระตถาคตเท่านั้น ส่วนของเคี้ยวของฉันอันประณีต เธอจงอังคาสภิกษุสงฆ์เถิด”

              นายจุนทะ กัมมารบุตร รับพระดำรัสแล้วทำตามพระพุทธประ สงค์ทุกประการ เมื่อเสร็จภัตตกิจแล้ว ตรัสสั่งให้นายจุนทะ กัมมารบุตร นำสูกรมัททวะ (คำนี้มีคนบางพวกมาแปลกันว่า เนื้อสุกรอ่อน บางท่านก็แปลว่า เห็ดชนิดหนึ่ง) ไปฝังเสีย มิให้ผู้ใดบริโภค และทรงแสดงธรรมีกถาแล้วจึงเสด็จกลับ

ทรงประชวร

              เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยภัตตาหารของนายจุนทะ กัมมารบุตร แล้วก็เกิดอาพาธอย่างแรงกล้า ทรงประชวรด้วยพระโรคลงพระโลหิต ซึ่งเรียกกันว่า “ปักขันธิกาพาธ”หมายถึงอาเจียนเป็น เลือด ใกล้ต่อมรณทุกข์ แต่พระองค์ทรมีพระสติสัมปชัญญะมั่น และทรงอดกลั้นด้วยอธิวาสนขันติ แล้วตรัสกะพระอานนท์ว่า “ดูก่อนอานนท์ เรามาพร้อมกันเถิด เราจักไปเมืองกุสินารา”

              พระอานนท์ก็บอกแก่ภิกษุสงฆ์ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปตามทางที่จะไปสู่กรุงกุสินารา เมื่อเสด็จมาถึงกลางทางทรงเหน็ดเหนื่อย จึงแวะเข้าประทับที่ร่มไม้แห่งหนึ่ง ตรัสสั่งให้พระอานนท์ปูผ้าสังฆาฏิพับเป็น ๔ ชั้นแล้วประทับนั่ง ตรัสให้พระอานนท์นำน้ำมาถวาย

              พระอานนท์กราบทูลว่า “น้ำกำลังขุ่น เพราะเกวียน ๕๐๐ เล่มเพิ่งผ่านไป น้ำในแม่น้ำกกุธานทีมีน้ำใสสะอาดดี อยู่ไม่ไกลนัก เชิญพระองค์เสด็จไปข้างหน้านั้นเถิด” แต่เมื่อเห็นพระองค์ตรัสซ้ำอยู่อีก ๓ ครั้งท่านพระอานนท์ทูลทัดทานอยู่ ๒ ครั้ง

              ครั้นวาระที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ไม่ทูลทัดทานจึงนำบาตรไปเพื่อตักน้ำ ด้วยอานุภาพของพระพุทธเจ้า น้ำที่กำลังขุ่นเพราะเกวียน ๕๐๐ เล่มก็กลับใสสะอาดทันที พระอานนท์เห็นอัศจรรย์เช่นนั้นก็รู้สึกดีใจจึงตักน้ำนำมาถวาย และกราบทูลถึงความอัศจรรย์นั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทับนั่งเสวยที่ร่มไม้นั้นนั่นเอง

<<ติดตามอ่านตอนที่ ๔/๔>>

ตอนที่ ๑ | ตอนที่ ๒ | ตอนที่ ๓ | ตอนที่ ๔

กลับไปหน้า Web วัดท่าไทร
ไป Web สำนักงานเจ้าคณะภาค ๑๖
ไป Web ศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์วัดท่าไทร